รีเซต

กรมศิลป์ได้ฤกษ์ขุด "เสาแฮก" บ้านเขียว พิสูจน์วันนี้มีของมีค่าในหลุมหรือไม่

กรมศิลป์ได้ฤกษ์ขุด "เสาแฮก" บ้านเขียว พิสูจน์วันนี้มีของมีค่าในหลุมหรือไม่
มติชน
22 มิถุนายน 2563 ( 09:07 )
130
กรมศิลป์ได้ฤกษ์ขุด "เสาแฮก" บ้านเขียว พิสูจน์วันนี้มีของมีค่าในหลุมหรือไม่
กรมศิลป์ได้ฤกษ์ขุด “เสาแฮก” บ้านเขียว พิสูจน์วันนี้มีของมีค่าในหลุมหรือไม่

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้กรมศิลปากรจะเริ่มดำเนินการเข้ามาจัดการในพื้นที่ ที่ประชาชนสงสัยว่าจะมีของมีค่าในการก่อสร้างในอดีต ที่ใส่ไว้ใต้หลุมเสาเอก สถานที่ตั้งของอาคารเก่าศูนย์เรียนรู้การป่าไม้ หรือ อาคารบอมเบย์ เบอร์มา ในอดีต ที่มีการรื้อถอน จากการดำเนินการตามโครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่ทรุดโทรมตามสภาพอายุ โดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) เป็นผู้ดำเนินงาน

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมคณะได้ลงพื้นที่บริเวณสวนรุกขชาติเชตวัน อ.เมือง จ.แพร่ สถานที่ตั้งของอาคารบอมเบย์เบอร์มาในอดีต

 

นายอรุณศักดิ์ กล่าวว่า จะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาเพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่มี เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็จะเอาไปออกแบบตัวอาคาร โดยอาศัยภาพถ่ายเก่า ควบคู่กับการวัดขนาดพื้นที่และไม้ต่างๆ เพื่อนำมาคัดลอกเป็นรูปแบบออกมา ให้เป็นแบบอาคารสำเร็จ โดยการออกแบบใหม่โดยกรมศิลป์ แต่ต้องอาศัยรูปเก่าๆ ที่มีหลายๆท่านได้เก็บรักษาหรือถ่ายไว้ เพื่อนำมาออกแบบตามรูปภาพเพื่อให้ใกล้เคียงมากที่สุด สำหรับท่านใดที่มีรูปภาพของอาคารหลังนี้ ได้โปรดกรุณา ส่งมาให้ทางกรมศิลปากรได้นำมาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ อาคารหลังใหม่ด้วย กรณีเสาเอกของอาคารเก่า หรือเสาแฮก ตามประเพณีโบราณนั้น เมื่อมีการสร้างบ้านหรือสร้างอาคารใดๆก็มักจะนำของมีค่าไปใส่ไว้ในหลุมของเสาต้นแรกของการก่อสร้าง อาคารแห่งนี้ก็เช่นกัน เราไม่ทราบแน่ชัดว่าจะมีหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ กรมศิลปากรจะเริ่มดำเนินการเข้ามาจัดการในพื้นที่ จะร่วมกับประชานในพื้นที่ดำเนินการขุดฐานรากเพื่อรังวัด โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมพิสูจน์ และรับทราบในการดำเนินการ จะมีอะไรหรือไม่มีก็จะได้รู้ไปพร้อมๆกัน

 

กรณีไม้หายหรือไม่ตามข้อสงสัยของประชาชนนั้น นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า เมื่อนำข้อมูลจากผู้รับเหมามาทำการวัดแล้วจะสามารถคำนวณปริมาตรของไม้ในแต่ละห้องแต่ละโถงได้ และจะมาตรวจสอบไม้ที่เหลือว่าไม้หายไปหรือเปล่า โดยจะให้ทางสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) คำนวณปริมาตรไม้ที่มีอยู่ โดยประชาชนมีส่วนร่วมด้วย เพื่อความโปร่งใส

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง