รีเซต

เริ่มแล้ว! ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลวันแรก เปิดเรื่องเร่งด่วน ระยะกลาง-ยาว

เริ่มแล้ว! ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลวันแรก เปิดเรื่องเร่งด่วน ระยะกลาง-ยาว
TNN ช่อง16
11 กันยายน 2566 ( 09:05 )
96
เริ่มแล้ว! ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลวันแรก เปิดเรื่องเร่งด่วน ระยะกลาง-ยาว

แถลงนโยบายรัฐบาล วันแรกเริ่มขึ้นแล้ว! เปิดนโยบายเรื่องเร่งด่วน และ ระยะกลาง-ยาว ของ "ครม.เศรษฐา" 

การแถลงนโยบายรัฐบาลของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อรัฐสภามีขึ้นในที่ 11-12 กันยายน 2566 ได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยวันนี้เป็นวันแรกของการแถลงนโยบาย โดยนโยบายมีทั้งเรื่องเร่งด่วน เรื่องที่ต้องดำเนินการในระยะกลาง และระยะยาวตลอดการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล


เรื่องเร่งด่วน หรือ กรอบระยะสั้น ที่รัฐบาลจะดำเนินการทันที คือ การกระตุ้นการใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง


นโยบาย 5 เรื่องหลัก หรือเรื่องเร่งด่วน 


เรื่องแรก เติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต


-เป็นการเติมเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง


-และกระจายไปทุกพื้นที่ให้หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจฐานราก


-สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน และภาคธุรกิจ


-โดยรัฐบาลจะได้รับผลตอบแทนคืนมาในรูปของภาษี


-เป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ



เรื่องเร่งด่วนที่ 2 การแก้ปัญหาหนี้สินทั้งในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน


-ภาคเกษตร รัฐบาลจะพักหนี้เกษตรกรตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่เหมาะสม


-ภาคธุรกิจ และประชาชนทั่วไป จะช่วยประคองภาระหนี้สินและต้นทุนทางการเงิน รวมถึงผู้ประกอบการSMEs -ส่วนกลุ่มอื่นๆจะเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยไม่ขัดต่อวินัยทางการเงิน



เรื่องเร่งด่วนที่ 3 ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต


-สนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการราคาพลังงาน


ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในทันที



เรื่องเร่งด่วนที่ 4 ผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว


-ตั้งเป้าเปิดประตูรับนักท่องเที่ยว ด้วยการปรับปรุงขั้นตอนการขอวีซ่า


-ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่ากลุ่มนักท่องเที่ยวในประเทศเป้าหมาย


-จัดทำ Fast Track VISA สำหรับผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (MICE)


-เร่งปรับปรุงระบบคมนาคมและปรับเพิ่มเที่ยวบินเข้าไทยให้มากขึ้น



นโยบายเร่งด่วนสุดท้าย คือ การแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในรัฐธรรมนูญ ปี2560


-เพื่อให้คนไทยมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น


-โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


-และไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์



นอกจากนี้ ยังมีนโยบายระยะกลางและระยะยาว ซึ่งแยกย่อยได้อย่างน้อย 22 นโยบาย เพื่อสร้างชีวิตที่ดีกว่าให้กับคนไทยในหลายมิติ ครอบคลุม การสร้างรายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้แก่


-สร้างรายได้ ด้วยการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก เร่งการเจรจากรอบความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ (FTA)


-ปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติโครงการลงทุน


-พัฒนาเศรษฐกิจใหม่ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล


-พัฒนาเศรษฐกิจการค้าที่ถูกกฎหมายตามแนวชายแดน


-ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง


-สร้างรายได้ภาคเกษตร เพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่าต่อไร่


-หาตลาดให้สินค้าการเกษตรได้ขายในราคาที่เหมาะสม


-ฟื้นชีวิตอุตสาหกรรรมประมงให้กลับมาเป็นแหล่งรายได้สำคัญ


-เร่งให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดินทำกิน


-ปลดล็อกกฎหมายที่เป็นข้อจำกัดของประชาชน เช่น สุราพื้นบ้าน


-กระจายอำนาจในรูปแบบ (ผู้ว่า CEO)


-เปิดรับแรงงานต่างด้าวและผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงาน


-สร้างงาน สร้างรายได้ผ่านการส่งเสริม 1 ครอบครัว 1 ทักษะ Soft Power


-ส่งเสริมและพัฒนาด้านกีฬาอย่างเป็นระบบ


-ปฏิรูปการศึกษาสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต


-ปรับโครงสร้างหน่วยงานความมั่นคงให้ทันสมัย


-พัฒนากองทัพ เช่น เกณฑ์ทหารแบบสมัครใจ


-ปราบปรามผู้มีอิทธิพลและยาเสพติด


-แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5


-ยกระดับนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค


-ทุกกลุ่มได้รับสวัสดิการโดยรัฐอย่างเท่าเทียม


-ผลักดันกฎหมายความเท่าเทียมกลุ่มหลากหลายทางเพศ


หลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา จะถือเป็นการนับหนึ่งอย่างเป็นทางการในการเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศเพื่อฟื้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งนโยบายเร่งด่วนที่จะได้เห็นกันในเร็วๆนี้ คือ การลดค่าไฟ ก๊าชหุงต้ม ลดราคาน้ำมัน ที่จะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกในวันพุธที่ 13 กันยายน นี้



ช่องทางถ่ายทอดสด แถลงนโยบายรัฐบาล


- โทรทัศน์รัฐสภา ช่อง10 วิทยุรัฐสภา
- Application และ Youtube: TPchannel
- Website : tpchannel.org
- Facebook : วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา 




 


 






ภาพจาก TNN Online / พรรคเพื่อไทย



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง