รีเซต

“เติมน้ำมันเต็มลิตร” สิทธิของผู้บริโภค?

“เติมน้ำมันเต็มลิตร” สิทธิของผู้บริโภค?
TNN ช่อง16
30 ธันวาคม 2566 ( 11:07 )
27

เมื่อข่าวนี้ถูกเผยแพร่ออกไปก็ทําให้ประชาชน คาใจว่า เหตุใดเมื่อเราซื้อน้ำมันโดยจ่ายในราคาเต็มแต่กลับได้สินค้าไม่เต็มจํานวน


กรณีดังกล่าวหน่วยงานและกระทรวงที่เกี่ยวข้องโดยตรง จะต้องลงมาชี้แจง คือ กระทรวงพลังงาน และกระทรวงพาณิชย์



หลังเกิดเหตุ “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ระบุว่า ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว และหลังตรวจสอบพบว่า ตามกฎหมายได้กําหนดอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้ไม่เกินร้อยละ 1 ซึ่งเป็นไปตามหลักการ และมาตรฐานเดียวกันกับที่ต่างประเทศใช้ ซึ่งกรณีที่น้ำมันที่ขาดไป ไม่ถือว่าผิดปกติ และยังอยู่ในกรอบที่กฎหมายกําหนด แต่ถึงอย่างไรก็ตามปั๊มน้ำมันก็ควรต้องจ่ายน้ำ มันชดเชยให้ผู้ใช้บริการเต็มตามจํานวนลิตรที่ชําระเงินไป เพราะการชํา ระเงินค่าน้ํา มัน เป็นการชําระเต็มตามจํานวนลิตร มิใช่ชําระแบบเผื่อเหลือเผื่อขาด



และจากประเด็นดังกล่าว “พีระพันธุ์” ธุ์ บอกว่า จะนํา ไปพิจารณาแก้ไขในกฎหมายการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ที่อยู่ระหว่างดําเนินการด้วย



ทางฟากของกระทรวงพาณิชย์ ก็นั่งไม่ติดเก้าอี้เช่นกัน โดย “ภูมิธรรม เวชชยชัย” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งอธิบดีกรมการค้าภายใน ไปประชุมผู้ประกอบการผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ให้เข้มงวด และระหว่างนี้ให้คณะกรรมการกลางชั่งตวงวัด ได้ไปพิจารณาเกี่ยวกับอัตราผลเผื่อขาด และหากพบจ่ายขาดติดต่อกัน 2 ครั้ง ขอให้ตรวจสอบ และตรวจรับรองใหม่ เพื่อให้เป็นธรรมกับประชาชนมากที่สุด



ทั้งนี้ “ภูมิธรรม” ย้ำ ชัดว่า หากพบว่า ปั๊มไหน จ่ายน้ำ มันไม่เต็มลิตรโดยเจตนาจงใจปรับแต่งหัวจ่าย แล้วจะมาอ้างกฎกระทรวงไม่ได้ และถือว่าว่ เข้าข่ายเป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงประชาชน มีโทษจํา คุกถึง 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 อีกด้วย และยิ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ ที่มีการเดินทางเป็นจํานวนมากจะต้องเข้มงวด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน



ด้าน “วัฒนศักย์ เสือเอี่ยม” อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เผยหลังจากประชุมร่วมกับ 10 ผู้ประกอบการผู้ค้าน้ำมัน และสมาคมการค้าผู้แทนจําหน่ายสถานีบริการน้ำมันพลังไทย ตามมาตรา 7 เพื่อกําชับให้เข้มงวด ตรวจสอบหัวจ่ายสถานีบริการน้ำมัน โดยที่ประชุมได้ตกลงกับผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน ให้ตั้งค่าหัวจ่ายให้ค่าคลาดเคลื่อนเป็นมาตรฐาน ที่เลข 0 หรือไม่มีความคลาดเคลื่อนส่วนการจะทบทวนค่ามาตรฐานที่กําหนดอัตราเผื่อเหลือ-เผื่อขาด ไว้ไม่เกินร้อยละ 1 นั้น คณะกรรมการกลางชั่งตวงวัด ซึ่งมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน จะเป็นผู้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการปรับเกณฑ์ดังกล่าวหรือไม่ โดยจะคํานึงถึงประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด



เมื่อได้เห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกมารับลูกกรณีดังกล่าว งานนี้คงต้องฝากไว้กับ“ภูมิธรรม” และ “พีระพันธุ์” ว่า จะคํานึงถึงผลประโยชน์ และความเป็นธรรมให้กับประชาชนมากน้อยแค่ไหน มารอลุ้นกัน.



มนตรี ขัดเรือง : เรียบเรียง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง