รีเซต

วิจัยพบ 'ไดโนเสาร์' เริ่มสูญพันธุ์เร็วกว่าความเชื่อเดิม 2 ล้านปี

วิจัยพบ 'ไดโนเสาร์' เริ่มสูญพันธุ์เร็วกว่าความเชื่อเดิม 2 ล้านปี
Xinhua
23 กันยายน 2565 ( 19:09 )
37
วิจัยพบ 'ไดโนเสาร์' เริ่มสูญพันธุ์เร็วกว่าความเชื่อเดิม 2 ล้านปี

ปักกิ่ง, 23 ก.ย. (ซินหัว) -- เมื่อไม่นานนี้ วารสารพีเอ็นเอเอส (PNAS) ของสหรัฐฯ เผยแพร่ผลการศึกษาที่พบว่า "ไดโนเสาร์" เข้าสู่ภาวะสูญพันธุ์เร็วกว่าความเชื่อเดิมอย่างมาก และหายนะเมื่อ 66 ล้านปีก่อน อาจเป็นเพียงฟางเส้นสุดท้ายเท่านั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพระดับต่ำของไดโนเสาร์ที่ไม่ใช่นก (non-avian) เกิดขึ้นราว 2 ล้านปี ก่อนที่พวกมันจะสูญพันธุ์ไป

 

ทีมนักวิทยาศาสตร์จีนเก็บตัวอย่างเปลือกไข่ไดโนเสาร์มากกว่า 1,000 รายการ จากชุดลำดับชั้นหินต่อเนื่องที่เต็มไปด้วยฟอสซิล ความหนาราว 150 เมตร ในแอ่งซานหยาง มณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่พบหลักฐานเกี่ยวกับไดโนเสาร์จากชุดลำดับชั้นหินยุคครีเทเชียสตอนปลายมากที่สุดคณะนักวิจัยพบลำดับขั้น (taxa) เปลือกไข่ไดโนเสาร์เพียง 3 ชนิด ในดินตะกอน 2 ชั้น ที่ทับถมระหว่าง 68.2-66.4 ล้านปีก่อน บ่งชี้ว่าไดโนเสาร์ในยุคนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ โดยผลการค้นพบนี้สนับสนุนการลดลงระยะยาวของความหลากหลายทางชีวภาพของไดโนเสาร์ทั่วโลกก่อนเกิดการสูญพันธุ์เหตุการณ์หายนะช่วงปลายยุคครีเทเชียส ซึ่งเกิดจากดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกหรือภูเขาไฟระเบิด ตามด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศครั้งใหญ่ ถือเป็นการทำลายล้างไดโนเสาร์ครั้งสุดท้าย ขณะระบบนิเวศของสัตว์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้เปราะบางอยู่ก่อนแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง