29 กันยายน วันหัวใจโลก : มาเช็กหัวใจกันหน่อย...เสี่ยงเกิดโรคไหม?
29 กันยายน วันหัวใจโลก เป็นอีกหนึ่งวันที่ทำให้เราทุกคนได้ตระหนักในการดูแลหัวใจของเราเอง โดยวันนี้ถือเป็นวันสำคัญ TrueID มีความรู้ดี ๆ เกี่ยกวับประวัติวันหัวใจโลก รวมทั้งอยากเชิญชวนทุกคนมาเช็กหัวใจกันสักหน่อยว่ามีอาการแบบนี้หรือไม่?
ประวัติ วันหัวใจโลก
เพจเฟซบุ๊ก งานสร้างเสริมสุขภาพศิริราช ได้ระบุถึงวันสำคัญดังกล่าวว่า วันหัวใจโลกจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2000 โดยสมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) อันเกิดจากความร่วมมือของสององค์กร คือ The International Society of Cardiology (ISC) และ International Cardiology Federation ซึ่งได้ร่วมกันก่อตั้งวันหัวใจโลกขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้วันนี้เป็นวันสำคัญสากลที่ช่วยเตือนให้คนทั่วโลกตระหนักถึงอันตรายของโรคหัวใจและหลอดเลือด ฃนับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ และเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลก ในช่วงสิบปีแรกของการก่อตั้งวันหัวใจโลก
ดังนั้น ทางสมาพันธ์หัวใจโลกกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกันยายน เป็นวันหัวใจโลก กระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 2011 จึงมีมติเปลี่ยนแปลงวันหัวใจโลกขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้วันที่ 29 กันยายน ของทุกปี เป็นวันหัวใจโลก สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน
โรคหัวใจกับคนไทย
ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมสุขภาพจิต ได้ระบุตัวเลข 432,943 คน คือ ตัวเลขจำนวนคนไทยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด จากสถิติล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข ที่เปิดเผย ณ วันที่ 16 กันยายน 2561 โดยจากจำนวนดังกล่าว มีอัตราการตายถึง 20,855 คน ต่อปี หรือ ชั่วโมงละ 2 คน อ้างอิงจาก ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ต่อประชากร 100,000 คน ปี พ.ศ. 2555 – 2559 เท่ากับ 23.4, 26.9, 27.8, 29.9 และ 32.3 แนวโน้ม การเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า "โรคหัวใจ" ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นวิธีเบื้องต้นอันดับแรกที่ควรทำมากที่สุด ทั้งการเลือกกินอาหาร การอยู่ในสภาพแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่ก่อนที่จะไปรับมือกับความเสี่ยง มาเช็กหัวใจกันหน่อยว่ามีอาการแบบนี้หรือไม่ จะได้รับมือกันทัน
มาเช็กหัวใจกันหน่อย! มีอาการแบบนี้อาจเสี่ยงเกิดโรคได้
โดยเพจทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ทำวิธีสังเกตสัญญาณเตือนกลุ่มโรคหัวใจ 5 สัญญาณ จะมีอะไรบ้าง มาเช็กไปพร้อมกัน ซึ่งตามข้อมูลระบุว่าหากมีอาการเหล่านี้บ่อยครั้ง ควรมาพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษาต่อไป
- แน่นหน้าอก
- เหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก
- ขาหรือเท้าบวม
- ใจสั่น
- หมดสติ
ถ้าหัวใจสลาย เพราะโดนเท ต้องทำยังไง?
ส่วนอาการถูกคนอื่นเทจนทำหัวใจสลาย รู้สึกไม่อยากทำอะไร แนะนำให้หันมารักษาหัวใจด้วยการหากิจกรรมใหม่ ๆ ทำ เช่น ออกกำลังกายเพื่อหลีกหนีการเก็บตัว เปลี่ยนความเศร้ามาเติมความสนุกกับความบันเทิงครบรส ทั้งซีรีย์เรื่องดัง หรือจะอ่านเรื่องย่อ หนังร่างทรง หรือจะส่งเสียงเชียร์กับฟุตบอลแมตซ์มันส์ ๆ มาม่ะ มาเลยที่ ทรูไอดี (TrueID) ได้พักหัวใจ ด้วยความสนุก
.
อ้างอิง : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล