ประวัติ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพัน เธอคือใคร? หลังประกาศลาออกจาก ส.ส. พรรคไทยสร้างไทย

ข่าววันนี้ คุณหญิงสุดารัตน์ คือใคร? หลังก่อนหน้านี้เธอเคยเป็น อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทยมาอย่างยาวนาน ล่าสุด คุณหญิงสุดารัตน์" ประกาศลาออกจาก ส.ส. พรรคไทยสร้างไทย วันนี้จะพาไปส่อง ประวัติ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพัน กัน
ประวัติ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพัน
สำหรับ คุณหญิงสุดารัตน์ ประวัติ น่าสนใจไม่แพ้นักการเมืองไทยคนใด เธอเกิด วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ใคร ๆ ก็เรียกเธอว่า หน่อย เป็นนักการเมืองสตรีชาวไทย อดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย เคยร่วมประท้วงในเหตุการณ์พฤษภา 2535 อดีตรัฐมนตรีเคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญทั้งในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร และ ชวน หลีกภัย
คุณหญิงสุดารัตน์ ไทยสร้างไทย
- ปัจจุบันเธอนั่งเก้าอี้เป็นประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย รวมถึงเป็นประธาน และผู้ก่อตั้งพรรคไทยสร้างไทย และหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย
คุณหญิงสุดารัตน์ ประวัติ ครอบครัว
เธอเป็นบุตรของสมพล เกยุราพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา และเรณู เกยุราพันธ์ สุดารัตน์สมรสกับสมยศ ลีลาปัญญาเลิศ นักธุรกิจชาวไทย มีบุตรชาย 2 คน และบุตรหญิง 1 คน
- ภูมิภัทร ลีลาปัญญาเลิศ (บอส)
- พีรภัทร ลีลาปัญญาเลิศ (เบสท์)
- ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ (จินนี่)
คุณหญิงสุดารัตน์ ผลงาน การเมือง
สุดารัตน์ เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 12 พรรคพลังธรรม (บางเขน, หลักสี่, ดอนเมือง, สายไหม, มีนบุรี, หนองจอก, คลองสามวา)
ต่อมาในปลายปีเดียวกันได้มีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 พรรคพลังธรรม (ลาดพร้าว, วังทองหลาง, บางกะปิ, บึงกุ่ม, คันนายาว, สะพานสูง) และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของชวน หลีกภัย หรือ รัฐบาลชวน 1/1
ในปี 2537 สุดารัตน์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคพลังธรรม และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย หรือรัฐบาลชวน 1/2
ต่อมาได้จัดให้มีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2538 สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 7 พรรคพลังธรรม (บางกะปิ, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, คันนายาว, สะพานสูง) และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา หรือรัฐบาลบรรหาร 1 จนกระทั่งมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรและมีการเลือกตั้งในปีถัดมา
การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2539 สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 7 (บางกะปิ, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, คันนายาว, สะพานสูง) โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคพลังธรรม เพียงคนเดียวในสภาฯ ต่อมาเธอได้ลาออกจากพรรคพลังธรรมและย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย รวมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
ในปี 2544 สุดารัตน์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดูแลรับผิดชอบงานนโยบายสำคัญของรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) คือ นโยบาย 30บาทรักษาทุกโรค ต่อมาปี 2548 ได้รับเลือกตั้งอีกสมัย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนกระทั่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี (30 พ.ค. 50 -30 พ.ค. 55) เนื่องจากเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549
ภายหลังพ้นกำหนดถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง สุดารัตน์ได้เข้ารับตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย และเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในนามพรรคเพื่อไทย ในปี 2562
ต่อมาสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทย สุดารัตน์ พรรคใหม่ ที่เธอก่อตั้งขึ้นชื่อ พรรคไทยสร้างไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย
ข้อมูล : วิกิพีเดีย
ภาพ : FB https://www.facebook.com/sudaratofficial
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
กดเลย >> community แห่งความบันเทิง
ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี