ลงทะเบียนมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ออนไลน์ ถึง 31 ม.ค. 66 เช็กขั้นตอนแก้หนี้ ที่นี่!
มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์ ลงทะเบียนแก้หนี้ 2565 ล่าสุด ธปท. จัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” เปิดให้ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาชำระหนี้ ต้องการแก้หนี้ ไกล่เกลี่ยหนี้ รายได้ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด 19 และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือมาก่อน ลงทะเบียนมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์ ได้ตั้งแต่ 26 กันยายน ถึง 31 มกราคม 2566 ใครที่ต้องการ แก้หนี้สินเชื่อ หนี้บัตรเครดิต หนี้จำนำทะเบียนรถ เช็กเงื่อนไข แก้หนี้ ล่าสุด
มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์ คืออะไร
เป็นการเปิดช่องทางการเจรจา ไกล่เกลี่ยหนี้ ระหว่างลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการชำระหนี้และยังไม่ได้ความช่วยเหลือกับเจ้าหนี้ ผ่าน ระบบออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน ถึง 31 มกราคม 2566 เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยขณะนี้ มีสถาบันการเงินตอบรับเข้าร่วมแล้ว 56 ราย ครอบคลุมหนี้จากสินเชื่อบัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้เช่าซื้อรถ หนี้จำนำทะเบียนรถ หนี้นาโนไฟแนนซ์ รวมถึงสินเชื่อที่อยู่กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ และสินเชื่อทุกประเภทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ระยะแรกเป็นการแก้หนี้แบบออนไลน์ ลูกหนี้ลงทะเบียนแก้หนี้ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ถึง วันที่ 31 มกราคม 2566 ผ่านเว็บไซต์ www.bot.or.th/debtfair
วัตถุประสงค์การจัดมหกรรมร่วมใจแก้หนี้
เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังไม่กลับมาเต็มที่ และอาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
รูปแบบการจัดงาน
ระยะที่ 1 : "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์" ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 65 เวลา 14.00 น. - 31 ม.ค. 66
ระยะที่ 2 : "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร" โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และธนาคารกรุงไทย ช่วงเดือน พ.ย. 65 - ม.ค. 66 โดยลูกหนี้สามารถลงทะเบียนล่วงหน้า ได้ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 65 เพื่อรอรับบริการในงานแก้หนี้สัญจร เดือน พ.ย. 65 เป็นต้นไป
เตรียมตัวก่อนลงทะเบียนมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์
- เช็กว่ามีหนี้ประเภทไหน
- เช็กว่ามีหนี้กับผู้ให้บริการทางการเงินรายไหนบ้าง
- ตรวจสอบรายได้ รายจ่ายว่าสามารถชำระหนี้ได้เท่าไร
ลูกหนี้ที่เข้าร่วมมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ออนไลน์
- ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการชำระหนี้ รายได้ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบ ของโควิด 19 และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือมาก่อน
- ลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ จากผลกระทบที่รายได้ยังไม่กลับมา เพราะสถานการณ์โควิด หรือค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
เจ้าหนี้ที่เข้าร่วมมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ออนไลน์
- สถาบันการเงิน/ผู้ให้บริการทางการเงิน ภาคเอกชนและภาครัฐ (SFIs) กว่า 60 แห่ง ครอบคลุม หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ จำนำทะเบียนรถ ที่อยู่อาศัย นาโนไฟแนนซ์ สินเชื่อการเกษตร สินเชื่อธุรกิจ หนี้ค่าประกันชดเชย บสย. หนี้ที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) และสินเชื่อของผู้ให้บริการทางการเงินภาครัฐ >>ตรวจสอบเจ้าหนี้และประเภทหนี้ที่เข้าร่วมมหกรรม
ประเภทหนี้ที่เข้าร่วมมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ออนไลน์
- หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
- เช่าซื้อรถ จำนำทะเบียนรถ
- นาโนไฟแนนซ์
- หนี้ที่โอนไป บบส.
- สินเชื่อของ SFls
ลงทะเบียนแก้หนี้ออนไลน์
ลงทะเบียนแก้หนี้ ผ่านเว็บไซต์ www.bot.or.th/debtfair ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 65 เวลา 14.00 น.- 31 ม.ค. 66
ขั้นตอนลงทะเบียนแก้หนี้
- ยื่นคำขอผ่านเว็บไซต์มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ www.bot.or.th/debtfair
- ธนาคารแห่งประเทศไทยส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ร่วมในมหกรรมฯ ตามที่ผู้ลงทะเบียนระบุ ภายใน3 - 4 วัน หลังจากลงทะเบียนสำเร็จ
- ลูกหนี้รอรับโทรศัพท์ติดต่อจากเจ้าหนี้เพื่อเจรจาเงื่อนไขภายใน 14 วัน หลังจากผู้ให้บริการทางการเงินรับคำขอจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ลูกหนี้ที่ลงทะเบียนสำเร็จ สามารถตรวจสอบสถานะผ่านเว็บไซต์มหกรรมฯ หากไม่ได้รับการติดต่อหลังจากลงทะเบียนเกิน 18 วัน สามารถติดตามสถานะกับเจ้าหน้าที่ท่านลงทะเบียนไว้ การลงทะเบียนไม่มีเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าดำเนินการใดๆทั้งสิ้น
เพื่อตรวจสอบว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่ ก่อนให้ข้อมูลส่วนตัว หากสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร.1213 ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 น. -17.30 น. Chabotหมอหนี้ (Line@doctordebt) Email:debtfair@bot.or.th
หากมีคำถามที่สงสัยหรือต้องการคำแนะนำ
ติดต่อที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. โทร. 1213 หรือหมอหนี้เพื่อประชาชน
หากไม่สามารถเข้าร่วมมหกรรมครั้งนี้
- กรณีหนี้เสียบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลฯ ติดต่อคลินิกแก้หนี้ www.คลินิกแก้หนี้.com
- กรณีประเภทหนี้ หรือเจ้าหนี้อื่น นอกมหกรรมครั้งนี้ ลงทะเบียนใหม่ ผ่านทางด่วนแก้หนี้ของ ธปท.
"คำเตือน"
- ลูกหนี้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ควรลงทะเบียนด้วยตนเอง โดยใช้ลิงก์นี้เท่านั้น www.bot.or.th/debtfair
- ไม่มีค่าดำเนินการใด ๆ ในการเข้าร่วมมหกรรม ฯ ทั้งสิ้น เช่น ค่าลงทะเบียน ค่าค้ำประกัน ค่าปลดล็อก SMS
- เจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่มีการติดต่อโดยตรงไปที่ลูกหนี้ทุกกรณี และไม่มีการทำธุรกรรมโดยตรงกับประชาชน
- หากมีเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนจากเจ้าหนี้ ติดต่อท่าน แนะนำให้สอบถาม "เลขที่คำขอ" กับเจ้าหน้าที่ที่ติดต่อมา เพื่อตรวจสอบว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริง ก่อนให้ข้อมูลส่วนตัว
- หากสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร.1213
ข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<