รีเซต

ผลงานสุดแจ่ม! "ทางม้าลาย 3 มิติ" ลดอุบัติเหตุ ฝีมือนิสิตสถาปัตย์จุฬาฯ

ผลงานสุดแจ่ม! "ทางม้าลาย 3 มิติ" ลดอุบัติเหตุ ฝีมือนิสิตสถาปัตย์จุฬาฯ
TNN ช่อง16
2 กุมภาพันธ์ 2565 ( 12:34 )
285
ผลงานสุดแจ่ม! "ทางม้าลาย 3 มิติ" ลดอุบัติเหตุ ฝีมือนิสิตสถาปัตย์จุฬาฯ

แชร์กันทั้งโซเชียล สำหรับภาพทางม้าลาย 3 มิติ สีชมพู ที่ดูเหมือนแท่งยื่นลอยออกมาจากถนน หวังเพิ่มความระมัดระวังให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการข้ามทางม้าลาย พบว่าเป็นผลงานของนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

โดยภาพที่แชร์กันนั้น มาจากเฟซบุ๊ก "Virapong Noppun" โพสต์ภาพพร้อมข้อความ "ทางม้าลาย ผลงานนิสิตสถาปัตย์จุฬาฯ ปี 1 สุดยอด!!! #theprimelifestyle"

ต่อมาได้มีการแชร์และแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก บางคนมองว่าเป็นไอเดียที่สร้างสรรค์ หวังให้รถที่ผ่านมาชะลอเพื่อให้คนข้ามทางม้าลายได้อย่างปลอดภัย แต่ขณะที่บางคนไม่เห็นด้วย โดยมองว่าอาจจะเกิดความเสี่ยงในกรณีที่ผู้ขับรถเบรกกะทันหัน อีกทั้งเครื่องหมายจราจรควรเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อความปลอดภัย


ล่าสุดวันนี้ (2 ก.พ.65) ทีมข่าว ลงพื้นที่สำรวจทางม้าลาย 3 มิติ หลังมีการแชร์คลิปในโลกออนไลน์เป็นวงกว้าง โดยพบว่าบางมุมก็ดูเหมือนขั้นบันได บางมุมดูเหมือนเครื่องกั้นถนน เพื่อให้ผู้ขับขี่ชะลอความเร็วรถ และหยุดให้คนข้ามทางม้าลายได้อย่างปลอดภัย

ทางทีมข่าวจึงได้ลงพื้นที่มาสำรวจพร้อมสอบถามความคิดเห็นและมุมมองจากผู้ใช้ทางม้าลายดังกล่าว โดยระบุว่า มีลักษณะคล้ายมีเครื่องกั้นกรีดขวางไว้ บางมุมก็ดูเหมือนขั้นบันได โดยผู้ใช้ทางม้าลายมองถึงด้านความปลอดภัย 

และคิดว่าจะทำให้ผู้ขับขี่รถบนท้องถนนมองเห็นได้ชัดเจนและเกิดความระมัดระวังคนข้าทางม้าลายมากขึ้น แต่ก็เป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ  จริง ๆ แล้วขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละคน ที่ควรปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมายจราจรในการใช้รถใช้ถนน

ทางม้าลายนี้ เป็นผลงานของ นายอัครพล ธนวัฒนาเจริญ นางสาวจิรา พวงวาสนา นางสาวภัทราพร พลพวกุล นางสาวปิ่นญมณี ฉิมมาลี นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการประกวดผลงาน โครงการ "ทางม้าลายสามมิติ" หรือ "3D crosswalk" ที่สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ จัดทำขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว 

โดยจะทำทั้งหมดรวม 7 จุดภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งจุดนี้ถือเป็นจุดแรกในการทดลองใช้ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงต่อไป 


ภาพจาก Virapong Noppun , Department of Industrial Design, Chulalongkorn University



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง