รีเซต

อินโดฯ เตรียมตรวจโควิด-19 จาก "ลมหายใจ" ให้ผลใน 2-3 นาที

อินโดฯ เตรียมตรวจโควิด-19 จาก "ลมหายใจ" ให้ผลใน 2-3 นาที
TNN ช่อง16
28 ธันวาคม 2563 ( 16:47 )
240
อินโดฯ เตรียมตรวจโควิด-19 จาก "ลมหายใจ" ให้ผลใน 2-3 นาที

วันนี้ (28 ธ.ค.63) GeNose C19 ซึ่งพัฒนาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Gadjah Mada ในประเทศอินโดนีเซีย โดยศาสตราจารย์ Kuwat Triyana ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ได้วิจัยวิธีการตรวจเชื้อด้วย “ลมหายใจ” ขึ้นมา เพื่อเร่งทำการตรวจเชื้อเป็นวงกว้างในที่สาธารณะ เช่น สนามบิน, สถานีรถไฟ หรือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่มีผู้คนจำนวนมาก หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียได้ทำการอนุมัติการใช้งานได้เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา 

สำหรับการตรวจเชื้อ 1 คน จะใช้เวลาราว 3 นาที ซึ่งรวมถึงการเก็บลมหายใจด้วย นั่นหมายความว่า รอผลเพียงแค่ 2 นาทีเท่านั้น ในราคาราว 15,000-25,000 รูเปียห์ หรือราว 45-75 บาท 

วิธีการคือ ใน 1 ชุดการตรวจ จะตรวจราว 100 ในชุดเดียวกัน โดยคาดว่าจะได้วันละราว 120 ชุดตรวจ ซึ่งน่าจะตรวจคนได้ราววันละ 12,000 คน และจะพัฒนาชุดตรวจเชื้อต่อไป ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจได้ราว 1.2 ล้านคนใน 1 วัน ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ 

ดร.คูวัต กล่าวว่า แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เป้าหมายสุดท้าย แต่ยิ่งเราตรวจได้มากเพียงใด ก็จะยิ่งทำให้ติดตามผู้คนใกล้ตัวที่ไม่มีอาการ ให้เข้ารับการกักตัวได้เร็ว เพื่อจะได้ตัดวงจรการแพร่เชื้อได้เร็วเท่านั้น 

ปัจจุบันมีบริษัทอย่างน้อย 5 แห่ง ที่ประกาศสนับสุนนการผลิตและจัดจำหน่ายชุดตรวจประเภทนี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และกระทรวงวิจัยและเทคโนโลยีของประเทศ 


PHOTO:GADJAH MADA UNIVERSITY

คำถามคือ การตรวจแบบนี้ให้ผลตรงจริงหรือ? 

แน่นอนว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณะสุขจากทั่วโลกยังไม่ได้ให้การรับรองวิธีการดังกล่าว เพราะแม้กระทั่งวิธีการที่เรียกว่า rapid test หรือการตรวจเชื้อแบบรวดเร็ว เพื่อตรวจระดับแอนติบอดี้ในร่างกาย ก็ยังพบว่ามีความคลาดเคลื่อนอย่างมาก ดังนั้นทั่วโลกจึงยังคงแนะนำให้ตรวจเชื้อแบบ PCR หรือการนำตัวอย่างจากลำคอไปเข้าห้องแลป ตามที่ WHO เสนอแน่

แต่วิธีการดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง คือ เกือบ 2 ล้านรูเปียห์ หรือกว่า 4,000 บาท ซึ่งทำให้คนไม่กล้าเข้ารับการตรวจเชื้อ ส่งผลให้การแพร่เชื้อเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง 

ดร.วิญญู เพอร์โนโม นักระบาดวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแอร์ลังกา บนเกาะสุราบายา เปิดเผยว่า การใช้ลมหายใจก็คล้ายกับวิธีการอื่น ๆ ที่เป็นการตรวจแบบสกรีน (ตรวจคัดกรอง) คือการใช้ในการตรวจคัดกรองผู้คนจำนวนมาก แต่ไม่ควรนำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์ผลรายบุคคล 

GeNose เป็นวิธีการตรวจแบบรวดเร็ว และราคาถูก เหมาะกับการตรวจคัดกรอง โดยเฉพาะสำหรับการเดินทาง 

ทั้งนี้ อินโดนีเซียยังคงพบผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตอันดับ 1 ของอาเซียน โดยติดเชื้อสะสม 713,365 คน และเสียีวิต 21,237 คน โดยติดเชื้อราวนันมากกว่า 7,000 คน

โดยที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อในจำนวนที่เทียบเท่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก คือราว 270,000 คน ใน 1 สัปดาห์  โดย WHO ตั้งเป้า 1,000 คน ต่อ 1 ล้านประชากร ใน 1 สัปดาห์

แต่ ดร.วิญญู นักระบาดวิทยาก็ยังมองว่าอินโดฯควรตรวจมากกว่านี้ เพื่อดึงเส้นกราฟให้ลดลงให้ได้  เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อที่แท้จริงอาจสูงกว่าที่รายงานรายวันมากถึง 6 เท่าตัว คืออาจติดเชื้อรายวันกว่า 40,000 คน เนื่องจากเชื่อว่ายังมีผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการอยู่อีกมาก 


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง