ประวัติ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เขาคือใคร? ทิ้งเก้าอี้กุนซือ จ่อชิงเก้าอี้นายกฯ คนที่ 30

ข่าววันนี้ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เขาคือใคร? ทิ้งเก้าอี้กุนซือ จ่อชิงเก้าอี้นายกฯ คนที่ 30 วันนี้จะพาไปรู้จักกับเขาคนนี้
ประวัติ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
สำหรับ ประวัติ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ชื่อเล่นว่า กวง เขาเกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2496 ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ฝั่งพระนครเป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน
ประวัติการศึกษา สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
- จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- จบการศึกษาปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์การคลัง และ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาโท MBA สาขาบริหารการเงิน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า
- ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ เน้นการจัดการด้านการตลาด ที่ Kellogg School of Management, มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา เขาได้รับการแต่งตั้งเป็น ศาสตราภิชาน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ครอบครัว
สมคิด สมรสกับ นางอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ (สกุลเดิม "ภิงคารวัฒน์") ในปี 2550 มีบุตร 3 คน ได้แก่
- ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ (สมรสกับ อาจารย์วณิศรา บุญยะลีพรรณ)
- ดร. ณพล จาตุศรีพิทักษ์ (สมรสกับ ภาวิณี ปราณีประชาชน)
- นาย ณฉัตร จาตุศรีพิทักษ์ เขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นาย ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อภิรดี ตันตราภรณ์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กับการทำงาน
- เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
- กรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- กรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริษัท เดอะ แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)
- ที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- กรรมการในอนุกรรมการพิจารณารับและเพิกถอนหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
- นายกสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- รองประธานคณะกรรมการกลาง มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
- กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เส้นทางทางการเมือง ของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
สมคิด ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นโยบายประชานิยม หรือนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างก็มาจากแนวความคิดของสมคิดเอง ในระหว่างการทำงานการเมืองได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ดี เพราะเก่งกาจ มีความเชี่ยวชาญสามารถคนหนึ่ง
หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้ทำการลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย หลังจากนั้นได้เป็นหนึ่งในตัวแทนกลุ่มมัชฌิมา หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างชาติโดยเฉพาะไทยกับญี่ปุ่น แต่เป็นได้เพียงไม่กี่วันก็ลาออกไป เนื่องจากแรงกดดันจากหลายฝ่าย
ต่อมาในปี 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 จากนั้นจึงร่วมในการก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพรรค
สมคิด ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย
- สมศักดิ์ เทพสุทิน
- สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
- สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
- สุวิทย์ คุณกิตติ
- สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
- สุรนันทน์ เวชชาชีวะ
- สนธยา คุณปลื้ม
- สรอรรถ กลิ่นประทุม
ส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
ประวัติการทำงานทางการเมือง
- เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ทนง พิทยะ)
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
- ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ศ.สม จาตุศรีพิทักษ์)
- ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร
- 17 กุมภาพันธ์ 2544 – 9 ตุลาคม 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- 9 ตุลาคม 2544 – 3 ตุลาคม 2545 รองนายกรัฐมนตรี
- 3 ตุลาคม 2545 – 8 กุมภาพันธ์ 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- 8 กุมภาพันธ์ 2546 – 9 มีนาคม 2547 รองนายกรัฐมนตรี
- 10 มีนาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- 11 มีนาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรี[5]
- 11 มีนาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- 2 สิงหาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[6]
- 15 กุมภาพันธ์ 2550 – 21 กุมภาพันธ์ 2550 ประธานคณะกรรมการประสานงานและกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ข้อมูล : วิกิพีเดีย
ภาพ : FB สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
กดเลย >> community แห่งความบันเทิง
ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี