รีเซต

นักวิจัยพบผลป้องกัน Pfizer ในโควิด "โอไมครอน" ลดลงกว่า 40 เท่า

นักวิจัยพบผลป้องกัน Pfizer ในโควิด "โอไมครอน" ลดลงกว่า 40 เท่า
TNN ช่อง16
8 ธันวาคม 2564 ( 16:48 )
31
นักวิจัยพบผลป้องกัน Pfizer ในโควิด "โอไมครอน" ลดลงกว่า 40 เท่า
สถาบันวิจัยด้านสุขภาพแอฟริกาในประเทศแอฟริกาใต้ เปิดเผยผลการทดลองในห้องปฏิบัติการใหม่ล่าสุดว่า โควิด-19 กลายพันธุ์ Omicron สามารถหลบรอดได้บางส่วน จากการคุ้มครองที่ได้จากการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของบริษัท Pfizer/BioNtech 

--Pfizer ทำงานน้อยลง 41 เท่า--

ศาสตราจารย์ อเล็กซ์ ซิกัล หัวหน้านักวิจัยห้องปฏิบัติการแห่งสถาบันวิจัยสุขภาพของแอฟริกาในแอฟริกาใต้ ระบุเมื่อวานนี้ (7 ธันวาคม) ว่า ผลการศึกษาล่าสุดของทางสถาบันฯ พบว่า ไวรัสกลายพันธุ์ Omicron ไม่ได้หลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีนวัคซีน Pfizer/BioNTech ที่ฉีดครบ 2 เข็ม ได้โดยสิ้นเชิง แต่พบว่า ภูมิคุ้มกันที่ลบล้างฤทธิ์ของตัวกลายพันธุ์ "โอไมครอน" เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อเกือบ 2 ปีก่อนนั้น... "ลดลงอย่างมาก" ถึงราว 41 เท่า 

ศาสตราจารย์ ซิกัล ย้ำว่า เป็นการลดลงของภูมิคุ้มกันบางส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ... โดยนับเป็นการทดลองประสิทธิภาพของวัคซีนต่อไวรัสกลายพันธุ์ตัวใหม่นี้เป็นครั้งแรก นับตั้่งแต่ที่เริ่มพบเชื้อเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา 

--ผลการทดลองจากผู้ฉีด Pfizer 2 เข็ม--

สำหรับการทดลองนี้ เป็นการทดสอบตัวอย่างเลือดในห้องปฏิบัติการของบุคคล 12 ราย (ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างที่น้อยมาก ๆ) ที่ฉีดวัคซีน Pfizer/BioNTech ครบ 2 เข็มแล้ว.. และพบว่ามีตัวอย่างเลือดจากคน5 คนใน 6 คนเท่านั้น ที่เคยได้รับวัคซีนต้านโควิดของ Pfizer มาแล้วหรือเคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน ที่สามารถกำจัดเชื้อโอไมครอน โดยทำให้เชื้อมีผลเป็นกลางได้ 

แต่ข้อมูลเบื้องต้นนี้ ยังไม่ผ่านการทบทวนโดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด 

--เชื่อมีเคสติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนมากขึ้น--

ศาสตราจารย์ซิกัลระบุด้วยว่า ตัวเลขการลดลงของระดับแอนติบอดี้ดังกล่าว อาจเปลี่ยนแปลงไปได้อีก หลังจากห้องปฏิบัติการของเขากำลังทำการทดลองในเรื่องนี้เพิ่มขึ้น 

ศาตราจารย์ซิกัลเชื่อว่าจากการทดลองเบื้องต้นนี้ จะทำให้มีเคส breakthrough หรือการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนได้มากขึ้นอีก ดังนั้น การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น จะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อได้ โดยเฉพาะการติดเชื้อแล้วอาการรุนแรง และอยากกระตุ้นให้คนที่ยังไม่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น จงออกไปฉีดให้เร็ว หรือคนที่เคยติดเชื้อแล้ว ก็จงรีบไปฉีดวัคซีนเพิ่มด้วย

--ตัวแปรการศึกษาภูมิคุ้มกันยังไม่ครบถ้วน--

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าระดับของแอนติบอดี้ที่กำจัดเชื้อไวรัสโดยทำให้เชื้อเป็นกลางนั้น จะเป็นตัวชี้วัดถึงการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย แต่ก็เป็นเพียงหนึ่งในตัวชี้วัดเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่า นอกจากแอนติบอดี้แล้ว ยังมีเซลล์อย่าง “B-cell” และ “T-cell” ที่ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้สร้างขึ้นมาหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน ที่สามารถช่วยคุ้มครองร่างกายจากเชื้อไวรัสโคโรนาได้อีกด้วย ทั้งนี้ โควิด-19 เป็นหนึ่งในไวรัสประเภทไวรัสโคโรนา

แต่การทดลองเบื้องต้นนี้ ทาง Pfizer/BioNtech ผู้ผลิตวัคซีนสัญชาติอเมริกัน ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นแต่อย่างใด 
—————
แปล-เรียบเรียง: ภัทร จินตนะกุล
ภาพ: Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง