รีเซต

ค่าบาทกลับมาแข็ง นักวิเคราะห์ชี้จับตาผลสหรัฐฯ ออกมาตรการสู้โควิด และผลถกโอเปกพลัส

ค่าบาทกลับมาแข็ง นักวิเคราะห์ชี้จับตาผลสหรัฐฯ ออกมาตรการสู้โควิด และผลถกโอเปกพลัส
มติชน
10 เมษายน 2563 ( 10:19 )
47
ค่าบาทกลับมาแข็ง นักวิเคราะห์ชี้จับตาผลสหรัฐฯ ออกมาตรการสู้โควิด และผลถกโอเปกพลัส

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยตลาดการเงิน บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS) กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ 10 เมษายน อยู่ที่ระดับ 32.71 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ 32.82 บาทต่อดอลลาร์ กรอบเงินบาทวันนี้ 32.60-32.80 บาทต่อดอลลาร์

 

โดยในคืนที่ผ่านมา ดัชนี S&P 500 ของสหรัฐปรับตัวบวกขึ้นต่อ 1.4% หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด ขยายอาณาเขตการทำนโยบายการเงินเพิ่มเติมให้ครอบคลุมเกือบทุกบริษัทและแทบทุกระดับของตราสารหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นสัปดาห์ที่หุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 1974

 

โดยเนื้อหาหลักของ นโยบายการเงินรอบนี้ประกอบไปด้วยกัน 5 เรื่อง ดังนี้

อย่างแรกคือ Primary and Secondary Market Corporate Credit Facilities (PMCCF และ SMCCF) ในมูลค่าวงเงินราว 7.5 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการเปิดวงเงินซื้อตราสารหนี้ทั้งในตลาดแรกและตลาดรองรวมไปจนถึง ETF ตราสารหนี้ โดยเรตติ้งที่ซื้อได้ถูกปรับลดลงมาที่ระดับ BB-/Ba3

 

อย่างที่สองคือ Municipal Lending Facility ในมูลค่าวงเงินราว 5 แสนล้านดอลลาร์ โดยจะเป็นการปล่อยกู้ตรงให้กับหน่วยงานรัฐทั่วทั้งสหรัฐที่ดอกเบี้ยต่ำมีอายุราว 24 เดือน

 

นอกจากนี้ก็มี Term Asset-Backed Securities Loan Facility (TALF)ในมูลค่าวงเงินราว 5 แสนล้านดอลลาร์ ที่มีการเพิ่มสินทรัพย์ให้ครอบคลุมไปถึง สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ออกโดยภาคเอกชน

 

วงเงินที่สี่คือ Main Street Lending Program ในมูลค่าวงเงินราว 6 แสนล้านดอลลาร์ ที่จะเป็นการปล่อยกู้ให้กับบริษัทที่มีพนักงานไม่เกิน 10,000 ตำแหน่งและ มีรายได้ไม่เกิน 2.5 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ที่ดอกเบี้ย SOFR +200-400bps มีอายุได้ถึง 4ปี และ Paycheck Protection Program Liquidity Facility ไม่จำกัดวงเงิน

 

โดยในฝั่งตลาดเงิน นโยบายทั้งหมด กดดันให้ยีลด์ของกลุ่ม High Yield และ พันธบัตรรัฐบาลในประเทศฝั่งลาตินอเมริกาปรับตัวลง 30-60bps เนื่องจากเป็นตราสารที่มีความเสี่ยงใกล้เคียงกับตราสารที่เฟดซื้อเพิ่ม

 

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ก็อ่อนค่าลงราว 0.7% เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักทั่วโลกในช่วงค่ำ อย่างไรก็ดี ในช่วงเช้าวันนี้กลับมีราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง หลังจากที่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันไม่สามารถหาข้อตกลงระยะสั้นกันได้ จนต้องประชุมต่อในวันนี้ 10 เมษายน หนุนให้ดอลลาร์ฟื้นตัวกลับขึ้นมา

 

ในฝั่งของเงินบาทและสกุลเงินเอเชีย ในระยะถัดไปเชื่อว่าจะจะได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯเช่นกัน แต่ในระยะสั้น ต้องจับตาดูในวันนี้ก่อนว่าจะมีเงินทุนไหลเข้ามาฟังเอเชียมากขนาดไหน ถ้าราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับต่ำ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง