พร้อมไหม! จ่ายเงินประกันสังคมเพิ่ม เช็กรายละเอียดที่นี่
ปัจจุบันมนุษย์เงินเดือน หรือผู้ประกันตน ม. 33 ณ ธันวาคม 2565 มีประมาณ 11.64 จะถูกหักเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมสูงสุดเดือนละ 750 บาท สำหรับผู้มีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ซึ่งหลักเกณฑ์นี้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 จนถึงปัจจุบัน หรือกว่า 30 ปี
แต่สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเทียบกับ 30 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม จึงมีแนวคิดปรับปรุงเพดานเงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยกำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้างผู้ประกันตน ม.33 ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย ซึ่งจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566 นี้
จากรายละเอียดร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือจะกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยจะมีการปรับฐานจากปัจจุบันสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาทต่อเดือน อย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นสูงสุดไม่เกิน 23,000 บาท โดยจะกำหนดอัตราใหม่ ตามกรอบเวลาแบบขั้นบันได 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท
ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท
ระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท
สำหรับที่มาของการปรับเพดานค่าจ้างสูงสุดเป็น 17,500 – 23,000 บาทต่อเดือน สำนักงานประกันสังคมระบุว่าพิจารณาจากหลักการสากลในการคำนวณปรับเพดานค่าจ้าง โดยจะคำนวณจากค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตนคูณด้วย 1.25 เท่า และควรปรับทุกปี ซึ่งในปี 2565 ค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตน ม.33 อยู่ที่ 18,400 บาท
ดังนั้นหากคำนวณตามหลักสากลจะต้องปรับเพดานค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็น 23,000 บาทต่อเดือน ซึ่งหากทำในทันทีอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตน ม. 33 เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมไม่ได้มีการปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงมากกว่า 30 ปี จึงปรับเป็นขั้นบันได้ เพื่อลดผลกระทบให้ผู้ประกันตน โดยปี 2567-2569 ไม่เกิน 17,500 บาท ปี 2570-2572 ไม่เกิน 20,000 บาท และปี 2573 เป็นต้นไป ไม่เกิน 23,000 บาท
จากการปรับฐานเพาดานค่าจ้างขั้นสูง จะทำให้การคำนวณเงินสมทบของผู้ประกันตน ม. 33 เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน เนื่องจากการคำนวณเงินสมทบจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ จะคำนวณในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ซึ่งปัจจุบันค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับกำหนดเพดานสูงสุดไว้ที่ 15,000 บาทต่อเดือน
ดังนั้น ปัจจุบันผู้ประกันตน ม.33 จะจ่ายเงินสบทบสูงสุดที่ 750 บาท หากปรับเพดานค่าจ้างเป็น 17,500 บาท จะจ่ายเงินสมทบสุงสุดที่ 875 บาท ปรับเพดานเป็น 20,000 บาท จะจ่ายเงินสมทบสูงสุดที่ 1,000 บาท และปรับเพดานเพิ่มขึ้นเป็น 23,000 บาท จะจ่ายเงินสมทบที่ 1,1500 บาท
ขณะที่ นายจ้างและรัฐบาลก็ต้องนำส่งเงินสมทบเพิ่มขึ้นด้วย โดยนายจ้างจะคำนวณนำส่งเงินสบทบในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน และรัฐบาลร้อยละ 2.75 ต่อเดือน
ทั้งนี้ เหตุผลและความจำเป็นการปรับเพดานค่าจ้างสูงสุด นอกจากจะปรับปรุงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศแล้ว
ยังดำเนินการเพื่อความเพียงพอของสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น เพื่อการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อยภายในระบบประกันสังคม และเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันสังคม
รวมถึงประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้ประกันตนคือทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น เนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม
สำหรับผลประโยชน์ที่จะได้เพิ่มขึ้น อาทิ เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วยร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน จากปัจจุบันได้เงินทดแทน 250 บาทต่อวัน ก็เพิ่มขึ้นเป็น 292 บาทต่อวัน 333 บาทต่อวัน และ 383 บาทต่อวัน ตามเพดานค่าจ้างปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ (ดูในกราฟฟิก)
ส่วนเงินทดแทนการขาดรายได้ในกรณีว่างงานร้อยละ 50 หรือร้อยละ 30 ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน ปัจจุบันจะได้เงินทดแทน 7,500 บาทต่อเดือน ก็จะได้เพิ่มเป็น 8,750 บาท 10,000 บาท ต่อเดือน และ 11,500 บาทต่อเดือน ตามเพดานค่าจ้างปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ (ดูในกราฟฟิก)
สำหรับกรณีเงินบำนาญชราภาพ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเข้ากองทุน โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปี จะได้รับบำนาญร้อยละ 20 ของค่าจ้าง ปัจจุบันจะได้เงินบำนาญ 3,000 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็น 3,500 บาทต่อเดือน 4,000 บาทต่อเดือน และ 4,600 บาทต่อเดือน ตามเพดานค่าจ้างปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ (ดูในกราฟฟิก) ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ทุกการส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน
ขณะที่ผู้ประกันส่งเงินสมทบ 25 ปี ก็จะได้บำนาญปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน (ดูข้อมูลในกราฟฟิกได้)
สำหรับเงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติเนื่องจากมีการนำส่งเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้นจากการปรับฐานที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ
ทั้งนี้ การปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างสูงสุด สำนักงานประกันสังคมระบุว่า จะไม่ส่งผลกระทบกับผู้มีรายได้น้อย หรือมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท เนื่องจากผู้ประกันตนจะนำสงเงินสมทบร้อยละ 5 ของค่าจ้างตามจริงที่นายจ้างรายงานต่อสำนักงานประกันสังคม
เช่น กรณีค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท ผู้ประกนตนจะนำส่งเงินสมทบเดือนละ 500 บาท
( 10,000 x 5% = 500 )
สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ที่มีค่าจ้าง 15,000 บาทขึ้นไป มีประมาณร้อยละ 37 ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องส่งเงินสมทบเพิ่มจากการปรับเพดานค่าจ้าง แต่ยังคงจ่ายอัตราเงินสมทบร้อยละ 5 เท่าเดิม
ด้านนางจิราภรณ์ แผลงประพันธ์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เห็นด้วยกับแนวทางการปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างสำหรับคำนวณเงินสมทบ เนื่องจากตั้งแต่จัดตั้งกองทุนประกันสังคมไม่เคยมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งหากคำนวณจากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 30 ปีจะอยู่ราวร้อยละ 2 เพดานค่าจ้างในปัจจุบันก็ควรอยู่ราว 23,000-24,000 บาท ดังนั้นเพดานที่ปรับเพิ่มขึ้นถือว่าไม่สูง และการเพิ่มเงินสมทบจะทำได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเงินบำนาญซึ่งเป็นเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ
อย่างไรก็ดี นักวิจัยอาวุโส จากทีดีอาร์ไอ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรมีทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกันตนที่มีค่าจ้างสูงและต้องการออมเงินเพิ่ม ให้สามารถเพิ่มเงินสมทบได้อีกร้อยละ 1-2 จากปัจจุบันส่งเงินสมทบที่ร้อยละ 5 เนื่องจากจากการศึกษาการออมของคนไทย พบว่าส่วนใหญ่คนไทยมีเงินออมไม่เพียงพอรองรับเกษียณอายุ และออมเงินไม่ค่อยได้ แต่หากเป็นการออมแบบบังคับ โดยหักจากเงินเดือนเป็นประจำ จะสามารถทำได้ดี ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนการออมระยะยาวสำหรับรองรับเกษียณอายุ จึงควรเปิดโอกาสให้มีการส่งเงินสมทบเพิ่มขึ้นได้สำหรับผู้ประกันตนที่พร้อมจะจ่ายเงินสมทบเพิ่ม
นอกจากนี้ ทีดีอาร์ไอยังเสนอว่า ควรปรับวิธีการคํานวณเงินบํานาญจากการใช้รายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเป็นรายได้เฉลี่ยทั้งชีวิตหรือรายได้เฉลี่ยสูงสุด 180 เดือน เพราะมีความเป็นธรรมต่อผู้ประกันตนที่มีรายได้ลดลงก่อนเกษียณ และปรับเงินบํานาญตามอัตราเงินเฟ้อ (indexation) เพื่อรองรับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในอนาคต
สอดคล้องกับ ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเห็นด้วยกับการปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างสูงสุดสำหรับคำนวณเงินนำส่งสมทบ เพราะเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทั้ง 3 ฝ่าย (ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล) สุดท้ายจะตกเป็นเงินออมของลูกจ้างทั้งหมด พร้อมสนอเพิ่มเติม ว่าการปรับเพดานค่าจ้างสูงสุดควรมีลักษณะเป็น “อัตราก้าวหน้า” เพื่อให้มีความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น และเงินทดแทนที่จะได้รับเพิ่มขึ้นด้วย กล่าวคือ เมื่อผู้ประกันที่มีเงินเดือนสูง ย่อมมีศักยภาพในการส่งเงินสมทบเพิ่มขึ้น และเมื่อต้องออกจากงาน หรือต้องใช้สิทธิประโยชน์กรณีต่างๆ ก็จะได้รับเงินทดแทนสูงขึ้นไปด้วย ซึ่งจะสะท้อน