รีเซต

“เยาวราช” จะไม่เกิดขึ้น หาก “สำเพ็ง” ไม่เกิดไฟไหม้ จนราบเป็นหน้ากลอง

“เยาวราช” จะไม่เกิดขึ้น หาก “สำเพ็ง” ไม่เกิดไฟไหม้  จนราบเป็นหน้ากลอง
TNN ช่อง16
28 มิถุนายน 2567 ( 13:03 )
37
“เยาวราช” จะไม่เกิดขึ้น หาก “สำเพ็ง” ไม่เกิดไฟไหม้  จนราบเป็นหน้ากลอง

“เยาวราช” คือ “ไชน่าทาวน์” ที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกจะต้องมาเยือน ไม่เว้นแม้แต่ชาวจีน ไม่ว่าจะมาลิ้มลองอาหารเลิศรส เสพกลิ่นอายวัฒนธรรมแผ่นดินใหญ่ หรือมาถ่ายรูปกับป้ายไฟสุดคลาสสิค ขนาด “ลิซ่า (LISA)” ศิลปินหญิงชื่อดัง ยังต้องใช้เป็นฉากหลัง MV ซิงเกิ้ลแรกในค่ายเพลงใหม่ของตนเอง นามว่า “Lisa Rockstar” เลย


แต่น้อยคนจะทราบว่า จริง ๆ แล้ว หากไม่ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นที่ “สำเพ็ง” ซึ่งบ่อยครั้ง เพลิงเผาไหม้จนราบเป็นหน้ากลอง เยาวราชจะไม่มีทางเกิดขึ้น


เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อครั้งต้องการสร้างพระบรมมหาราชวัง จึงได้ทำการเวนคืนบริเวณชุมชนจีนดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ตรงนั้น โดยจัดหาให้ไปอยู่บริเวณวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัดสำเพ็งแทน


ตั้งแต่นั้น ย่านสำเพ็ง จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งการค้าสำคัญของชาวจีนในสยาม ทั้งยังมีการประกอบกิจการสถานบันเทิงเริงรมย์ตามมาอีก


แต่ย่านนี้ขาดการบริหารจัดการที่เหมาะสม และมีความแออัดของผู้คน ทั้งยังสร้างอาคารบ้านเรือนด้วยไผ่และหญ้าแฝกเป็นหลัก ทำให้ติดไฟง่าย สำเพ็งจึงเกิดเหตุเพลิงไหม้บ่อยครั้ง จนเกิดเป็นสำนวนในวงการมวยว่า “ไฟไหม้สำเพ็ง” ที่หมายถึง พลิกล็อคถล่มทลาย ซึ่งเปรียบกับการพนันมวยฝ่ายได้เปรียบ แต่กลับแพ้ฝ่ายเสียเปรียบ จนทำให้ผู้เล่นพนันหมดเนื้อสิ้นตัว แบบที่ชาวจีนในสำเพ็งสิ้นเนื้อประดาตัวจากไฟไหม้


ไฟไหม้สำเพ็งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดบ่อยครั้ง แก้ปัญหาได้ยาก และสิ้นเปลืองงบประมาณมากในการซ่อมแซม ฟื้นฟูชุมชน


กระทั่ง พ.ศ. 2435 สมัยรัชกาลที่ 5 จึงดำริให้ขยายชุมชนจีนออกไปโดยการตัดถนนใหม่ชื่อ “ยุพราช” แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2443 ทั้งยังมีการสร้างตึกแถว และให้ชาวจีนในสำเพ็งทะยอยออกมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่งนี้ ก่อนที่ชื่อเรียกถนนจะกลายมาเป็นเยาวราชแบบในปัจจุบัน


Chronicles by วิศรุต หล่าสกุล [เฮย์เดน วิศว์]

แหล่งอ้างอิง




ข่าวที่เกี่ยวข้อง