รีเซต

วันที่ 7 เดือน 7 ช้อปออนไลน์! สายช้อปได้ของไม่ตรงปกทำยังไงดี?

วันที่ 7 เดือน 7 ช้อปออนไลน์! สายช้อปได้ของไม่ตรงปกทำยังไงดี?
TrueID
7 กรกฎาคม 2566 ( 09:52 )
563

ข่าววันนี้ วันที่ 7 เดือน 7 เทศกาลช้อปออนไลน์มาอีกแล้ว! สายช้อปทั้งหลายจะพลาดดีลสุดคุ้ม โปรโมชั่นสุดฮอตของเหล่าแบรนด์สินค้าต่าง ๆ หรือของมันต้องมีต้องอยากได้มาติดบ้านไว้ จะไปร้านค้าก็เสี่ยงโควิดติดมือกลับบ้าน ไม่ปลอดภัยทั้งตัวเองและคนในครอบครัว จะสั่งซื้อของผ่านตลาดอี-คอมเมิร์ซ ทั้ง ช้อปปี้ (Shoppe) ลาซาด้า (LAZADA) ฯลฯ นักช้อปทั้งหลายอย่ามัวแต่ดูเฟชรเซลกับหลากโปรโมชั่นสุดคุ้มที่โฆษณามาล่อตาล่อใจจนห้ามใจไม่อยู่ต้องกดสั่งซื้อมา เพราะถ้าใครใช้โค้ดส่วนลดกดทันนั่นเท่ากับเซฟเงินในกระเป๋าที่ไม่ต้องจ่ายราคาเต็มได้อีกด้วย

 

วันที่ 7 เดือน 7 ช้อปออนไลน์! สายช้อปได้ของไม่ตรงปกทำยังไงดี?

 

แต่สิ่งที่สายช้อปออนไลน์ต้องระวังอย่างมาก เพราะมีเคสต่าง ๆ เกิดขึ้นมาให้เห็นเมื่อสินค้าที่สั่งผ่านออนไลน์กลับได้ของ "ไม่ตรงปก" "ได้ของไม่คาดคิด" "ได้ของผิดคาดจากสิ่งที่วาดไว้" หรือ "ได้ของที่ไม่ตรงกับรายละเอียดที่ทางร้านค้าโฆษณา" ซึ่งห้ามมองข้ามหรือปล่อยเลยตามเลยเด็ดขาด เนื่องจากหากวิเคราะห์กันดี ๆ บางครั้งสั่งซื้อของออนไลน์แล้วไม่ตรงปกอาจเป็นมิจฉาชีพที่แฝงเข้ามาขายสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ หลอกเก็บเงินปลายทาง หรือได้ของที่ตรงข้ามกับสิ่งที่สั่ง เช่น สั่งซื้อไอโฟน 14 แต่ได้กลับมาเป็นก้อนหิน

 

ดังนั้น "จะปล่อยผ่านไม่ได้" หากลองนั่งนึกภาพตามกันนะ มีคนสั่งซื้อไอโฟน 14 ทั้งหมด 14 คน แล้วเกิดไม่ตรงกับรายละเอียดของสินค้าที่อยู่บนเว็บไซต์ 

 

  • ไอโฟน 14 ราคา 40,000 บาทต่อเครื่อง
  • 14 (เครื่อง) x 40,000 (ราคาไอโฟน) รวม 560,000 บาท

 

นั่นเท่ากับว่ามีสายช้อปออนไลน์ที่ถูกได้ของไม่ตรงปก รวมแล้วต้องสูญเสียเงินหากปล่อยผ่าน ไม่อยากจัดการเพราะมองเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ถ้าดูจำนวนตัวเลขข้างล่างคงต้องกลับมาคิดกันใหม่

 

  • 14 คน สูญเงิน 560,000
  • 20 คน สูญเงิน 800,000
  • ฯลฯ

 

โอ้โฮ้! ตัวเลขไม่ใช่น้อย ๆ เลยใช่ไหม หากทุกคนมองข้าม มองว่าไม่เป็นอะไร หรือหากพยายามติดต่อร้านค้าให้รับผิดชอบสินค้าที่สั่งซื้ออนไลน์แล้วกลับนิ่งเฉย ไม่แก้ไข ไม่เปลี่ยนสินค้า ไม่คืนเงินมาให้ วันนี้ TrueID รวบรวมข้อมูลให้เหล่าสายช้อปออนไลน์ทั้งหลายที่เจอโปรโมชั่น 11.11 หรือ 12.12 แคปเปญดีลสุดคุ้มดึงดูดใจ แล้วได้สินค้าไม่ตรงปก มาศึกษาข้อความระวังและวิธีการรับมือในการเจอกรณีที่เป็นมิฉาชีพต้องทำอย่างไรบ้าง มาม่ะ มาเติมความรู้ให้เท่าทันคนขายที่ขาดจรรยาบรรณกันเลย

 

ช้อปออนไลน์ วันที่ 7 เดือน 7 ได้ของไม่ตรงปก รีบทำตามวิธีนี้

1. อันดับแรกเมื่อได้รับสินค้าอย่าลืมถ่ายวิดีโอทุกขั้นตอนในการเปิดดูสินค้าภายในที่ทางร้านค้าแพ็คมา เพื่อเป็นหลักฐานในการเจรจาต่อรองกับร้านค้า เมื่อเจอสินค้าที่ได้รับ "ไม่ตรงปก"

2. ติดต่อร้านค้าหรือแพลตฟอร์มที่เราสั่งของทั้นที ส่งหลักฐานเพื่อตกลงเจรจาในการขอเปลี่ยนสินค้า หรือขอคืนเงิน  

3. หากไม่สามารถตกลงกับคนขายได้ผ่านทางข้อความ หรือการพูดคุยกัน ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยหรือสนทนาผ่านแชท รวบรวมหลักฐานดังต่อไปนี้ 

 

  • ใบสั่งซื้อสินค้าหรือคำสั่งซื้อสินค้า
  • ข้อความสนทนาการซื้อสินค้าระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย
  • ข้อมูลร้านค้า
  • หลักฐานการชำระเงิน
  • ถ่ายรูปสินค้าและเก็บสินค้าไว้เป็นหลักฐาน
  • นำหลักฐานทั้งหมดแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษที่สถานีตำรวจท้องที่ เพื่อเป็นหลักฐาน

 

4. เดินทางแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ อย่าปล่อยผ่าน เพื่อให้ร้านค้าไม่ทำผิดซ้ำซาก และยังเป็นการช่วยหยุดภัยการช้อปออนไลน์ได้อีกด้วย อย่างน้อยไม่ให้สายช้อปคนอื่นต้องตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์

 

นอกจากร้องทุกที่สถานีตำรวจให้ช่วยจัดการแล้ว ยังมีหน่วยงานที่เราสามารถขอความช่วย หรือขอคำปรึกษาได้ เห็นแล้วรีบ save เก็บไว้เลยนะ 

 

1. ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212  ข้อมูลข่าวสาร 1212 OCC โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) พร้อมให้คำแนะนำ คำปรึกษาปัญหาที่เกิดจากการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ เป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือในการรับ-ส่ง การแจ้งเบาะแส หรือเรื่องร้องเรียนออนไลน์ ระหว่างหน่วยงานความร่วมมือ ตลอดจนให้คำแนะนำ คำปรึกษา และประสานไปยังผู้เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา เช่น การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาที่เกิดจากการซื้อขายทางออนไลน์ ภัยคุกคามไซเบอร์ ตลอดจนปัญหาทางออนไลน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ช่องทางติดต่อ

  • สายด่วนหมายเลข 1212 
  • อีเมล : 1212@mdes.go.th

 

2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับเรื่องร้องเรียนปัญหาด้านอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเครื่องสำอางไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้รับใบอนุญาต หรือมีอันตรายต่อผู้บริโภค ตลอดจนการโฆษณาส่งเสริมการขายทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดสาระสำคัญ สายช้อปสาว ๆ ลิสต์ไว้เลยนะ

 

ช่องทางติดต่อ

  • สายด่วน 1556 
  • อีเมล: complain@fda.moph.go.th

 

3. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ โดยเน้นการคุ้มครองให้ผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาเกินจริงต้องติดฉลากสินค้าอันตรายและสัญญาที่ทำกับผู้บริโภคที่ไม่เป็นธรรม และอยู่ในอำนาจที่ สคบ. เข้าไปดูแลได้

 

ช่องทางติดต่อ

  • สายด่วน 1166 
  • อีเมล : consumer@ocpb.go.th

 

4. กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กำกับดูแลและสอดส่องพฤติกรรมการใช้เครื่องชั่ง ตวง วัด ในการซื้อ หรือขายสินค้าอุปโภคให้เกิดความเป็นธรรม การกำหนดราคาสินค้า และรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับราคา ปริมาณสินค้า และความไม่เป็นธรรมทางการค้า

 

ช่องทางติดต่อ

  • สายด่วน 1569 
  • อีเมล: 1569@dit.go.th

 

5. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) รับเรื่องร้องเรียน ให้คำแนะนำ คำปรึกษาด้านปัญหาสินค้าและบริการทั่วไปที่เกิดจากการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ การแก้ปัญหากับคู่กรณี และขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ มาแก้ปัญหา รวมทั้งให้การช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

 

ช่องทางติดต่อ

 

 

ช้อปออนไลน์แล้วเจอสินค้าไม่ตรงปก อย่าโพสต์เตือนภัย เสี่ยงเจอโทษ

สายช้อปออนไลน์ทั้งหลายเมื่อพบว่าสินค้าที่สั่งซื้อนั้นไม่ตรงกับที่ได้สั่งซื้อไว้ ห้ามหัวร้อน หรือเจตนาดีที่อยากจะเตือนภัยให้คนอื่นได้ระวังตัว โดยผ่านโซเชียลต่าง ๆ เช่น โพสต์ลงเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ฯลฯ อาจเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีกลับได้ง่าย ๆ ด้วย 2 ข้อหาหลัก คือ

 

  • ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ถ้าฝ่ายผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่เราโพสต์ลงไปบิดเบือนข้อมูลไปจากความเป็นจริง มีข้อมูลที่เป็นเท็จปรากฏอยู่ อาจโดนกล่าวหาว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. นี้

 

  • หมิ่นประมาท ถ้าการโพสต์ข้อความแสดงทัศนคติเชิงลบ ดูถูกดูแคลนผู้ขายจนเกินไป อาจทำให้เราโดนฟ้องข้อหานี้ได้

 

สิ่งที่ต้องทำมากที่สุดคือแจ้งความกับตำรวจหรือร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นการดีที่สุดนะ

 

ขายของออนไลน์ไม่ตรงปก ใครบอกไม่มีโทษ อย่าไปเชื่อ

ผู้ขายที่ขายสินค้าหากมีคุณภาพดี ตรงตามปกไม่ต้องกลัวอะไร แต่ใครที่จะใช้ช่องทางออนไลน์ขายสินค้าไม่ตรงปกล่ะก็ มีโทษด้วยนะ คือ

 

  • ฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้ แจ้งให้ทราบ มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มีอายุความ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด ดังนั้น หากรู้ตัวว่าถูกโกงให้รีบแจ้งความภายใน 3 เดือน)

 

  • ขายของโดยหลอกลวง มาตรา 271 หลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้น ซึ่งการหลอกลวงนี้อาจเป็นการหลอกลวงโดยวาจาหรือกิริยาก็ได้ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

เอาล่ะสายช้อปออนไลน์ทั้งหลายอัพเลเวลความรู้กันแล้ว เตรียมไปช้อปโปรโมชั่น 11.11 สุดคุ้ม จัดหนักของเหล่าแต่ละแบรนด์ หรือช้อปตลาดอีขคอมเมิร์ซสุดฮอตต่าง ๆ สิ่งสำคัญคือ อย่าช้อปจนลืมตัว เดี๋ยวจะเสียใจทีหลังว่ารู้งี้ไม่น่าซื้อมาเสียดายเงิน เอาที่พอประมาณ

 

และอย่าลืมได้ของไม่ตรงปกนำวิธีที่ TureID แนะนำไปปรับใช้ เพื่อป้องกันสิทธิของผู้บริโภคอย่างเรา ๆ อย่าให้คนขายที่ขาดจรรยาบรรณขายสินค้าที่ไม่มีคุณภาพเด็ดขาด อย่าให้สายช้อปออนไลน์คนอื่นต้องมา "ตกเป็นเหยื่อ" ของเหล่ามิจฉาชีพที่แฝงมาเป็นพ่อค้าแม่ค้า

 

ส่วนพ่อค้าแม่ค้าควรมีจรรยาบรรณ รักษาคุณภาพ รักษามาตรฐานจะได้มีลูกค้ามากขึ้น มั่นใจมากขึ้น สุดท้ายลูกค้านี่แหละจะบอกต่อสินค้าของเรา จนทำให้เรามีผู้ซื้อมากขึ้นอีกด้วย

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง