รีเซต

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พฤษภาคม ประวัติวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พฤษภาคม ประวัติวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก
TrueID
1 พฤษภาคม 2565 ( 23:06 )
53

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) 3 พฤษภาคม เป็นวันซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อต้องการย้ำให้เห็นถึงเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก คือเสรีภาพในการคิดและการแสดงออก เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เสนอข้อเท็จจริงโดยเสรีและปลอดภัย

 

ประวัติวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) ก่อตั้งโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก หรือวันสื่อมวลชนโลกตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเสรีภาพสื่อและย้ำเตือนรัฐบาลถึงหน้าที่เคารพและสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 19 และเป็นเครื่องหมายวันครบรอบปฏิญญาวินด์ฮุก ซึ่งเป็นคำแถลงหลักสื่อมวลชนเสรีซึ่งนักหนังสือพิมพ์ชาวแอฟริการวบรวมไว้ในปี พ.ศ. 2534

 

 

ขณะที่ในวันดังกล่าว องค์การยูเนสโกได้นำเสนอรางวัลเสรีภาพสื่อโลกยูเนสโก/กีลเลร์โม กาโน (UNESCO/Guillermo Cano World Press Freedom Prize) แก่ปัจเจกบุคคล องค์การ หรือสถาบันที่สมควรซึ่งมีส่วนในการปกป้อง และสนับสนุนเสรีภาพสื่อทุกหนแห่งบนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการเผชิญอันตราย ซึ่งรางวัลดังกล่าวตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 และมอบให้ตามคำแนะนำของคณะลูกขุนอิสระ ซึ่งเป็นวิชาชีพข่าว 14 คน องค์การนอกภาครัฐทั้งระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศซึ่งทำงานด้านเสรีภาพสื่อมวลชน และรัฐสมาชิกยูเนสโกเป็นผู้เสนอชื่อผู้เข้าชิงรางวัล

 

ด้านองค์กร Reporters Without Borders รายงานว่า การเคารพเสรีภาพสื่อนั้นลดลงจนน่ากลัวทั้งในระดับโลกและในระดับภูมิภาค ในขณะที่หน่วยงาน Committee to Protect Journalists รายงานว่าในปี 2560   มีนักข่าว 46 คน ถูกฆ่าขณะปฏิบัติหน้าที่ และหน่วยงาน The International News Safety Institute รายงานว่า ในปี 2561 มีนักข่าวถูกฆ่าในขณะปฏิบัติหน้าที่จำนวน 33 คน แบ่งออกเป็นทวีปอเมริกา 10 คน เอเชีย 22 คน และ ยุโรป 1 คน 

 

อย่างไรก็ตาม นักข่าวบางรายเสียชีวิตเพราะต้องเข้าไปทำข่าวในพื้นที่อันตราย เช่น  พื้นที่ที่มีการสู้รบ หรือพื้นที่ที่ถูกควบคุมโดยผู้ค้ายาเสพติด หรือองค์กรอาชญากรรม ในขณะที่นักข่าวบางรายเสียชีวิตเพราะถูกกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการเมือง หรือศาสนาฆ่าปิดปากเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นภัยต่อตัวเอง

 

ทั้งนี้ ข้อมูลของหน่วยงาน The International News Safety Institute ยังระบุอีกว่า ในปี 2561 มีประเทศที่มีนักข่าวเสียชีวิตมากที่สุด 5 ประเทศ คือ อัฟกานิสถาน ซีเรีย เอกวาดอร์ อินเดีย และเม็กซิโก โดยทุก ๆ วันนักข่าวทั่วโลกต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากการข่มขู่ การเซ็นเซอร์ การกักขัง และการใช้ความรุนแรงซึ่งรวมถึงการถูกทรมาน เพียงเพราะพยายามที่จะรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้สังคมได้รับรู้

 

ที่มาข้อมูล : Wikipedia

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง