รีเซต

เปิดสรรพคุณ 'ใบกระท่อม' ที่จะปลดล็อก พ้นยาเสพติด มีผล 24 ส.ค.นี้

เปิดสรรพคุณ 'ใบกระท่อม' ที่จะปลดล็อก พ้นยาเสพติด มีผล 24 ส.ค.นี้
TrueID
20 สิงหาคม 2564 ( 11:59 )
706
เปิดสรรพคุณ 'ใบกระท่อม' ที่จะปลดล็อก พ้นยาเสพติด มีผล 24 ส.ค.นี้

จากการเผยโดยเพจ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  มีการแก้ไขถอดใบกระท่อมออกจากยาเสพติดประเภท 5 คือใบกระท่อมจะไม่เป็นยาเสพติดตามกฎหมายอีกต่อไปพระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 และจะมีผลเริ่มใช้บังคับในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 วันนี้ trueID ได้รวบรวมสรรพคุณ และวิธีการใช้ 'ใบกระท่อม' มาให้ทราบกันแล้ว

 

 

ทำความรู้จัก "ใบกระท่อม" 

กระท่อม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่ ปลายแหลม โคนป้าน หูใบระหว่างก้านใบเป็นแผ่นคล้ายใบ ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามปลายกิ่ง มี 1-3 ช่อ ช่อกลางสั้นมาก แต่ละช่อประกอบด้วยดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสั้น ปลายมี 5 แฉก กลีบดอกเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 หยัก เมล็ดมีปีก

 

ใบกระท่อม เป็นพืชที่พบมากทางใต้ของประเทศไทย ไปจนถึงเขตชายแดง เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมเคี้ยวใบสด หรือ ต้มเป็นชา เพื่อกระตุ้นให้ทำงานได้โดยไม่เมื่อยล้า โดยเฉพาะกลุ่มทำสวน ทำนา ถึงจะเป็นพืชพื้นบ้าน แต่ถูกกำหนดว่าผิดกฎหมาย ห้ามนำมาใช้เป็นเวลานาน และมีการผลักดันให้ปลูกได้มาเกือบศตรรษ

 

 

ในประเทศไทยมีกี่ชนิด

กระท่อมเป็นพืชที่อยู่ในสกุล Mitragyna หอพรรณไม้ กรมป่าไม้ รายงานไว้ว่าพืชในสกุลนี้ในประเทศไทยมีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่

 

  1. Mitragyna diversifolia (Wall ex G. Don) Havil. มีชื่อท้องถิ่นว่า กระท่อมขี้หมู กระทุ่มดง กระทุ่มนำ ท่อมขี้หมู ตุ้มน้ำ
  2. Mitragyna hirsuta Havil. มีชื่อท้องถิ่นว่า กระทุ่มโคก ตุ้มเขา ทุ่มพาย
  3. Mitragyna parvifolia Korth. มีชื่อท้องถิ่นว่า กระทุ่มใบเล็ก
  4. Mitragyna rotundifolia (Roxb.) Kuntze มีชื่อท้องถิ่นว่า กระทุ่มเนิน แก่นเหลือง ตุ้มกว้าว
  5. Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. มีชื่อท้องถิ่นว่า กระท่อม ท่อม อีถ่าง

 

 

 

ประโยชน์ของใบกระท่อม

ด้านการแพทย์

  • มีสาร ไมตราเจนีน ออกฤทธิ๋ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ช่วย ให้กระปรี้กระเปร่า ลดอาการปวดเมื่อย
  • นำไปใช้บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟรีน
  • ใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด
  • สมัยโบราณใช้บรรเทาอาการไอ แก้ปวดเมื่อย ท้องเสีย

 

ด้านสังคมและเศรษฐกิจ

  • สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน
  • ลดคดีเกี่ยวกับกระท่อม และช่วยประหยัดงบประมาณรัฐไปได้อีกทาง

 

ข้อเสียของใบกระท่อม

  • ทำให้ไม่อยากอาหาร (ไม่เหมาะใช้ในการควบคุมน้ำหนัก)
  • ผอม หรือขาดสารอาหาร
  • ท้องผูก
  • ปัสสาวะบ่อย
  • นอนไม่หลับ

 

ในเบื้องต้น การปลูกกระท่อมจะไม่ซับซ้อน ไม่ต้องขอใบอนุญาติ เหมือนกรณีของ กัญชง เพียงแต่ห้ามจำหน่ายให้เยาวชนและนำไปผสมกับสารชนิดอื่น ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจปลูกในครัวเรือน ควรติดตามความคืบหน้ากันจนกว่าจะถึงวันที่ปลดล็อคเต็มที่ สำหรับ กฎหมาย และข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกกระท่อมในครัวเรือน ติดตามข่าวสารและความคืบหน้าจากหน่วยงานต่างๆ กันต่อไป

 

ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม

  • สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • ผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดสุรา
  • ผู้มีความผิดปกติทางจิต
  • ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
  • กินกระท่อมร่วมกับชุมเห็ดช่วยแก้ท้องผูก หากมีอาการมึนเมา วิงเวียน ซึม จากการกินกระท่อมมากเกิน ให้ดื่มน้ำหรือกินของเปรี้ยว แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

 

หมายเหตุ ยกเว้นการนำไปใช้ในทางที่ผิดของเด็กและเยาวชนเช่นเอาไปผสมยาเสพติดที่เรียกกันว่า 4 × 100 เป็นต้นและการซื้อขายนำเข้าส่งออกต่างประเทศในเชิงอุตสาหกรรมต้องขออนุญาตก่อน เพื่อไม่ให้สินค้าราคาตกและล้นตลาดจนเกินไป

 

ข้อมูล : มติชน , ปปส , สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง