รีเซต

ท่อค้ำหลอดลมพิมพ์ 3 มิติ! ย่อยสลายได้ ไม่กลายเป็นขยะ!

ท่อค้ำหลอดลมพิมพ์ 3 มิติ! ย่อยสลายได้ ไม่กลายเป็นขยะ!
TNN ช่อง16
10 กุมภาพันธ์ 2564 ( 22:52 )
189
ท่อค้ำหลอดลมพิมพ์ 3 มิติ! ย่อยสลายได้ ไม่กลายเป็นขยะ!

นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีต้องผ่าตัดใส่ท่อค้ำหลอดลม (Airway Stents) เพื่อช่วยถ่างให้ทางเดินหายใจเปิดอยู่ เพราะว่าท่อแบบใหม่นี้อยู่ตัวมากกว่าแบบเดิม แถมยังสามารถย่อยสลายได้ ไม่กลายเป็นขยะอีกด้วย


โดยปกติแล้ว ท่อค้ำหลอดลมโดยทั่วไปมักจะทำจากซิลิโคนหรือโลหะ ซึ่งชนิดหลังนี้เป็นชนิดที่ค่อนข้างยากที่จะเอาออกหลังจากหลอดลมหายดีแล้ว ส่วนแบบซิลิโคนถึงแม้ว่าจะเอาออกได้ง่ายกว่า แต่ก็มักจะเลื่อนหลุดหรือค่อย ๆ เคลื่อนจากจุดที่ใส่อยู่ตอนแรก เนื่องจากไม่ได้ผลิตขึ้นเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย จึงไม่พอดีกับช่องหลอดลมของแต่ละคน ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก ETH Zurich ร่วมกับทีมจาก University Hospital Zurich และ University of Zurich จึงได้ร่วมกันสร้างท่อค้ำหลอดลมแบบเฉพาะบุคคล ที่มีความพิเศษตรงสามารถย่อยสลายได้ ซึ่งสร้างจากซิลิโคนแบบ biocompatible silicone (ซิลิโคนที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ)


กระบวนการสร้างเริ่มจากการแสกน CT Scan (computer tomography) ช่วงบริเวณหลอดลมของผู้ป่วย จากนั้นก็จะนำภาพที่ได้มาสร้างแบบจำแบบลองดิจิทัล 3 มิติ ของท่อค้ำหลอดลมให้เข้ากับคอของผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ จากนั้นก็จะนำไปพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า digital light processing (DLP) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีการนำเองรูปแบบของแสงอัลตราไวโอเลตไปยังเรซินที่มีความไวแสง ทำให้บางส่วนของเรซินนั้นกลายเป็นของแข็งได้ ซึ่งเมื่อก่อนนี้ วัตถุย่อยสลายได้ที่พิมพ์แบบ DLP ถึงจะแข็งแต่ก็สามารถเปราะหักได้ ดังนั้นเพื่อที่จะให้ท่อค้ำหลอดลมมีความนุ่มและยืดหยุ่นขึ้น จึงต้องมีการสร้างเรซินชนิดพิเศษขึ้นมา และเรซินตัวนี้จะต้องผ่านกระบวนการพิมพ์ที่อุณหภูมิประมาณ 70-90 องศาเซลเซียสเท่านั้น มิฉะนั้นจะมีความหนืดเกินไป


เมื่อผ่านกระบวนการพิมพ์จนเสร็จสมบูรณ์ ก็จะได้ท่อค้ำหลอดลมที่มีความยืดหยุ่นพอที่จะสามารถพับได้ขณะสอดเข้าหลอดลม และยังดีดตัวกลับมาเป็นทรงได้ดีเมื่ออยู่ภายในหลอดลมแล้วนอกจากนี้อนุภาคทองคำที่ผสานอยู่ในท่อค้ำหลอดลมตัวนี้ยังช่วยให้สามารถติดตามตำแหน่งของมันได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็ได้มีการทดลองในแล็ปแล้วโดยใช้กระต่าย ผลการเอกซเรย์พบว่าตัวท่อค้ำยันยังอยู่กับที่แม้จะผ่านไป 6-8 สัปดาห์หลังจากการผ่าตัด และหลังจากนั้นจะค่อย ๆ ย่อยสลายไปเองโดยไม่ทำอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด และขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในคลินิกต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง