รีเซต

‘ครูตั้น’ ออกแถลงการณ์ ย้ำ ‘ไม่ซื้ออุปกรณ์เพิ่มโดยไม่จำเป็น’ น.ร.เรียนผ่าน 13 ช่องทีวี

‘ครูตั้น’ ออกแถลงการณ์ ย้ำ ‘ไม่ซื้ออุปกรณ์เพิ่มโดยไม่จำเป็น’ น.ร.เรียนผ่าน 13 ช่องทีวี
มติชน
11 เมษายน 2563 ( 22:54 )
49
‘ครูตั้น’ ออกแถลงการณ์ ย้ำ ‘ไม่ซื้ออุปกรณ์เพิ่มโดยไม่จำเป็น’ น.ร.เรียนผ่าน 13 ช่องทีวี
‘ครูตั้น’ ออกแถลงการณ์ ย้ำ ‘ไม่ซื้ออุปกรณ์เพิ่มโดยไม่จำเป็น’ น.ร.เรียนผ่าน 13 ช่องทีวี

‘ครูตั้น’ ออกแถลงการณ์ ย้ำ ‘ไม่ซื้ออุปกรณ์เพิ่มโดยไม่จำเป็น’ น.ร.เรียนผ่าน 13 ช่องทีวี  ตัดสินใจบนพื้นฐาน 6 ข้อหลัก เพื่อประสิทธิภาพการเรียน การสอน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณัฏฐพล  ทีปสุวรรณ  รัฐนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ออกแถลงการณ์การจัดการเรียนการสอนช่วงที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ครั้งที่ 1 ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ตามที่หลายท่านอาจทราบแล้วว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา รับทราบการ เลื่อนเปิดเทอมจากวันที่16พฤษภาคมเป็นวันที่1กรกฎาคม2563ซึ่งตนอยากย้ำอีกครั้งว่า

“การเลื่อนการเปิดเทอมเป็นมติเดียวเท่านั้น ที่ได้ข้อสรุปแล้ว การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อนำเสนอและหาข้อสรุปในลำดับถัดไป”

ในช่วงเวลานี้ตนเข้าใจดีถึงความกังวลและข้อสงสัย ของทุกท่านต่อการเลื่อนเปิดเทอมและการจัดการเรียนการสอนที่อาจส่งผลกระทบในหลายด้านทั้งต่อตัวเด็ก ผู้ปกครองไปจนถึงครูและโรงเรียนผมจึงคิดว่ามีความจำเป็น ที่จะต้องแจ้งความคืบหน้า และการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนคลายความกังวล ตลอดจนได้รับ ข้อมลูข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงเพื่อให้สามารถนาไปขยายผลต่อได้อย่างถกูต้อง

ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ที่ไม่มีใครเคยพบเจอมาก่อน สิ่งที่ผม ในฐานะรัฐมนตรีและตัวแทนเจ้าหน้าที่ในนามกระทรวงศึกษาธิการทุกคน ตระหนักอยู่เสมอ คือ ไม่ว่าสถานการณ์แวดล้อมจะเลวร้ายและรุนแรงแค่ ไหน การเรียนรู้ที่เข้าถึงและมีคุณภาพสำหรับเด็กไทยทุกคนเป็นเป้าหมายสูงสุดของเราตามแนวคิด

“การเรียนรู้นำ การศึกษา”

โรงเรียนอาจหยุดได้ แต่การเรียนรู้หยุดไม่ได้

ด้วยหลักการดังกล่าว เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสามารถเกิดขึ้นได้ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่สภาพแวดล้อมจะอำนวยโดยที่การตัดสินใจทั้งหมดนับจากนี้จะตั้งอยู่บนพื้นฐาน 6 ข้อได้แก่

  1. จัดการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของทุกคนที่เกี่ยวข้อง (การเปิดเทอมอาจ หมายถึง การเรียนที่โรงเรียนหรือการเรียนที่บ้าน ทั้งนี้การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด)
  2. อำนวยการให้นักเรียนทุกคน สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนได้ แม้จะไม่สามารถไปโรงเรียนได้

 

  1. ใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นการเสนอขอช่องดิจิทัลทีวี จากกสทช. ทั้ง 13 ช่อง เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้นสามารถเรียนผ่านDLTVได้ ทั้งนี้ ยังไม่มีการจัดซื้ออุปกรณ์ใดเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น
  2. ตัดสินใจนโยบายต่าง ๆ บนพื้นฐานของการสำรวจความต้องการทั้งจากนักเรียน ครูและโรงเรียน ไม่ใช่คิดเองเออเอง โดยให้การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นที่ตั้ง และกระทรวงจะสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
  3. ปรับปฏิทินการศึกษาของไทยให้เอื้อต่อการ“เรียนเพื่อรู้”ของเด็กมากขึ้น (รวมทั้งมีการปรับตารางเรียนตามความเหมาะสมโดยเวลาที่ชดเชยจะคำนึงถึงภาระของทุกคนและการได้รับความรู้ครบตามช่วงวัยของเด็ก)
  4. บุคลากรทางการศึกษาทุกท่านจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและทำให้ท่านได้รับผลกระทบเชิงลบ จากการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด

ขณะนี้ทางกระทรวงได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมลู เพื่อประเมินความพร้อมและความต้องการของโรงเรียน ในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ในเรื่องของรูปแบบการเรียนการสอนสื่อการเรียนการสอนโดยผมจะนาผลลัพธ์และข้อสรุป ที่ได้มาชี้แจงกับทุกท่านในลำดับถัดไป  หากทุกท่านมีข้อแนะนำหรือข้อมลู ใดที่เป็นประโยชน์ ผมและทีมงาน พร้อมและมีความยินดีที่จะรับฟัง เพื่อนำมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายบนพื้นฐานความเข้าใจที่มีต่อทุกฝ่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง