รีเซต

จุดสังเกต “โหรา” กับ “ออดิบ” พืชริมรั้วภัยใกล้ตัว ไม่ชัวร์อย่าแกง

จุดสังเกต “โหรา” กับ “ออดิบ” พืชริมรั้วภัยใกล้ตัว ไม่ชัวร์อย่าแกง
เทคโนโลยีชาวบ้าน
12 พฤศจิกายน 2564 ( 11:01 )
440

เมื่อสองถึงสามปีที่ผ่านมา มีข่าวว่าผู้หญิงคนหนึ่งสั่งแกงส้มปลาใส่อ้อดิบกับไก่ต้มขมิ้นมากิน

 

เพียงแค่กินคำแรกก็ได้เรื่อง หลังจากเคี้ยวกินมีความรู้สึกแปลกๆ ในปาก แสบเริ่มชา ความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนในปากแล้ว ลามถึงในลำคอ จนต้องนำส่งโรงพยาบาล

 

หลังจากสืบสาวก็ได้ความว่า แม่ค้าร้านแกงไม่รู้จักหรือแยกไม่ออกระหว่าง “อ้อดิบ” กับ “บอน” ซึ่งพืชจำพวกบอนเป็นพืชพิษ ถ้าจะนำมาปรุงอาหารต้องมีความรู้และประสบการณ์อย่างดี ไม่เช่นนั้นจะเกิดอันตรายได้ง่าย

 

 

พืชตระกูลบอนอยู่ในวงศ์ Araceae จัดเป็นพืชท้องถิ่นที่พบได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย แบ่งออกเป็นชนิดที่รับประทานได้ กับไม่ได้

 

ชนิดที่รับประทานได้ ชื่อวิทยาศาสตร์Colocasia gigantea Hook.f
ภาษาท้องถิ่น :

ภาคใต้ เรียก โชน ออดิบ ออกดิบ
ภาคกลาง เรียก คูน
ภาคเหนือ เรียก กระดาดขาว หรือตูน

ชนิดรับประทานไม่ได้ ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Alocasia macrorhiza Schott
ภาษาท้องถิ่น :
ภาคใต้ เรียก โหราหรือเอาะลาย
ภาคกลาง เรียก กระดาดดำ
ภาคเหนือ เรียก บึมปื้อ

 

สารพิษที่อยู่ในบอนชนิดที่รับประทานไม่ได้มีชื่อว่า Calcium Oxalate ซึ่งเป็นผลึกรูปเข็มไม่ละลายน้ำพบ
มากที่ในส่วนน้ำยางใสบริเวณลำต้น และใบ

 

อาการของพิษ หากสัมผัสจะทำให้เกิดการระคายเคือง เป็นผื่นคัน หากรับประทาน จะทำให้เกิดการ
ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร

 

วิธีการสังเกต “ต้นโหรา” และ “ออดิบ”

 

ลักษณะใบ

 

 

ต้นโหรา (กินไม่ได้) ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวเข้มและหนา ลักษณะคล้ายรูปร่างคล้ายตาลปัตร

 

 

โชน หรือ ออดิบ (กินได้) ใบมีขนาดเล็กสีเขียวอ่อนและบาง ลักษณะคล้ายรูปร่างคล้ายลูกศร

 

วิธีปฏิบัติก่อนนำมารับประทาน
1. นำบอนมาแช่หรือปรุงรสในน้ำส้มสายชู น้ำมะขามเปียก
2. ล้างด้วยนำเปล่าหลายครั้งๆ
3. นำพืชตระกูลบอนมาผ่านกระบวนการให้ความร้อน เช่น การต้ม, การเผา

 

การรักษา
1. หากสัมผัสน้ำยาง ให้ล้างออกโดยใช้น้ำสบู่ชะล้างหลายๆ ครั้ง แล้วนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
2. หากรับประทานส่วนของพืชที่มีน้ำยาง ให้ล้างปาก โดยการดื่มน้ำมากๆ ดื่มนมเย็น ไอศกรีม ให้รับประทานอาหารเหลว เช่น ข้าวต้ม และโจ๊ก งดรับประทานอาหารรสจัด จนอาการทุเลาลง ที่สำคัญ ไม่ควรทำให้อาเจียน เพราะจะทำให้สารพิษสัมผัสกับเยื่อบุปาก และลำคออีกครั้ง

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง