รีเซต

ประท้วงเหยียดสีผิว สะท้อนไปสู่การบูลลี่ในสังคมไทย

ประท้วงเหยียดสีผิว สะท้อนไปสู่การบูลลี่ในสังคมไทย
TrueID
12 มิถุนายน 2563 ( 14:21 )
6.5K

 

จากสถานการณ์การประท้วงเรื่องการเหยียดกลุ่มคนผิวสีในสหรัฐฯ และประเทศต่าง ๆ ในตอนนี้ที่เริ่มเกิดการประท้วงต่อสู้รุนแรงกันมากขึ้น หลาย ๆ คนที่เป็นทั้งคนดังมีชื่อเสียงและประชาชนทั่วโลกได้ออกมาปกป้อง และติดแท็กว่า "black lives matter" เป็นจำนวนมาก และล่าสุดสถานการได้ลุกลามในไปหลายประเทศทั่วโลก เรื่องนี้เป็นการสะท้อนถึงการบูลลี่ในสังคมอีกแบบนึง นั้นก็คือการบูลลี่แบบการพูด พูดให้คนฟังรู้สึกแย่ ล้อเลียน เยาะเย้ย เป็นต้น ซึ่งการกระทำแบบนี้มีอยู่ทั่วโลก อยู่ที่ว่าจะมากหรือน้อย โดยในประเทศไทยก็มีเช่นเดียวกัน

 

ประเทศไทยในหลายปีที่ผ่านมาเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบูลลี่มากขึ้น เพราะจากสถิติเด็กไทยติดอันดับ 2 ของโลก ในเรื่องบูลลี่ โดยองค์กรด้านเด็ก เปิดผลสำรวจพบ เด็กกว่าร้อยละ 91 เคยถูกบูลลี่ ตบหัว พูดจาเหยียดหยาม ซึ่งในกลุ่มเด็ก อายุ 10-15 ปี จาก 15 โรงเรียน  พบว่า ร้อยละ 91.79 เคยถูกบูลลี่ ส่วนวิธีที่ใช้บูลลี่ คือ การตบหัว ร้อยละ 62.07 รองลงมา ล้อบุพการี ร้อยละ43.57 พูดจาเหยียดหยาม ร้อยละ41.78 และอื่นๆ เช่น นินทา ด่าทอ ชกต่อย ล้อปมด้อย พูดเชิงให้ร้าย เสียดสี กลั่นแกล้งในสื่อออนไลน์  นอกจากนี้  1 ใน 3 หรือ ร้อยละ 35.33 ระบุว่า เคยถูกกลั่นแกล้งประมาณเทอมละ 2 ครั้ง ที่น่าห่วงคือ 1 ใน 4 หรือ ร้อยละ 24.86 ถูกกลั่นแกล้งมากถึงสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ส่วนคนที่แกล้ง คือ เพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง ซึ่งเด็กบางคนมองว่าการบูลลี่เป็นเรื่องสนุกแต่ความเป็นจริงแล้วถือว่าเป็นการทำร้ายที่รุนแรงอย่างหนึ่ง โดยจะเห็นผลกระทบไปถึงการเป็นโรคซึมเศร้า หรือทำให้ผู้ที่โดนกระทำรู้สึกแย่มากจนเป็นปมในชีวิตไปเลยก็ได้ 

 

ซูซี่ ณัฐวดี ลูกครึ่งไทย-มาลี ขวัญใจชาว Tiktok ที่ดังเป็นกระแสในโซเชียลตอนนี้ก็ได้ผ่านเรื่องราวอคติเรื่องสีผิว-เชื้อชาติมาเช่นกัน โดยซูซี่ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง บีบีซีไทย ว่า จากการเติบโตมาในเมืองไทย ซูซี่มองว่า ความไม่เข้าใจที่นำไปสู่การปฏิบัติต่อคนผิวสี คนผิวดำ อย่างไม่เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เหมือนกัน เป็นผลจากหลาย ๆ ปัจจัย สื่อเองก็มีส่วนในการกล่อมเกลาให้เกิดทัศนะเช่นนั้น เช่นการโฆษณาที่นำเอาผิวสีมาทำเป็นเรื่องตลก หรือดูโทรทัศน์ก็มีแต่ดาราผิวขาว ซึ่งในสายตาของซูซี่ เธอกล่าวว่าคงไม่อาจเหมารวมปฏิกริยาของคนรอบข้างว่าจะเหมือนกันไปเสียทั้งหมด แต่จากประสบการณ์ที่พบเจอมา สีผิวก็ยังเป็นตัวกำหนดทัศนะที่เป็นอคติจากผู้คนบางส่วนที่ได้พบเจอ

 

รวมไปถึง "เหตุการณ์ที่ซูซี่เคยเจอคือไปเดินห้าง แล้วเด็กเขาชี้ว่าแม่ดูไอ้หน้าดำสิ ซูซี่ก็ช็อกแล้วนะ แต่ที่ช็อกกว่านั้นคือแม่เขากลับหัวเราะ มันทำให้ซูซี่รู้สึกว่าจริงๆ ถ้าไม่พร้อมมีลูก คือไม่ต้องมีนะคะ ถุงยางมีค่ะ" เธอกล่าว

 

โดยเธอยังกล่าวอีกว่า "เด็กคือผ้าขาวอย่างที่คนไทยพูดจริง ๆ มันอยู่ที่ว่าเราจะแต่งเติมอะไรจริง ๆ ค่ะ ถ้าเราแต่งเติมเขาอย่างดี สอนให้เขารู้ว่าการเหยียดการบูลลี่คนไม่ดี เด็กยังไงก็ไม่บูลลี่" 

 

 

นอกจากนี้ยังมีนักร้องดังอย่าง เลดี้ กาก้า ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดียของตัวเองเกี่ยวกับสถานการณ์การต่อต้านการเหยียดสีผิวในอเมริกาว่า “ฉันมีหลายอย่างที่อยากพูดเกี่ยวกับประเด็นนี้ แต่ก็กลัวจะสร้างความโกธรแค้นมากขึ้น ฉันไม่อยากเพิ่มความรุนแรง แต่อยากช่วยหาทางออก ฉันก็เจ็บแค้นกับการเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับคนผิวสีอีกมากมายช่วงร้อย ๆ ปีที่ผ่านมา ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นมาเพราะการเหยียดสีผิวแบบ Systemic Racism และระบบคอร์รัปชันที่สนับสนุนให้เกิดขึ้น เสียงของกลุ่มคนผิวสีถูกปกปิดมานานมาก ซึ่งความเงียบนี้ก็มีผลลัพธ์ที่ร้ายแรงมาเสมอ และถึงแม้เขาจะประท้วงกี่ครั้ง พวกเขาก็ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำที่ควรปกป้องพวกเขาตั้งแต่แรก มันคือความจริงที่ว่าทุกวันในอเมริกาก็ยังมีคนที่เหยียดคนอื่นเสมอ”

 

เลดี้ กาก้า ยังได้บอกอีกว่า นี่คือเวลาสำคัญในประวัติศาตร์ที่เราต้องแสดงความรักต่อคนผิวสี พร้อมได้ร้องขอให้คนมาคุยกันแบบมีแพสชัน ความเห็นใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้กันจนปัญหาเหล่านี้หมดไปสักที โดยแม้เธอจะเสียใจและโกธรแค้นกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่กาก้าก็บอกว่าจะพยายามเป็นกระบอกเสียงต่อไปเพื่อช่วยเหลือปัญหาในทางที่ไม่ใช้ความรุนแรง

 

การประท้วงเรื่องกลุ่มคนผิวสีในต่างประเทศครั้งนี้ เป็นเหมือนตัวกระตุ้นเตือนให้เรากลับมามองเรื่องการบูลลี่ในประเทศเราเอง เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก หลาย ๆ คนอาจจะมองข้ามเรื่องนี้ไปเพราะคิดว่ามันคือการเล่นกันของเด็กทั่วไป แต่สิ่งผิด ๆ เหล่านี้มันจะปลูกฝังอยู่กับเด็กไปจนโต เราไม่ควรมองข้ามในเรื่องนี้ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เริ่มจากที่ตัวเราเอง

 

และในส่วนเรื่องการสอนให้เด็กรับรู้เรื่องการบูลลี่นั้นครอบครัวเป็นตัวแปรสำคัญในการปลูกฝังความคิดให้กับเด็ก ควรจะมีวิธีการสอนให้เด็กเข้าใจ ปลูกฝังความเชื่อ การสร้างเสริมทัศนคติ กำหนดบุคลิกภาพ วิธีการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงการสร้างบรรทัดฐานทางสังคม โดยสิ่งสำคัญที่สุด คือ การเป็นแบบอย่างที่ดี เลี้ยงดูด้วยวิธีการเชิงบวก ให้ความเข้าใจ และเชื่อใจเด็ก อาทิ ไม่เปรียบเทียบ ใช้คำพูดที่สุภาพ ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการบูลลี่ได้ 

 

ข้อมูล : สสส./บีบีซีไทย/thestandard 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง