รีเซต

เปิดใจ อสม. หลังจากสภาพัฒน์ฯเสนอหั่นงบค่าตอบแทน

เปิดใจ อสม. หลังจากสภาพัฒน์ฯเสนอหั่นงบค่าตอบแทน
TNN ช่อง16
26 กรกฎาคม 2563 ( 14:26 )
141
เปิดใจ อสม. หลังจากสภาพัฒน์ฯเสนอหั่นงบค่าตอบแทน

วันที่ ( 26 ก.ค.63) ที่โรงแรมเดอะเล็คกาซี่ ถ.งามวงศ์วาน 23 อ.เมือง จ.นนทบุรี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทยร่วมกับภาคีเครือข่าย อสม. 77 จังหวัด ตั้งโต๊ะแถลง เรื่องสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาตัดลดค่าตอบแทนของอาสาสมัครสาธารณสุขในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ได้รับการจัดสรรของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 500 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 19 เดือน ซึ่งทางสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะตัดลดลงเหลือแค่ 6 เดือนให้เหมือนกับของกำนันผู้ใหญ่บ้าน

นายจำรัส คำรอด ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ระบว่า อยากทำความเข้าใจกับสภาพัฒน์ฯ จากกระแสข่าวที่ออกมาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จะมีการตัดค่าตอบแทนของพี่น้อง อสม. หลังจากที่ทางรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล , นาย สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สธ. ได้ออกมาบอกพี่น้อง อสม. ว่าให้ค่าตอบแทน 19 เดือน เดือนละ 500 บาท ซึ่งพี่น้อง อสม.1 ล้าน 4 หมื่นคน ตั้งใจที่รอคอยเงินตรงนี้กันอยู่แล้ว ในนามตัวแทนอสม.แห่งประเทศไทย ขอบอกตามตรงว่า ไม่ได้จะมาเรียกร้องเงิน 500 บาท แต่อยากสะท้อนให้สภาพัฒน์ฯเห็นว่าการ ทำงานของ อสม. มีความยากลำบากอย่างไร อยากฝากว่าถ้ามีเวทีพูดคุย ทางอสม. จะส่งตัวแทนไปร่วมพูดคุยทำความเข้าใจกันดีกว่าการไปตัดงบโดยที่ทางอสม.ไม่ทราบเรื่อง


"ช่วงโควิด-19 ในช่วงแรกที่มีการแพร่ระบาด ทุกคนตื่นตระหนกถึงโรคดังกล่าว มีการตั้งคำถามต่างๆนาๆ เนื่องจากทำงานกันมา40กว่าปีไม่เคยเจอโรคแบบนี้มาก่อน ในการทำงาน ลงพื้นที่ อสม. จะมีพี่เลี้ยงมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการให้คำแนะนำ ความรู้ ก่อนที่อสม.จะเข้าไปปฏิบัติงาน เช่น ไปคัดกรองประชาชนในพื้นที่การดูและประชาชนที่จำเป็นต้องกักตัว14วัน หากมีการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง พี่น้อง อสม. จะทำหน้าที่เคาะประตูบ้าน สอดส่องดูแล" นายจำรัส กล่าว 

ขณะที่ อุปกรณ์การป้องกันในช่วงแรกยังขาดแคลน อสม.ในแต่ละพื้นที่ต้องนำเงินส่วนตัวมาใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์คัดกรอง เช่น เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิฯ

- ปัญหาและอุปสรรคการทำงานของ อสม. 

โดยที่ผ่านมาพี่น้อง อสม. จะเจอปัญหาเยอะ เช่น คนต่างจังหวัดไม่เข้าใจพี่น้อง อสม. ว่ามายุ่งอะไรกับพวกเขาและก็มีหลายประเด็นที่พี่น้องอสม.ต้อง อดทนไม่อยากให้โรคนี้ได้เกิดในการคัดกรอง พอเราไปเจอคนที่ต้องสงสัย เราจะมีเทอร์โมแสกนในการวัดไข้ หากพบว่าเกิน37.5 เรามีความจำเป็นที่จะต้องส่งคนกลุ่มเสี่ยงไปยังรพ.สต. โดยจะมีการจดบันทึกรายละเอียด สอบถามผ่านช่องทางไลน์ หรือ โทรสอบถามเป็นระยะ 


-หลังจากออกมาแถลงข่าว กลัวสังคมจะมองหรือไม่ ว่าอสม. ต้องการเงิน

ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ระบุว่า ต้องทำความเข้าใจว่าพวกเราทำงานเสี่ยงภัยโควิด-19 เป็นโรคที่ร้ายแรง การที่เราออกมาแถลงข่าวเราไม่ได้จะมาต่อรอง แต่เราอยากให้สภาพัฒน์เห็นใจพี่น้อง อสม. ที่ทำงานหนักและเสียงภัยจริงๆ ไม่มีใครอยากออกมาติดเชื้อ อีกมุมมองหนึ่งส่วนตัวผมก็คิดอยู่ว่าการสะท้อนออกมาไหม แต่พอได้มีการคุยกับ อสม. ในหลายจังหวัดแล้วเห็นตรงกันว่า ต้องออกมาแสดงความคิดเห็นและเคลื่อนไหว เพื่อให้สภาพัฒน์ได้รู้ว่าอสม.ทำงานยากลำบาคอย่างไร

- ความเสี่ยง ที่อสม. ต้องเจอในช่วงโควิด-19

ความเสี่ยงที่อสม. ต้องพบเจอจากการทำงาน คือ 1.พบเจอกับคนที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ เจอตนที่เดินทางกลับมาจากต่างจังหวัด โดยที่เราไม่รู้ว่าพวกเขาติดเชื้อมาหรือไม่การที่เราเข้าไป เราไม่มีอุปกรณ์การป้องกัน ในช่วงแรกเลย ต้องหากันเอง ไปด้วยใจ มีความกลัว ไปด้วยกันเป็นทีม สิ่งที่เรากลัว คือคนต่างหวัดที่จะเข้ามาในพื้นที่ บางทีไปอยู่ต่างจังหวัดนานๆแล้วกลับมาบ้าน ไม่ได้มีการสื่อสาร ทำความเข้าใจ บางคนรวมกลุ่มกินเหล้า เขาก็ด่าอสม. ทำให้เราคิดว่า เราทำดีแล้วทำไมมีคนมาต่อว่าอีก เป็นประเด็นหลักที่ทำให้เราเสียขวัญกำลังใจ 2. การเข้าไปแต่ละบ้าน เราไม่รู้ว่าบ้านไหนมีอันตรายอะไรบ้าง อสม.หลายคนเข้าไปโดนสุนัขกัด บางคนเกิดอุบัติเหตุ รถล้มก็มี

- อายุของอสม.ในการทำงานช่วงโควิด-19

อสม.ที่ทำงานโควิด-19 อายุ70ขึ้นไป จะให้พักการทำงาน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงรวมถึงอสม. ที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน โดย อสม.ที่ร่างกายแข็งแรง ใจพร้อมก็จะให้ทำงานแต่กำชับให้ระมัดระวังตัวเอง ส่วนใหญ่อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 55 ปี 


- อสม. จะยื่นเรื่องถึงรัฐบาลถึงการทำงานอสม. มีประเด็นหลักคืออะไร

โดย วันที่ 29 ก.ค.นี้ อสม.จะไปยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้กำลังใจ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ช่วยผลักดัน อสม. รวมถึงให้รัฐบาลเข้าใจ รับรู้ ปัญหาและอุปสรรค รายละเอียดกระบวนการทำงานต่างๆของอสม.

ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ำชัดเจนว่า จะผลักดันให้ค่าตอบแทน อสม. 19 เดือน ตามกรอบระยะเวลาของ พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ที่เริ่มต้น ตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2563 –กันยายน 2564

แต่หากสภาพัฒน์ฯ เสนอมาจะต้องมีการคุยหารือในคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ทุกคนได้ทราบเหตุผล ที่สำคัญ และ ไม่ควรเอางบของ อสม.ไปเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"อนุทิน" ฉุน สภาพัฒน์ ตัดงบ อสม. - ชง ครม.ปรับคืนตามเดิม

"สาธิต" ชวน "อสม.-อสส.-รพ.สต." เที่ยวปันสุขแพคเกจกำลังใจ


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง