รู้จัก แพกซ์โลวิด (Paxlovid) ยาต้านโควิด-19 ลดป่วยหนัก-เสียชีวิตได้ 89%
วันนี้( 7 พ.ย.64) น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้ให้ข้อมูลถึงยาเม็ดต้านไวรัสโควิด-19ตัวใหม่ ลำดับที่ 2 ของโลก มีประสิทธิผลสูงถึง 89% เป็นของไฟเซอร์ อิงค์ ที่ชื่อว่า "แพกซ์โลวิด" (Paxlovid) มีประสิทธิผลในการลดการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลได้ถึง 89% เป็นยาชนิดรับประทาน วันละ 2 ครั้ง จำนวน 5 วัน ทางไฟเซอร์ จะยื่นขออนุมัติใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน (EUA) ต่ออย.สหรัฐฯ (USFDA) ในเดือนพฤศจิกายนนี้หรือก่อน 25 พ.ย.
บริษัทไฟเซอร์ ได้ลงทุนวิยพัฒนายาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ไปกว่า 33,000 ล้านบาท นโยบายการค้าของ Pfizer จะขายยาในราคาไม่เท่ากัน ประเทศรายได้น้อยและประเทศรายได้ป่านกลางจะมีราคายาถูกกว่าประเทศร่ำรวย คาดว่าจะผลิตยาได้ในปีนี้ 1.8 แสนคอส คอร์สละ30 เม็ด และปีหน้าจะผลิตได้ล้านคอร์ส
กลไกการออกฤทธิ์ของยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) เริ่มพัฒนามาจากยาเดิมที่บริษัท Pfizer วิจัยขึ้น เพื่อรักษาโคโรนาไวรัสลำดับที่ 5 ที่ก่อให้เกิดโรค SARS และมีการระบาดในปี 2002 โดยเป็นยาฉีด การพัฒนาครั้งนี้ นำมาใช้เพื่อต่อต้านไวรัสโคโรน่าลำดับที่ 7 ซึ่งก่อโรคโควิด โดยเริ่มงานวิจัยมาตั้งแต่กรกฎาคม 2563 เป็นยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์ ที่ใช้ในการเพิ่มจำนวนของไวรัส ทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนก่อโรคไม่ได้ ซึ่งยากลุ่มนี้ได้ผลดีในการต้านไวรัสก่อโรคเอดส์หรือเอชไอวี(HIV)มาแล้ว
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ไวรัสจะเข้าไปในเซลล์มนุษย์
2.สารพันธุกรรมของไวรัสคือ RNA จะแยกตัวออกมาจากไวรัส โดยยังอยู่ในเซลล์มนุษย์
3.RNA จะทำการสร้างโปรตีนพอลิเพปไทด์ ( Polypeptide)
4.เอนไซม์ โปรตีเอส ( Protease )จะมาตัด พอลิเพปไทด์ ( Polypeptide) ให้เป็นท่อนเล็กๆเพื่อประกอบกันเป็นไวรัสตัวใหม่รุ่นลูก เป็นการเพิ่มจำนวนและก่อให้เกิดโรค
5.ยาต้านไวรัส แพกซ์โลวิด (Paxlovid) เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าว (Protease inhibitor) จึงทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้
ผลการศึกษาในเฟส 2/3 ซึ่งยังไม่ได้ดีพิมพ์ในวารสารทางกรแพทย์ พบว่าได้ผลดีต่อไวร้สกลายพันธ์ รวมทั้งสายพันธุ์เดลต้าด้วย การให้ยารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 เม็ด ร่วมกับยา “ริโทนาเวียร์” Ritonavir ซึ่งจะออกฤทธิ์ชะลอการสลายตัวของยา แพกซ์โลวิด (Paxlovid) ทำให้ยาอกฤทธิ์ได้นานขึ้น พบว่าถ้าให้ยาเร็วกายใน 3 วันแรกหลังติดเชื้อมีประสิทธิผลสูงถึง 89%
ล่าสุดมีข่าวดีอย่างต่อเนื่องเมื่อ ไฟเซอร์ พร้อมมอบสูตรผลิตยารักษาโควิด ให้แก่ประเทศต่างๆ ตามรอย “เมอร์ค”ที่ได้มอบสูตรผลิตยา โมลนูพิราเวียร์ ก่อนหน้านี้
การดำเนินการมอบช่วงสิทธิบัตรของ ไฟเซอร์ สอดคล้องกับที่ เมอร์ค เจรจากับ องค์กรสิทธิบัตรยาร่วม (MPP) ก่อนหน้านี้ โดยเมอร์คได้มอบช่วงสิทธิบัตรผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ ซึ่งเป็นยารักษาโรคโควิด-19 ให้แก่ประเทศในกลุ่มรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางจำนวน 105 ประเทศทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในเอเชียและแอฟริกา
คาดว่าการมอบช่วงสิทธิบัตรการผลิตยาดังกล่าว จะทำให้ยาโมลนูพิราเวียร์มีราคาถูกลงเหลือเพียงคอร์สละ 20 ดอลลาร์ หรือราว 650 บาท ขณะที่รัฐบาลสหรัฐซื้อยาดังกล่าวจากเมอร์คในราคาคอร์สละ 700 ดอลลาร์ หรือมากกว่า 23,000 บาท ซึ่งอาจทำให้ยา"แพกซ์โลวิด"ของไฟเซอร์ ที่คาดว่าราคาใกล้เคียงกัน มีราคาต่ำลงมาพอๆกัน
ขณะที่เกาหลีใต้โดย KDCA ตกลงซื้อยาเม็ดต้านไวรัสโควิด-19 ที่อยู่ระหว่างการทดลองของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) จำนวน 70,000 คอร์ส ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ลงนามในข้อตกลงซื้อยาเม็ดโมลนูพิราเวียร์ของบริษัทเมอร์ค แอนด์ โค เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิดแล้ว 200,000 คอร์ส และกำลังพิจารณาที่จะสั่งซื้อเพิ่มอีก 134,000 คอร์ส แม้จะยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะรักษาอย่างไร
ทั้งนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้จัดสรรงบประมาณไว้ 36,200 ล้านวอน (ราว 1,020 ล้านบาท) สำหรับจัดซื้อยาต้านไวรัสโควิด-19 ชนิดรับประทาน ซึ่งคำประกาศทำข้อตกลงซื้อแพกซ์โลวิดของเคดีซีเอมีออกมา 1 วันหลังจากบริษัท ไฟเซอร์ กล่าวว่า ผลการทดลองทางคลินิกล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ยาเม็ดแพกซ์โลวิดของพวกเขามีประสิทธิภาพ 89% ในการลดความเสี่ยงของการรักษาในโรงพยาบาล หรือการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรครุนแรง ภายใน 3 วันนับแต่เริ่มมีอาการ
อัลเบิร์ต บัวร์ลา ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารของไฟเซอร์ ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อวันศุกร์ว่า ไฟเซอร์อยู่ระหว่างเจรจากับ 90 ประเทศเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อยาแพกซ์โลวิด
ภาพจาก AFP