"หมอจุฬาฯ" แนะการเตรียมการรับมือคนเข้าประเทศอย่างรัดกุมก่อนเปิด travel bubble
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่องการเตรียมการสำหรับการนำคนเข้าประเทศโดยระบุว่า
“การเตรียมการสำหรับคนเข้าประเทศอย่างรัดกุมแน่นหนา
ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ดร ภก อนันต์ชัย อัศวเมฆิน
17/6/63
ทั้งคนไทย นักธุรกิจ และในอนาคต เมื่อจับคู่กับประเทศที่เข้มแข็งเป็น travel bubble
ตรวจ 5 วัน ก่อนเข้าไทย
ตรวจ 1 วัน ก่อนเข้าไทย
เข้าไทยแล้ว กักกัน วันที่ 4-5 ตรวจซ้ำ
ตรวจด้วย อะไร?
ด้วยการหาเชื้อ แยงจมูก
และ/หรือ
ด้วยการเจาะเลือด หาว่าเคยติดเชื้อมาหมาดๆ หรือตั้งแต่ 12-14 วันมาแล้ว
ถ้า เลือดได้ผลลบ ก็เลิกกักตัว และ ออกจากกักกัน โดยแน่นอนยังต้องหน้ากาก ล้างมือตามปกตื ระยะห่าง
ถ้าแลือดบวก แบบ ติดมาระยะ 12-14 วันแล้ว ตรวจเชื้อ แยงจมูก ถ้าได้ผลลบ ก็ปลอดภ้ย
ถ้าเลือดบวก แบบ ติดมาหมาดๆ กักตัว 14 วัน และตรวจเชื้อแยงจมูก เมื่อครบ 14 วัน ถ้าเป็นลบ เลิกกักกัน
หมายเหตุ:
1-การตรวจเลือดที่เป็นมาตรฐานคือ elisa ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่สภากาชาดไทย ใช้เวลาประมาณครึ่งวัน
2-การตรวจที่ได้ผลเร็วเป็นนาทีต้องการการตรวจที่ไวที่สุดเพื่อไม่ให้หลุด โดยใช้ ชุดตรวจของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดังนั้นผลบวกที่ได้จะมีทั้งติดเชื้อโควิด-19 จริงและที่เกิดจากสาเหตุอื่น นั่นก็คือมีโรคเรื้อรังบางอย่างซ่อนอยู่เช่นโรคตับหรือโรคข้อเป็นต้น
ซึ่งหมายความว่าต้องตรวจสุขภาพอย่างอื่นต่อ
3- ผลบวกจากการตรวจเลือด ไม่จำเป็นต้องได้ผลบวกจากการแยงจมูกในวันเดียวกัน
•แยงจมูก คือหาเชื้อ
•ตรวจเลือดคือการรับรู้ว่ามีการติดเชื้อไปแล้ว