รีเซต

ไม่ใช่แค่คดีแตงโม นิดา ใช้เครื่องจับเท็จ! ย้อนคดีดัง เมื่อเทคโนโลยีช่วยไล่ล่า 'คนร้าย'

ไม่ใช่แค่คดีแตงโม นิดา ใช้เครื่องจับเท็จ! ย้อนคดีดัง เมื่อเทคโนโลยีช่วยไล่ล่า 'คนร้าย'
TeaC
28 กุมภาพันธ์ 2565 ( 14:24 )
681
ไม่ใช่แค่คดีแตงโม นิดา ใช้เครื่องจับเท็จ! ย้อนคดีดัง เมื่อเทคโนโลยีช่วยไล่ล่า 'คนร้าย'

ข่าววันนี้ ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น! จากเหตุสลด "แตงโม นิดา" นักแสดงชื่อดังพลัดตกน้ำกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดคำถามมากมายและกลายเป็นคดีดังที่สังคมให้ความสนใจ ให้การติดตามต่อกระบวนการการสอบสวนของตำรวจ เนื่องจากตั้งแต่เกิดเหตุมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปในทำนองเกิดความ "สงสัย" และเกิดการตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ จากการเสียชีวิตนักแสดงชื่อดัง 

 

โดยล่าสุด ตำรวจได้เชิญตัวทั้ง 5 คนที่อยู่บนเรือลำเกิดเหตุ "แตงโม นิด" พลัดตกน้ำมาเข้า "เครื่องจับเท็จ" แล้ว ซึ่งคงต้องติดตามดูกันต่อว่า คดีแตงโม จะจบลงอย่างไร? และวันนี้ TrueID จะพาย้อนคดีดังต่าง ๆ ที่มีการใช้ "เทคโนโลยี" เข้ามาช่วยไล่ล่า "คนร้าย" หรือไขคดีดัง ๆ ให้ปรากฎความเป็นจริงกัน 

 

ย้อนคดีดัง! เมื่อเทคโนโลยีช่วยไล่ล่า 'คนร้าย'

 

1. คดีลุงพล คดีน้องชมพู่

 

 

หากใครยังจำคดีฆาตกรรมอันโด่งดังที่บ้านกกกอก อย่างคดีลุงพล หรือคดีน้องชมพู่ ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน ซึ่งตำรวจทำงานอย่างหนักในการแกะรอยข่าว ซึ่งนอกจากบรรดาหลักฐานต่าง ๆ ที่อยู่ในมือพนักงานสอบสวนแล้วยังมีการนำวิทยาการใหม่คือ การตรวจวิเคราะห์เส้นขน จำนวน 3 เส้น ด้วยเทคนิคการใช้รังสีเอกซเรย์จากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ปรากฏว่าผลออกมาสอดรับกับการเข้าเครื่องจับเท็จที่สรุปว่า นายไชย์พล มีพิรุธในการตอบคำถาม

 

เพราะอย่างที่รู้ ๆ กันดีว่าปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นนับวันยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น การสืบหาผู้กระทำความผิด หรือคนร้ายที่แท้จริงมาลงโทาตามกระบวนการยุติธรรมนั่นเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ดังนั้น การรวบรวมพยานหลักฐานให้มากที่สุด เพื่อมายืนยันให้สามารถพิสูจน์ความผิดได้ ต้องอาศัยการนำความรู้ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ การนำเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ๆ มาผสมผสานเพื่อไล่ล่าคนร้ายที่แท้จริง

 

โดยเทคโนโลยี "แสงซินโครตรอนกับการไขคดีทางนิติวิทยาศาสตร์" นั่น จะเห็นได้ในหลาย ๆ คดีที่ตำรวจนำมาใช้ในกระบวนการสืบสวนสอบสวน การค้นหาพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับคดีไม่ว่าจะเป็นรองเท้าแตะ ของเล่นน้องชมพู่ ถุงปุ๋ย แม้คดีนี้จะจบลงที่ผู้ต้องหาไม่ยอมเปิดปาก ไม่ยอมสารภาพว่า แรงจูงใจทำให้ตายมาจากอะไร แต่เชื่อได้ว่าพยาน หลักฐานการเชื่อมโยงจะสามารถมัดตัวฆาตกรเหี้ยมจนดิ้นไม่หลุดในที่สุดได้

 

2.  คดีหวย 30 ล้าน ครูปรีชา-หมวดจรูญ

เป็นอีกหนึ่มหากาพย์คดีโด่งดังของการแสดงความเป็นเจ้าของ "ลอตเตอรี่ 30 ล้าน" ซึ่งบทสรุปจบด้วยหลักฐานทางเทคโนโลยีในการสืบเสาะหลักฐานจนค้นพบว่า "หวย 30 ล้าน" เป็นของหมวดจรูญ โดยคดีดังกล่าวศุ้กันด้วยหลักฐานของแต่ละฝ่ายที่งัดขขึ้นมาสู้ เรื่องดังกล่าวกินระยะเวลาในการต่อสู้เวลาประมาณ 3 ปี กว่าเรื่องจะจบลง

 

โดยคดีดังกล่าวจบด้วยการนำเทคโนโลยีโทรคมนาคม ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยตำรวจได้เก็บข้อมูลการใช้งาน ได้แก่ วันเวลา ระยะเวลาการใช้งาน เป็นต้น และได้มีการใช้ ซอฟต์แวร์ ชื่อว่า XRY ซึ่งเป็นโปรแกรมดึงข้อมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางนิติเวช ประกอบด้วย

  1. ข้อมูลการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ติดต่อกัน ระยะเวลาการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละครั้ง การใช้แอปพลิเคชัน 
  2. ข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ ได้แก่ รายชื่อที่ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่บันทึกไว้
  3. ข้อมูลเสียง วิดีโอ และภาพ บันทึกเสียงสนทนา ถูกใช้เป็นตัวเอกของเรื่องนี้เพื่อตรวจสอบว่าครูปรีชาคุยกับพยานว่าอย่างไรบ้างทางโทรศัพท์เคลื่อนที่

สุดท้าย มหากาพย์หวย 30 ล้านจบลง สะท้อนให้เห็นถึงเทคโนโลยีที่ช่วยเปิดโปงความจริงได้

 

3. คดีแตงโม นิดา พลัดตกเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา

 

 

และมาถึงคดีดังที่สังคมให้ความสนใจถึงกระบวนการสอบสวนทั้งจากนิติวิทยาศาสตร์ ล่าสุดตำรวจได้เชิญ 5 คนบนเรือดังกล่าวเข้า "เครื่องจับเท็จ" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี อุปกรณ์ที่ต่อยอดมาจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งมีไว้สำหรับบันทึกชีพจรของผู้ป่วย ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจและเพื่อตรวจวัดสภาพผู้ป่วยในระหว่างการผ่าตัด ทั้ง

  • ตรวจวัดชีพจร
  • ความดันโลหิต
  • อุณหภูมิ
  • อัตราการหายใจ

และเครื่องนี้ใช้ในการสืบสวนสอบสวนในคดีน้องชมพู่ โดยลุงพลเคยเข้าเครื่องจับเท็จด้วยเช่นกัน 

 

โดยเครื่องจับเท็จ เปรียบเทียบกับภาวะปกติ ถ้าเส้นกราฟที่ได้มีการแกว่งหรือขึ้น ๆ ลง ๆ ที่ต่างกันมาก นั่นก็อาจจะชี้ได้ว่าผู้ที่ถูกตรวจสอบในขณะนั้นกำลังหลอกลวง แต่ว่าผลการตรวจสอบนั้นก็แล้วแต่ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจะตีความว่า นี่ใช่การโกหกหรือไม่

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันปัญหาอาชกรรมนับวันเพิ่มขึ้น การใช้เครื่องจับเท็จ หรือแสงซินโครตรอน เป็นต้น ล้วนถูกพัฒนาเพื่อให้การสืบสวนสอบสวน การหาหลักฐานที่พอจะเพิ่มให้การไล่ล่าตัวคนร้ายได้เร็วกว่า ก็ย่อมช่วยเร่งให้เกิดความยุติธรรมต่อเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อเร็วขึ้นตามด้วย

 

ภาพ : มติชน, ข่าวสด

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง