สิงคโปร์จ่อเก็บภาษี 'เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน' เริ่มปี 2026
(แฟ้มภาพซินหัว : รูปปั้นเมอร์ไลออนที่สวนสาธารณะเมอร์ไลออน พาร์ก ในสิงคโปร์ วันที่ 15 ก.ย. 2022)
สิงคโปร์, 19 ก.พ. (ซินหัว) -- แบบพิมพ์เขียวศูนย์กลางการบินยั่งยืนแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเปิดตัวในวันจันทร์ (19 ก.พ.) ระบุว่าผู้โดยสารที่เดินทางออกจากสิงคโปร์จะต้องจ่ายค่าโดยสารสูงขึ้น เนื่องจากสิงคโปร์จะจัดเก็บภาษีเพื่อขยายการใช้งานเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนตั้งแต่ปี 2026 เป็นต้นไประหว่างการเปิดตัวแบบพิมพ์เขียวดังกล่าวที่การประชุมสุดยอดการบินชางงี ปี 2024 ชีฮงทาต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของสิงคโปร์ ระบุว่าสิงคโปร์ให้คำมั่นบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ซึ่งเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนจะมีส่วนส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่จำเป็นถึงสองในสามชีกล่าวว่าสิงคโปร์จะกำหนดให้เที่ยวบินขาออกใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนตั้งแต่ปี 2026 และเพิ่มเป้าหมายการใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวจากร้อยละ 1 ในปี 2026 เป็นร้อยละ 3-5 ในปี 2030ปัจจุบันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนที่ทำมาจากวัตถุดิบที่ไม่ใช่ปิโตรเลียม อาทิ ขยะอาหาร มีราคาสูงกว่าน้ำมันอากาศยานดั้งเดิมราว 3-5 เท่าชีกล่าวทิ้งท้ายว่าสิงคโปร์จะดำเนินการจัดเก็บภาษีคงที่ตามเป้าหมายและราคาคาดการณ์ของเชื้อเพลิงข้างต้น เพื่อกำหนดตัวเลขราคาที่แน่นอนสำหรับสายการบินและนักเดินทางราคาบัตรโดยสารที่นั่งชั้นประหยัดบนเที่ยวบินตรงจากสิงคโปร์สู่กรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้น 3 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 80 บาท) หลังจากจัดเก็บภาษีเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน ขณะที่ผู้โดยสารชั้นพรีเมียมจะต้องจ่ายภาษีสูงขึ้น ส่วนรายละเอียดการจัดเก็บภาษีเชื้อเพลิงนี้จะประกาศให้ทราบในปี 2025 ต่อไป