เลื่อนส่งยาน Starliner พร้อมนักบินอวกาศนาซาออกไปไม่มีกำหนด
วันที่ 2 มิถุนายน บริษัท โบอิ้ง (Boeing) อาจต้องเลื่อนการส่งยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) พร้อมนักบินอวกาศของนาซาออกไปอย่างไม่มีกำเนิดเนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยของร่มชูชีพและระบบสายไฟฟ้าในยานอวกาศที่ทีมงานค้นพบจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้กำหนดการเดิมที่จะส่งยานขึ้นสู่อวกาศพร้อมนักบินอวกาศ 2 คน ในวันที่ 21 กรกฎาคม ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดและอาจไม่มีการปล่อยยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) ขึ้นสู่อวกาศในปี 2023
สำหรับปัญหาสำคัญที่ทีมงานวิศวกรค้นพบมีสาเหตุมาจาก 2 ประการ
1. ปัญหาสายแขวนของร่มชูชีพทั้ง 3 ชุด ของยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำกว่าวิศวกรคำนวณเอาไว้ ซึ่งอาจทำให้สายร่มชูชีพไม่สามารถรับน้ำหนักของยานเอาไว้ได้ โดยตามเงื่อนไขของนาซาร่มชูชีพจะต้องสามารถทำงานได้ 2 ใน 3 ปล่อง ถึงจะผ่านมาตรการรักษาความปลอดภัยของนาซา
2. ปัญหาด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเทปป้องกันที่ปิดชุดสายไฟทั่วทั้งยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) ซึ่งมีความยาวรวมกันระยะทางกว่า 100 ฟุต ซึ่งหากเกิดไฟไหม้อาจทำให้ลุกลามขยายวงกว้าง
"มีความเป็นได้ และผมไม่ต้องการผูกมัดกับที่หรือเวลาใด ๆ .... และ" มาร์ค เนปปี (Mark Nappi) ผู้จัดการโครงการยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) เปิดเผยข้อมูลบางส่วนถูกเปิดเผยในระหว่างการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน
ก่อนหน้านี้ยานอวกาศสตาร์ไลเนอร์ (Starliner Orbital Flight Test 2 (OFT-2) เคยทดสอบเดินทางขึ้นสู่อวกาศมาแล้วแบบไร้นักบินอวกาศในวันที่ 19 พฤษภาคม 2022 และยานอวกาศสามารถเติมทางไปเชื่อมกับสถานีอวกาศนานาชาติได้ ก่อนเดินทางกลับโลกอย่างปลอดภัย
ยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท โบอิ้ง (Boeing) ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายในความร่วมมือกับนาซาเพื่อใช้ในโครงการส่งมนุษย์อวกาศขึ้นสู่วงโคจรของโลกและเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ยานอวกาศลำนี้ถูกออกแบบให้สามารถเดินทางกลับโลกและนำมาใช้งานใหม่ในภารกิจต่อไป (Reusable Capsule)
ข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) เช่น การลงจอดใช้ร่มชูชีพบนทะเลทรายในสหรัฐอเมริกาแตกต่างจากยานอวกาศลำอื่นของนาซาที่มักใช้การลงจอดแบบร่มชูชีพเช่นเดียวกันแต่ลงจอดบนพื้นน้ำในมหาสมุทร ระบบการเชื่อมต่อเข้าเทียบท่าสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เป็นแบบอัตโนมัติลดข้อผิดพลาดของนักบินอวกาศ และระบบควบคุมยานอวกาศโดยหน้าจอสัมพัสแต่ยังคงมีปุ่มสั่งการทำงานจำนวนมากอยู่เหมือนเดิมคล้ายยานอวกาศในยุคอื่น
สำหรับนักบินอวกาศทั้ง 2 คน ประกอบด้วย สุนิตา วิลเลียมส์ (Sunita Williams) และบุทช์ วิลมอร์ (Butch Wilmore) กำลังอยู่ในระหว่างการฝึกซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเดินทางขึ้นสู่อวกาศพร้อมกับยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner)
อย่างไรก็ตาม การเลื่อนกำหนดการเดินทางขึ้นสู่อวกาศของยานสตาร์ไลเนอร์และความไม่มั่นใจในความปลอดภัยจากทีมงานของนาซาอาจทำให้กำหนดการปล่อยยานสตาร์ไลเนอร์ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดและนักบินอวกาศทั้ง 2 คน อาจต้องเปลี่ยนไปใช้ยานอวกาศครูว์ดรากอน (Crew Dragon) ของบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) เช่นเดียวกับนักบินอวกาศ 2 คน ก่อนหน้านี้ คือ นิโคล แมนน์ (Nicole Mann) และจอช คาสซาดา (Josh Cassada) ที่เปลี่ยนจากยานอวกาศสตาร์ไลเนอร์เป็นยานอวกาศครูว์ดรากอน (Crew Dragon) มาแล้วในปี 2021
ที่มาของข้อมูล Space
ที่มาของรูปภาพ Boeing