รีเซต

'ออสเตรเลีย' จับมือ 'บ.สหรัฐฯ' พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่อาจพลิกโฉม 'ภาคการผลิตไฟฟ้า'

'ออสเตรเลีย' จับมือ 'บ.สหรัฐฯ' พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่อาจพลิกโฉม 'ภาคการผลิตไฟฟ้า'
Xinhua
18 พฤศจิกายน 2563 ( 15:07 )
112
'ออสเตรเลีย' จับมือ 'บ.สหรัฐฯ' พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่อาจพลิกโฉม 'ภาคการผลิตไฟฟ้า'

 (แฟ้มภาพซินหัว : เครื่องบินพิเศษของสายการบินแควนตัสบินเหนือเมืองซิดนีย์ของออสเตรเลียเป็นเวลา 100 นาที เพื่อฉลองครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งสายการบิน เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2020)

แคนเบอร์รา, 18 พ.ย. (ซินหัว) -- สำนักวิทยาศาสตร์แห่งชาติออสเตรเลียลงนามในข้อตกลงกับบริษัทจีทีไอ (GTI) ของสหรัฐฯ เพื่อร่วมพัฒนาเทคโนโลยีที่อาจ "พลิกเกม" ของภาคการผลิตพลังงาน

 

เมื่อวันพุธ (18 พ.ย.) องค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) ประกาศการร่วมงานกับบริษัทจีทีไอ ผู้นำด้านเทคโนโลยียุคใหม่ เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้า ซูเปอร์คริติคอล คาร์บอน ไดออกไซด์ หรือ เอสซีโอทู (sCO2)เดวิด แฮร์ริส ผู้อำนวยการด้านการวิจัยเทคโนโลยีพลังงานขององค์การระบุว่าโรงไฟฟ้าพลังงานเอสซีโอทูมีโอกาสเป็นเทคโนโลยีที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงและเร่งกระบวนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของโลกได้"ขณะที่โรงไฟฟ้าส่วนมากใช้ไอน้ำในการผลิตไฟฟ้า แต่โรงไฟฟ้าเอสซีโอทูนั้นใช้คาร์บอนไดออกไซด์อุณหภูมิสูงแบบหมุนเวียนแทนไอน้ำ" แฮร์ริสระบุในแถลงการณ์ต่อสื่อ

 

"ข้อได้เปรียบคือเอสซีโอทูเป็นของไหลทำงาน (Working Fluids) ที่มีความหนาแน่นมากกว่า หมายความว่าโรงไฟฟ้าเอสซีโอทูจะมีขนาดเล็กกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า และไม่ต้องพึ่งน้ำเพื่อให้เกิดไอน้ำ … การใช้โรงไฟฟ้าเอสซีโอทูอย่างกว้างขวางอาจสามารถเปลี่ยนแปลงภาคการผลิตไฟฟ้าของออสเตรเลียได้"องค์การระบุว่าอุตสาหกรรมเหมืองแร่อาจเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากโรงไฟฟ้าพลังเอสซีโอทูได้ เพราะโรงงานประเภทนี้ไม่ต้องการไอน้ำ จึงสามารถขจัดปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำในพื้นที่ห่างไกลได้"บริษัททำเหมืองหลายรายให้คำมั่นจะดำเนินการตามเป้าหมายใหญ่ๆ เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน การใช้ไฟฟ้าพลังเอสซีโอทูอาจเป็นเทคโนโลยีแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เราเฝ้ารอ" แฮร์ริสกล่าว

 

สถาบันวิจัยพลังความร้อนจากแสงอาทิตย์แห่งออสเตรเลีย (ASTRI) ซึ่งเป็นกิจการค้าร่วมขององค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพและมหาวิทยาลัยออสเตรเลีย 6 แห่ง จะเป็นผู้นำการวิจัยเพื่อศึกษาว่าเทคโนโลยีผลิตความร้อนด้วยการรวมแสงอาทิตย์ (CST) ซึ่งเป็นการดักจับและกักเก็บความร้อนนั้น จะสามารถสร้างพลังงานหมุนเวียนให้กับโรงงานเอสซีโอทูได้อย่างไรบ้าง"การใช้ระบบกักเก็บพลังงานความร้อน (TES) เพื่อส่งความร้อนไปขับเคลื่อนกังหัน เป็นส่วนสำคัญสำหรับทางแก้ด้วยพลังงานหมุนเวียน" เวส สไตน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของสถาบันกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง