รีเซต

คุกคามทางเพศในโลก Virtual กรณีศึกษา ข่มขืนร่างอวตารผิดหรือไม่?

คุกคามทางเพศในโลก Virtual กรณีศึกษา ข่มขืนร่างอวตารผิดหรือไม่?
TNN ช่อง16
6 กุมภาพันธ์ 2565 ( 16:19 )
160

สำนักข่าว SCMP รายงานถึงประเด็นใหม่ในโลกเสมือนจริง หลังหญิงคนหนึ่ง โพสต์บนโลกออนไลน์ว่า ร่างอวตารของเธอถูกแก๊งอวตารชายรุมข่มขืน


---คุกคามยันโลก Virtual---


หญิงคนหนึ่งในสหราชอาณาจักร เขียนข้อความในบล็อกบน Medium ระบุว่า เธอมีประสบการณ์แสนเลวร้ายในการเล่นวิดีโอเกมเสมือนจริง Horizon Worlds ที่พัฒนาโดย Meta หรือชื่อเดิมที่ทุกคนรู้จักในนาม Facebook


ภายในไม่กี่วินาทีหลังกดเข้าเกม ฉันถูกล่วงละเมิดทั้งทางวาจาและทางเพศ จากร่างอวตารชาย 3-4 ตัว ที่มีเสียงผู้ชาย แก๊งนี้เกือบรุมข่มขืนร่างอวาตารของฉัน” เธอเขียนไว้ในบล็อกเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา


เธอให้รายละเอียดว่า ร่างอวาตารของตัวเองถูกร่างอวาตารชายจำนวนหนึ่งล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งบันทึกหน้าจอและส่งข้อความหาเธอ พูดถึงการกระทำดังกล่าวโดยบอกเธอว่า “อย่าปฏิเสธใจตัวเอง


ทั้งนี้ หญิงคนดังกล่าว เป็นรองประธานฝ่ายวิจัยเกี่ยวกับ Metaverse ของ Kabuni Ventures บริษัทเทคโนโลยีสมจริงแห่งหนึ่ง ด้าน Meta ไม่ได้ตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าวในทันที


---โลกเสมือนที่ผสานกับโลกจริง---


สถานีโทรทัศน์ CNBC ระบุว่า Horizon Worlds มีการสร้างโลกเสมือนจริงนับพัน โดยผู้ใช้ทุกคนสามารถสร้างและดาวน์โหลดได้ฟรี ขณะที่ Meta วางแผนที่จะสร้างรายได้จากเกม ผ่านการอำนวยความสะดวกด้านอีคอมเมิร์ซและการโฆษณา คล้ายกับการทำกำไรบนโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook และ Instagram


ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา Meta ได้เปิดตัว Horizon Worlds ในสหรัฐฯ และแคนาดา โดยผู้เล่นต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป หลังจากลงเวอร์ชัน Beta ให้บุคคลที่ได้รับคำเชิญทดสอบไปแล้วเมื่อปี 2021 


แพลตฟอร์มและสื่อตัวต่อไป จะเป็นโลกอินเทอร์เน็ตที่สมจริงและเป็นตัวเป็นตนมากขึ้น ให้คุณดื่มด่ำไปกับประสบการณ์ที่ไม่ใช่แค่การมองดู เราเรียกสิ่งนี้ว่า metaverse” มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta กล่าวเมื่อเดือนที่แล้ว หลังเปิดเผยเรื่องการรีแบรนด์ของบริษัท


Meta คือ โลกเสมือนจริงที่ร่างอวตารดิจิทัลเชื่อมต่อโลกจริง ผ่านการทำงาน การเดินทาง หรือความบันเทิง ผ่านอุปกรณ์ VR


---ร่างอวตารดูดีมีชัยไปกว่าครึ่ง---


หลังจากโพสต์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นีนา เจน พาเทลเล่าว่า เธอได้รับความคิดเห็นที่บอกว่า มันเป็นการเรียกร้องความสนใจ และขอให้เธอไม่เลือกร่างอวตารเป็นผู้หญิงในครั้งต่อไป ขณะที่คนอื่น  ตั้งคำถามว่า การได้รับความบอบช้ำในโลกเสมือนเป็นเรื่องที่น่ากังวลเสียยิ่งกว่า 


เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการกระทำดังกล่าว พาเทลอ้างถึงผลการศึกษาเมื่อปี 2009 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Communication Research พูดถึงเรื่อง “Proteus Effect” ซึ่งพบว่า พฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความน่าดึงดูดใจของร่างอวาตาร ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์


ผู้เล่นที่มีร่างอวาตารที่ดูดีและน่าดึงดูด มักมีแนวโน้มว่าจะไปได้ดีในโลกเสมือน และหลังจากนั้น จะเริ่มเจรจาต่อรองด้วยตนเองอย่างจริงจังมากขึ้น


---ความรุนแรงที่อาจข้ามสู่โลกจริง---


ก่อนหน้านี้ American Psychological Association ตั้งคำถามถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิดีโอเกมที่มีความรุนแรงกับพฤติกรรมรุนแรงนอกจอ โดยระบุว่า มี “หลักฐานไม่เพียงพอ” เกี่ยวกับเรื่องนี้


ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หัวข้อนี้มีการถกเถียงและศึกษาอย่างกว้างขวาง การศึกษาระยะยาวบางงานแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิดีโอเกมที่มีเนื้อหารุนแรง กับสัญญาณความก้าวร้าวในเด็ก ขณะเดียวกันก็มีงานวิจัยอื่น  ที่โต้แย้งเรื่องนี้


พาเทล ชี้ให้เห็นว่า metaverse กำลังผสานเข้ากับโลกจริงมากขึ้นเรื่อย  และการล่วงละเมิดทางเพศที่เธอเผชิญในร่างอวตาร ทำให้เธอตกใจและโกรธเคือง


---โลกเสมือนที่มีผลทางจิตใจ---


โจเซฟ โจนส์ ประธาน Bosco Legal Services หน่วยงานสอบสวนที่เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์และโซเชียลมีเดีย กล่าวว่า พาเทลไม่น่าจะมีหลักฐานทางกฎหมายที่เพียงพอสำหรับการคุกคามทางเพศ แต่เขายอมรับว่า การคุกคามใน metaverse เป็นเรื่องใหม่มาก 


เขาระบุว่า คดีนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความคิดเห็นที่เฉพาะเจาะจงของบุคคลดังกล่าว และการที่ร่างอวาตารของพาเทลเปิดเผยข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น ชื่อ เป็นต้น


โจนส์ยังระบุว่า เนื่องจากเธอมีผู้ติดตามไม่มาก แทบเป็นไปไม่ได้ที่เธอจะฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาท แต่เธอสามารถยื่นคำสั่งควบคุมตัวทางแพ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอีก


เขากล่าวว่า แต่ยังมีความท้าทายเหลืออยู่ เพราะร่างอวาตารชายอาจไม่ระบุตัวตนและอาจติดตามได้ยาก อีกทั้งการขอความช่วยเหลือในกรณีเช่นนี้ก็อาจเป็นเรื่องยากเช่นกัน


การล่วงละเมิดส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ แม้จะฟ้องคดีอาญาได้ แต่คุณจะถูกกดดันอย่างหนัก ผมพูดได้เลยว่า แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีหน่วยงานใดที่เต็มใจช่วยเหลือ” โจนส์ กล่าว

—————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: Christine Sandu / Unsplash

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง