‘สุริยะ’ หนุนพัฒนาภาคอุตสาหกรรม 6 ด้าน สู่ศักยภาพใหม่
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา สู่ศักยภาพใหม่ : Thailand 2022 พร้อมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ สู่ศักยภาพใหม่ : Thailand 2022 จัดโดยหนังสือพิมพ์มติชน ตอนหนึ่ง ว่า ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมของโลก เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากขึ้นกว่าในอดีต ดังนั้นภาคธุรกิจอุตสาหกรรม จําเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงภายหลัง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และแสวงหาโอกาสจากการปรับไปสู่รูปแบบชีวิตวิถีใหม หรือนิวนอร์มอล โดยในส่วนของภาครัฐ จะทําหน้าที่หลักในการสร้างปัจจัยแวดล้อมให้เอื้ออํานวยต่อการพัฒนา เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการดําเนินนโยบายเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งเสริมการผลิตและการส่งออกสินค้า พร้มผลักดันศักยภาพที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นภายในประเทศ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร และเริ่มมีบทบาทสําคัญทําให้เกิดกระแสการอนุรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่มุ่งสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
ทั้งนี้ สําหรับบริบทของการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม แนวนโยบายด้านการ พัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของ ปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก และเป็นเครื่องยนต์สําคัญในการขับเคลื่อน ศักยภาพประเทศ จะมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างมูลค่าที่เติบโตบนฐานนวัตกรรม องค์ความรู้ เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และมีการพัฒนาที่ยั่งยืนตามโมเดล อุตสาหกรรมรายสาขาที่มีบทบาทสําคัญภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน และเป็น อุตสาหกรรมที่จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยได้ในอนาคต อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร และแปรรูปเกษตร อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์ เป็นต้น
นายสุริยะ กล่าวย้ำว่า นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะบูรณาการการทํางานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านประเด็นการพัฒนาสําคัญ 6 ด้าน ได้แก่ 1. การส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในภาค เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 2.การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ (S Curve)ภายใต้ มาตรการ หรือแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับหมุดหมาย การพัฒนาตามร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมชีวภาพ ยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์
3.การพัฒนาผู้ประกอบการและภาคการผลิตไปสู่ 4.0 โดยสร้างและ พัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะ ส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชนให้มีผลิตภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมและดิจิทัล โดยดําเนินการเรื่อง Ease of Doing Business อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 4.การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG 5.การจัดตั้งและส่งเสริมการลงทุนนิคมอุตสาหกรรม ในพื้นที่เขต เศรษฐกิจพิเศษ เพื่อส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรมที่ยึดโยงกับการพัฒนาใน ระดับพื้นที่
และ 6. การยกระดับการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการที่สะดวกรวดเร็ว บูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อจัดทําบิ๊กดาต้า เพิ่มทักษะ และประสิทธิภาพบุคลากรด้านดิจิทัล รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ