รีเซต

Mission to the Moon ภารกิจพาไทยสู่ดวงจันทร์ ของ mu Space (มีคลิป)

Mission to the Moon ภารกิจพาไทยสู่ดวงจันทร์ ของ mu Space (มีคลิป)
TNN ช่อง16
17 มกราคม 2564 ( 22:11 )
230
Mission to the Moon ภารกิจพาไทยสู่ดวงจันทร์ ของ mu Space (มีคลิป)



ถาม: จากที่เป็นกระแสข่าวว่า อีก7 ปี เราจะได้ไปดวงจันทร์ ทาง mu Space มองว่า จะเป็นจริงไหม?


คุณบริณต หงษ์ดิลกกุล วิศวกรด้านอวกาศ บริษัท mu Space Corp


ประเด็นหลักในเรื่องเรื่องการการการสร้างยานอวกาศไปโคจรรอบโลกภายใน 7 ปีเนี่ย มันจะเป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ในคอมเม้นท์ในทางSocial media เขาคอมเม้นท์ว่า เอ๊...จะทำไปทำไม หรือว่าทำแล้วได้อะไรซึ่งตรงนี้เราจะต้องอธิบายหน่อย 


จะต้องอธิบายเพิ่มเติมว่า การที่ไปดวงจันทร์เนี่ยมันไม่ได้มีแค่เราส่งไปเฉยๆ แล้วไอ้ตัวตัวยานอวกาศมันจะโคจรรอบดวงจันทร์แล้วก็ส่งไปเฉยๆ ไม่ได้มีภารกิจอะไรอะไรที่ชัดเจน 


ซึ่งจริงจริงแล้วตรงนี้เนี่ย มันก็ตรงการ การที่เราสามารถสร้างยานอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์เนี่ย มันหมายความว่าเรามีเทคโนโลยีมีเป็นเหมือนก้าวแรกที่เราสามารถส่งตัวยานอวกาศขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ ซึ่งต่อมาครับมันจะสามารถใช้เทคโนโลยีตรงนี้เนี่ยไปสร้างทรัพยากร ไปใช้ทรัพยากรในดวงจันทร์ 


แล้วก็ตรงทรัพยากรในดวงจันทร์เนี่ยก็จะมีเรื่องของการขุดเหมืองในบนดวงจันทร์ ซึ่งตรงนี้เราจะสามารถนำมาใช้สร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในอนาคตได้ 


ไปโคจรรอบดวงจันทร์เนี่ยเป็นเหมือนกับก้าวแรกที่จะทำให้ประเทศไทยเนี่ย มีความคุ้นเคยกับทรัพยากรกับเทคโนโลยีทางด้านอวกาศซึ่งในอนาคตอาจจะเป็นหลักอาจจะเป็นแผน 10 ปีหรือ 20 ปีในอนาคตครับ 


ตรงนี้เนี่ยเทคโนโลยีตรงที่ที่พัฒนาช่วง 7 ปีที่ผ่านมาจะสามารถต่อยอดในการใช้ทรัพยากรนอกโลกได้ ซึ่งทรัพยากรนอกโลกตรงนี้ครับจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล 



บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด เป็นสตาร์ทอัพ สัญชาติไทย ที่ให้บริการด้านดาวเทียมบรอดแบนด์ พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศไปควบคู่กัน 


หลังจากก่อตั้งมาเพียง 3 ปี ก็สามารถดึงดูดนักลงทุนเอกชนจากหลากหลายอุตสาหกรรมธุรกิจ ให้มาลงทุนในอุตสาหกรรมด้านอวกาศทั้ง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), กลุ่ม Dow Chemical, SCG กลุ่มธุรกิจเอกชน และกลุ่มนักลงทุนรายย่อยอื่น ๆ ที่ผลักดันมูลค่าของบริษัทเพิ่มขึ้นสูงกว่า 3,000 ล้านบาท สำหรับการระดมทุนในระดับ Series B


โดยเงินลงทุนที่ได้จากการระดมทุนในรอบนี้ mu Space จะนำไปใช้สำหรับการเร่งสร้างโรงงานขนาดใหญ่ต่อไป เพื่อที่จะผลิตชิ้นส่วนและสร้างยานอวกาศลำแรกของประเทศไทยรวมถึงการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียม และยานอวกาศสำหรับใช้ในประเทศเพื่อการส่งออก พัฒนาและทดสอบหุ่นยนต์และระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับยานพาหนะไร้คนขับบนดวงจันทร์ ด้วยการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ภายในโรงงาน


ถาม: จริงๆ แล้วเป้าหมายของ mu Space คืออะไรคะ?


คุณศุภณัชย์ ลิมจิตติ วิศวกรอาวุโสด้านซอฟต์แวร์ บริษัท mu Space Crop


จริงๆ แล้วเป้าหมายของ Mu space คือการไปเหยียบดวงจันทร์ภายในปี 2028 นะครับ ซึ่งจะเห็นว่าเทคโนโลยี โปรดัคต่างๆ ที่เรา DEVELOP ขึ้นมาระดับต่างๆในช่วงนี้ก็คือจะนำไปสู่การที่เร าให้เอเนเบิลให้เราสามารถไปเหยียบดวงจันทร์ได้ภายในปี 2028 ครับ


ยกตัวอย่างเช่นตัวจรวดหรือว่าเป็นสเปคซิฟที่มีการพัฒนาอยู่เนี้ย

ก็จะเป็นตัวเซคคึนสเตช หรือว่าเป็นตัวแคปซูลที่จะสามารถพาคนแล้วก็คาร์โก้ไปถึงดวงจันทร์ได้ครับ


ลงไปสำรวจเลยครับ จริงจริงแล้วหลังจากลงไปสำรวจดวงจันทร์แล้วเราก็มีเป้าหมายที่จะไปโคโรไนซ์ดวงจันทร์ครับไปโคโรนี้อยู่ที่นู่นครับ


เป็นโคโรนี้ครับ เหมือนกับว่าไปสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยให้คนอยู่ได้ จัสสเตเนเบิลบนดวงจันทร์เลย ก็ตอนนี้จะเป็นการพัฒนาชิ้นส่วนต่างๆที่มันจะเอามาประกอบกันเพื่อไปสู่ moon Mission นะครับอย่างที่เราเน้นทำอยู่ตอนนี้เลยก็คือเป็นการเขียน proposal ส่งให้กับทางนาซ่าครับ เพื่อจะบิดโปรเจคต่างๆที่จะเข้าไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการอะไทมิสของ NASA ครับ


คุณบริณต หงษ์ดิลกกุล วิศวกรด้านอวกาศ บริษัท mu Space Corp


ถ้าพูดถึงในศักยภาพศักยภาพของประเทศไทยครับก็คือว่าตำแหน่งที่ตั้งของเมืองไทย เหมาะสำหรับการสร้างตัวฐานปล่อยจรวดเพราะว่าฐานปล่อยจรวดยิ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลกเนี่ยก็จะยิ่งมีแรงโน้มถ่วงของโลกช่วยช่วยเหวี่ยงให้จรวดสามารถเคลื่อนที่ได้ ที่นี่พอตัวแรงโน้มถ่วงมาช่วยมันก็จะประหยัดน้ำมัน

ซึ่งตำแหน่งของประเทศไทยก็คือมีความเหมาะสมในการพัฒนาตัวฐานปล่อยจรวดตรงนี้ 


แล้วก็นอกจากนี้อุตสาหกรรมเมืองไทยที่มีก็เป็นปัจจุบันก็ทราบกันดีอยู่แล้วใช่ไหมครับว่าประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของรถยนต์ต่างๆตรงนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีอยู่แล้วเราสามารถต่อยอดศักยภาพตรงนี้ไปพัฒนาเพิ่มเติมเป็นอุตสาหกรรมอวกาศได้ครับ ก็คือมองว่าเราสามารถต่อยอดอุตสาหกรรมรถยนต์ไปเป็นอุตสาหกรรมอวกาศได้   


ปัจจุบัน mu Space กำลังเตรียมความพร้อมที่จะเข้าประมูลโครงการอวกาศขององค์การนาซ่า อีก 8 โครงการ ในช่วงต้นปี 2564 


ขณะเดียวกัน ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยี Space IDC ซึ่งเป็น Data Center บนอวกาศ ที่มิวสเปซจะทำการทดสอบระบบจำลองภายในไตรมาสแรกของปี 2564 นี้


ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง มิว สเปซ คอร์ป และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการศูนย์กลางข้อมูล (Data Center) ที่อยู่นอกชั้นบรรยากาศของโลก


ถาม: Datacenter บนดาวเทียม แตกต่างจาก datacenter ทั่วไปยังไงคะ?


คุณบริณต หงษ์ดิลกกุล วิศวกรด้านอวกาศ บริษัท mu Space Corp


ตัว datacenter ในอวกาศ ก็จะมีข้อดีหลายๆอย่างด้วยกันก็คือเรื่องของการสื่อสารปัจจุบันนะครับ ถ้า datacenter มันตั้งอยู่ที่ตั้งอยู่บนโลกใช่ไหมครับ เขาก็จะใช้สายเคเบิลในการส่งข้อมูล แต่ว่าตรงนี้ถ้าตัว datacenterไปอยู่ในอวกาศมันจะสามารถส่งข้อมูลจากอวกาศจนถึงพื้นโลกเนี่ยได้เร็วกว่าสายเคเบิล 


ข้อที่ 2 เลยก็คือเรื่องของความปลอดภัยก็คือไม่มีใครสามารถขโมยข้อมูลได้จริงๆ เพราะว่าถ้าจะทำลายตัวข้อมูลก็คือต้องยิงจรวดใส่ไปเท่านั้น สมมุติถ้า datacenter อยู่บนโลกใช่ไหมครับ มันก็ยังมีคนที่สามารถบุกเข้าไปทำลายหรือว่าบุกเข้าไปปล้นข้อมูลตรงนี้ได้ 


แล้วก็เรื่องสุดท้ายก็จริงๆมีอีกหลายประโยชน์เหมือนกัน อันนี้เป็นตัวอย่างที่สำคัญเรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องของค่า Maintenance ของตัว Space IDC ปัจจุบัน datacenter ต่างๆ จะตั้งอยู่ที่ทางประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น อย่างเช่นแถบสแกนดิเนเวียหรือว่าแถบอเมริกาเหนือเพราะว่าตัวคอมพิวเตอร์เนี่ยมันจะสร้างความร้อนขึ้นมาตรงความร้อนตรงนี้ ก็คือจะต้องถูกควบคุมให้อุณหภูมิคอมพิวเตอร์อยู่ระดับปกติ ก็หมายความว่าจะต้องเปิดแอร์ตลอดเวลาพอเปิดแอร์ตลอดเวลาปุ๊บมันก็จะมีเสียค่าไฟ มันก็จะมีค่า Maintenance ที่ส่งผลเสียตามมา


แต่ว่าถ้าเราส่ง datacenter ขึ้นไปในอวกาศ อุณหภูมิอากาศมันอยู่ที่ประมาณติดลบกว่า 200 กว่าองศาเซลเซียส ซึ่งทำให้เรื่องของอุณหภูมิตรงนี้ ซึ่งทำให้เรื่องของค่าบำรุงรักษาตรงนี้จะหายไปครับ


การสำรวจอวกาศไม่ว่าจะเป็นดวงจันทร์หรือดาวอังคาร ต่างจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่ต้องใช้ทั้งระยะเวลาและความสามารถในการทุ่มเทพัฒนาเพื่อให้ไปถึงจุดหมาย 


นับว่าเป็นเรื่องน่าภูมิใจว่าวันนี้คนไทยก็มีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศไม่แพ้ชาติอื่น ทางรายการ TNN Tech Reports และผู้ชมก็ขอเป็นกำลังใจให้ mu Space สามารถปฏิบัติภารกิจสู่ดวงจันทร์ภายใน 8 ปีข้างหน้าได้ตามเป้าหมายค่ะ





ข่าวที่เกี่ยวข้อง