รีเซต

ความขัดแย้งและอาวุธมือสอง สู่เครื่องมือขยายอิทธิพลของสหรัฐฯ​

ความขัดแย้งและอาวุธมือสอง สู่เครื่องมือขยายอิทธิพลของสหรัฐฯ​
TNN ช่อง16
25 พฤษภาคม 2565 ( 14:47 )
74
ความขัดแย้งและอาวุธมือสอง สู่เครื่องมือขยายอิทธิพลของสหรัฐฯ​

สำนักข่าว Global Times รายงานว่า การที่สหรัฐฯ พึ่งพาการขายอาวุธมือสอง เพื่อขยายอิทธิพลในภูมิภาคต่าง  ที่เกิดความขัดแย้ง อาจเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ก่อการร้ายและอาชญากร แทนที่จะช่วยเหลือพันธมิตร


---ยุทธศาสตร์คานอำนาจจีน---


ในการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียนที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ได้ให้คำมั่นว่าจะส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเจตนาชัดเจนที่จะนำอาเซียนเข้าสู่ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่มุ่งคานอำนาจจีน


ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ภายใต้นโยบายปักหมุดเอเชีย หรือ Pivot to Asia และยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก สหรัฐฯ ได้ใช้การขายยุทโธปกรณ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาวุธมือสอง เป็นเหยื่อล่อเพื่อขยายอิทธิพลและแทรกซึมเข้าไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


อาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ ที่เลิกใช้แล้ว กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก ไม่เพียงแต่สร้างกำไรมหาศาล และเป็นเครื่องมือแทรกแซงกิจการในภูมิภาคให้กับสหรัฐฯ แต่ยังนำความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมาสู่ผู้ใช้ในวงกว้างอีกด้วย หรือแม้กระทั่งรั่วไหลไปสู่ตลาดมืด และจบลงด้วยการถูกผู้ก่อการร้ายและอาชญากรครอบครอง


---อาวุธมือสองที่สร้างปัญหาให้ทั่วโลก---


เมื่อวันอาทิตย์ (22 พฤษภาคมผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารกล่าวกับ Global Times ว่า สหรัฐฯ ได้จัดตั้งระบบพันธมิตรทางทหารขึ้นทั่วโลก เป็นรากฐานสำคัญสู่อำนาจในระดับโลก


แต่ใช่ว่าพันธมิตรทั้งหมดของสหรัฐฯ จะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก หรือ AI แบบเดียวกับกลุ่มความร่วมมือไตรภาคีออคัส เนื่องจากพันธมิตรส่วนใหญ่จะได้รับแต่อุปกรณ์มือสองที่เลิกใช้แล้วเท่านั้น 


Kyodo News รายงานในเดือนมกราคมว่า หลังอิหร่านยิงโดรน RQ-4 Global Hawk ของสหรัฐฯ ในปี 2019 ซึ่งเผยให้เห็นจุดอ่อนเรื่องศักยภาพ สหรัฐฯ ก็กระตือรือร้นที่จะปลดประจำการอุปกรณ์ที่ล้าสมัยชิ้นนี้ในทันที


แต่ไม่ได้กำจัดทิ้ง โดยเลือกขายให้ญี่ปุ่นเพื่อทำกำไรสูงสุด ด้วยมูลค่าถึง 61,300 ล้านเยน (ราว 16,410 ล้านบาทส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและบำรุงรักษาอยู่ที่ 13,000 ล้านเยนต่อปี (ราว 3,480 ล้านบาท)


UPI รายงานว่า ในปี 2017 เกาหลีใต้ก็ตกเป็นเหยื่ออาวุธมือสองของสหรัฐฯ โดยรัฐบาลในยุคอดีตประธานาธิบดี ปาร์ค กึน-ฮเย ซื้อเฮลิคอปเตอร์ Chinook CH-47D กว่า 12 ลำในราคาสูงถึง 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 4,433 ล้านบาทแต่เฮลิคอปเตอร์เหล่านี้มีอายุกว่า 45 ปี และไม่ได้ติดตั้งระบบนำทาง หรือระบบเตือนขีปนาวุธ 


---อาวุธที่ “อดีต” เคยล้ำสมัย---


ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นอกจากการใช้อาวุธมือสองเพื่อสร้างผลกำไรที่ไม่สามารถจินตนาการได้แล้ว สหรัฐฯ ยังใช้อาวุธเหล่านี้ สร้างปัญหาไปทั่วโลกและตอบสนองเป้าหมายทางภูมิรัฐศาสตร์ของตนเองด้วย


ความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯ และพันธมิตร ได้นำไปสู่ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ ซึ่งส่งผลกระทบลึกซึ้งต่อสถานะของความมั่นคงในภูมิภาค และยุทธศาสตร์ระดับโลก


สหรัฐฯ ยังคงจัดหาอาวุธให้ไต้หวัน แม้จะกล่าวว่าไม่สนับสนุน “เอกราชของไต้หวัน” แต่อาวุธที่ล้าสมัยของสหรัฐฯ เช่น เรือพิฆาตชั้น Kidd และเรือรบชั้น Perry ถูกส่งไปไต้หวันด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงมาก


CNN รายงานว่า ในปี 2019 สหรัฐฯ อนุมัติการขายอาวุธมูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 75,105 ล้านบาทแก่เกาะแห่งนี้ ซึ่งรวมถึงรถถัง M1A2T Abrams 108 คัน แต่นักวิเคราะห์แย้งว่า ราคาสูงเกินไป และรถถังประเภทนี้ ไม่น่าจะเข้ากันได้กับภูมิประเทศของไต้หวัน


ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารของจีน กล่าวกับ Global Times ว่า สหรัฐฯ เป็นที่รู้จักด้านการพัฒนาอาวุธที่ล้ำหน้าที่สุดในโลกมาโดยตลอด ทำให้อาวุธล้าสมัยบางส่วนยังคงเป็นอาวุธชั้นนำในสายตาของบางประเทศ 


ดังนั้น อาจเป็นการต่อรองที่ดี หากสหรัฐฯ ขายให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในราคาพิเศษ อย่างไรก็ตาม การขายอาวุธของสหรัฐฯ มักมาพร้อมกับข้อผูกมัดทางการเมือง 


---ความขัดแย้งที่สร้างผลกำไร---


สำนักข่าว Xinhua รายงานว่า ปัญหาทางเทคนิคเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญในการขายอาวุธมือสองของสหรัฐฯ โดยเมื่อปี 2021 มีผู้เสียชีวิต 53 ราย และบาดเจ็บอีก 50 ราย หลังเครื่องบินขนส่ง C-130 ของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ ตกเมื่อเดือนกรกฎาคม นับเป็นภัยพิบัติทางอากาศในทางทหารครั้งร้ายแรงที่สุดของประเทศในรอบ 30 ปี 


ขณะที่ กองทัพอากาศของไทยและอินโดนีเซีย ประสบอุบัติเหตุหลายครั้ง จากการใช้เครื่องบินขับไล่ F-16 มือสองของสหรัฐฯ ด้าน Xinhua อ้างคำพูดของผู้เชี่ยวชาญชาวไทยและชาวอินโดนีเซีย ซึ่งกล่าวว่า สหรัฐฯ เรียกเก็บค่าบำรุงรักษาอาวุธเก่าเหล่านี้ ด้วยราคาสูง เนื่องจากมีเพียงผู้ผลิตในสหรัฐฯ เท่านั้นที่มีอะไหล่ 


อินเดียซึ่งใช้อาวุธและยุทโธปกรณ์ของรัสเซียมานานแล้ว แต่สหรัฐฯ พยายามอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง ที่จะส่งเสริมสินค้าของตนแทนที่รัสเซีย 


มีรายงานว่า ในปี 2019 อินเดียซื้ออาวุธมือสองของสหรัฐฯ เป็นจำนวนมาก เช่น เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ Seahawk 24 MH-60R ในราคา 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 88,683 ล้านบาทและชุดฉนวนกันความร้อนที่ใช้ในสภาพอากาศหนาวจัด ซึ่งทหารอินเดียรายงานในภายหลังว่า เป็นสินค้ามือสอง


แม้ว่าสหรัฐฯ จะขายอาวุธเหล่านี้ภายใต้ชื่อแห่งการปกป้องสันติภาพ แต่ Global Times ชี้ว่า สหรัฐฯ หวังที่จะสร้างสงครามมากขึ้น เพื่อให้ผู้ค้าอาวุธของสหรัฐฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น 


ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ตั้งแต่สงครามในอัฟกานิสถานสู่วิกฤตซีเรีย และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ไปจนถึงวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน บริษัทอาวุธและนักการเมืองอเมริกันมักอยู่ในที่เหล่าเสมอ เก็บเกี่ยวทุกอย่างที่พวกเขาสามารถทำได้ แลกมาด้วยความกลัว การไร้ที่อยู่อาศัย และการเสียชีวิตของคนในท้องถิ่น


---เมื่ออาวุธตกอยู่ในมือผู้ก่อการร้าย---


ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า สหรัฐฯ ล้มเหลวในการควบคุมการถ่ายโอนอาวุธของตน บางส่วนจบลงที่ตลาดมืดและตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่หวังดี รวมทั้งผู้ก่อการร้ายและอาชญากร นำความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมาสู่โลกใบนี้


NBC News อ้างรายงานโดย Conflict Armament Research ซึ่งเป็นองค์กรติดตามอาวุธอิสระในปี 2017 ว่า อาวุธบางชิ้นที่กองทัพสหรัฐซื้อในปี 2015 ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มไอเอส 


หลังรัฐบาลสหรัฐฯ จัดหาอาวุธให้กับกลุ่มติดอาวุธซีเรีย เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลอัสซาด และช่วยเหลือกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย หรือ SDF ในการต่อสู้กับรัฐอิสลาม แต่รายงานระบุว่า ขีปนาวุธต่อต้านรถถังตกอยู่ในมือกลุ่ม ISIS ในเวลาเพียง 59 วัน 


รายงานอีกฉบับโดย CNN ในปี 2019 ระบุว่า อาวุธของสหรัฐฯ ที่มอบให้กับซาอุดีอาระเบียและพันธมิตร กลับตกอยู่ในมือกลุ่มอัลกออิดะห์ รวมถึงปืนไรเฟิลจู่โจมและขีปนาวุธต่อต้านรถถังด้วย


บทความใน Washington Post ระบุว่า ช่วงที่อาวุธจำนวนมากจากสหรัฐฯ และพันธมิตรมุ่งหน้าไปยังยูเครน กลับจุดความกังวลอีกครั้ง เกี่ยวกับอุปกรณ์ทางทหารที่อาจสูญหายในยูเครน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าอาวุธที่มีมาช้านาน 


---สร้างสันติภาพแก่ผู้ใด?---


ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา “ลัทธินีโอนาซี” ซึ่งพัวพันกับประชานิยมและการเหยียดเชื้อชาติได้เติบโตทั่วยุโรปตะวันออก รวมทั้งในประเทศอย่างยูเครน ภายใต้การคุ้มครองของสิ่งที่เรียกว่า เสรีภาพ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนของตะวันตก ซึ่งเป็นภัยต่อสังคม ก่อให้เกิดความรุนแรง ความเกลียดชัง และความวุ่นวาย


สถาบัน Cato หน่วยงานด้านความคิดในสหรัฐฯ กล่าวว่า การขายอาวุธโดยขาดความรับผิดชอบ จะเพิ่มความสามารถให้กับแก๊งอาชญากร กองกำลังติดอาวุธที่ไม่ได้รับการควบคุม และองค์กรก่อการร้าย ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น การพังทลายของกฎหมายและความสงบเรียบร้อย รวมถึงการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจ


ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวกับ Global Times ในวันอาทิตย์ (22 พฤษภาคมว่า สหรัฐฯ ต้องไตร่ตรองถึงกลยุทธ์และแนวทางการขายอาวุธของตน หากต้องการสร้างสันติภาพแก่โลกอย่างแท้จริง

————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง