รีเซต

เช็กที่นี่! "วิธีกดเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน" ผู้ถือบัตรกดเงินสดค่าน้ำ ค่าไฟ เบี้ยคนพิการ ได้

เช็กที่นี่! "วิธีกดเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน" ผู้ถือบัตรกดเงินสดค่าน้ำ ค่าไฟ เบี้ยคนพิการ ได้
Ingonn
21 กุมภาพันธ์ 2565 ( 09:55 )
20.4K

เช็กเงิน "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" หรือ "บัตรคนจน" 2565 กรมบัญชีกลาง ได้เปิดไทม์ไลน์ เงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เข้าบัญชีแล้ว โดยมีค่าใช้จ่ายที่สามารถกดเงินสด และสะสมในรอบถัดไปได้ โดยผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ยังไม่เคยกดเงินสดจากตู้ ATM สามารถทำตามขั้นตอนได้ง่ายๆ เพราะ TrueID รวบรวมมาให้หมดแล้ว


บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ดียังไง

  • สะดวก ปลอดภัย รับ-จ่ายเงินกับหน่วยงานรัฐทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  • แค่เติมเงินเข้าบัตร ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา ก็ใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ/ชำระเงินที่หน่วยงานราชการได้
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมเติมเงิน
  • เติมเงินได้ตั้งแต่ 100-30,000 บาท
  • สามารถเช็คยอดเงิน/เติมเงิน/ถอน/โอน ได้ที่เครื่อง ATM และ ADM กรุงไทย


วิธีกดเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

สำหรับวงเงินสวัสดิการแห่งรัฐสามารถกดเงินสดได้ที่ตู้ธนาคาร กรุงไทยเท่านั้น

  1. สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในตู้ ATM กดรหัสบัตร 6 หลัก
  2. เมื่อเข้าสู่หน้าเมนูหลักให้เลือกกดปุ่ม “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” (หากตู้ ATM ไม่ขึ้นปุ่มสวัสดิการแห่งรัฐ แสดงว่า ตู้ ATM นั้นไม่สามารถทํารายการต่อได้ ต้องหาตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยอื่น สำหรับใช้งานแทน)
  3. กดปุ่ม “ขอดูยอดวงเงินเหลือ” เพื่อตรวจสอบว่า มีวงเงินโอนเข้ามาหรือไม่ และยอดเงินที่สามารถกดได้คงเหลือเท่าไหร่ 
  4. จากนั้นระบบจะขึ้นการสอบถามว่า ต้องการบริการอื่นอีกหรือไม่ หากต้องการเบิกถอนเงินสดให้กดปุ่มต้องการ
  5. กลับมาหน้าเมนูหลักและให้เลือกกดปุ่ม “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”
  6. จากนั้นกดปุ่ม “ถอนเงิน” ใส่จำนวนเงินที่ต้องการและกดปุ่ม “ถูกต้อง” 
  7. ตรวจสอบข้อมูลการทำรายการให้เรียบร้อย
  8. รับเงินสดจากตู้ ATM ตามวงเงินที่กด

 

วิธีกดเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สำหรับผู้ที่ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกดเงินสดเป็นครั้งแรก

  1. ไปที่ตู้ATMธนาคารกรุงไทย(ทำได้ทุกตู้)
  2. สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเข้าตู้
  3. กดรหัส(เลขบัตรประชาชน6ตัวท้าย)
  4. กดปุ่มที่ระบุว่า "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ"มุมซ้ายของตู้
  5. กดปุ่มที่ระบุว่า "เปลี่ยนรหัส"มุมบนสุดด้านซ้าย
  6. หน้าจอให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์(ไม่ต้องใส่) ให้กดปุ่มที่ระบุว่า "ดำเนินการต่อ"
  7. ใส่รหัส 6 หลัก ที่คิดว่าง่ายต่อการจดจำของเรา(รหัสนี้จะอยู่คู่กับบัตรตลอดไป)
  8. กดรหัส6หลักเพื่อยืนยันอีกครั้ง
  9. ระบบจะแจ้งว่าดำเนินการเรียบร้อย
  10. กดปุ่มที่ระบุว่า "ไม่ดำเนินการต่อ"เพื่อนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐออกมาจากตู้


ลืมรหัสบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กดเงินสดอย่างไร

  1. สอดบัตรที่ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย ที่เข้ารวมโครงการบัตรคนจนหรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  2. กรอกตัวเลข 6 หลัก อะไรก็ได้ กดตกลง 
  3. ตู้ ATM จะแสดงว่ารหัสไม่ถูกต้องให้เลือก "ลืมรหัสคู่บัตร"
  4. จากนั้นให้ กดตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ และกดยืนยัน
  5. ตั้งรหัสคู่บัตรใหม่ 6 หลัก เป็นจำนวน 2 ครั้ง (โดยทั้ง 2 ครั้งต้องเป็นรหัสเดียวกัน) เมื่อเสร็จแล้วกด ยืนยัน
  6. รอรหัส OTP ที่โทรศัพท์มือถือ นำข้อความ OTP ไปกรอก และกดยืนยันป็นอันเสร็จสิ้น

 

 


กดเงินสด บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ค่าอะไรได้บ้าง

กดเงินสด “ค่าน้ำ-ค่าไฟ” บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ทุกวันที่ 18 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

  • เงินคืนค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรฯ ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน)
  • เงินคืนค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรฯ ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินคืนค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาท ส่วนที่เกินจาก 100 บาท ผู้ถือบัตรฯ เป็นผู้ชำระเอง)

 

กดเงินสด “ค่าเบี้ยคนพิการ” บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ทุกวันที่ 22 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

  • เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรฯ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ)

 

 

 

นอกจากนี้กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ข้อมูลผู้มีรายได้น้อยที่เป็นปัจจุบัน ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการสังคมของภาครัฐให้แก่ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเริ่มดำเนินการโครงการฯ ในปี 2565 โดยครั้งนี้จะมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนและครอบครัวของผู้ลงทะเบียนด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

คุณสมบัติผู้ "ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ 2565"

  1. มีสัญชาติไทย

  2. มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 

  3. ไม่เป็นบุคคลดังต่อไปนี้ ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช ผู้ต้องขัง ผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขัง บุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ฯ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้รับบำเหน็จรายเดือน ผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา

  4. รายได้ของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง และหากมีครอบครัว รายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง (การคำนวณรายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนคำนวณได้จากการรวมรายได้ของผู้ลงทะเบียน และสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หารด้วยจำนวนบุคคลทั้งหมดในครอบครัว)

  5. ทรัพย์สินทางการเงินได้แก่ เงินฝาก สลาก พันธบัตรและตราสารหนี้ภาครัฐ ของผู้ลงทะเบียนต้องมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และหากมีครอบครัว ทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (การคำนวณทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนคำนวณได้จากการรวมมูลค่าทรัพย์สินทางการเงินของผู้ลงทะเบียน และสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หารด้วยจำนวนบุคคลทั้งหมดในครอบครัว)

  6. อสังหาริมทรัพย์ ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

    • กรณีผู้ลงทะเบียนไม่มีครอบครัว
      • ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
            1.1 กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว
               - บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถว ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา 
               - ห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร
            1.2 กรณีเป็นที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่
      • ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย
            2.1 ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่
            2.2 ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่

    • กรณีผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว
      • ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
            1.1) กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว
                  1.1.1) กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของที่ดิน ที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถวแยกจากกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินของลงทะเบียนและคู่สมรสแต่ละคนต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา
                            กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของที่ดินที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถวร่วมกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสรวมกันต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา 
                  1.1.2) กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของห้องชุดแยกจากกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสแต่ละคนต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร
                            กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของห้องชุดร่วมกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสรวมกันต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร

              1.2) กรณีเป็นที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 20 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่ 

        2) ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย
            2.1) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่
            2.2) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 20 ไร่

  7. ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีบัตรเครดิต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
    ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ไม่เกินหลักเกณฑ์ ดังนี้ 
    • วงเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท 
    • วงเงินกู้สำหรับยานพาหนะรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท

 

ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 เมื่อไหร่

ช่วงเวลาการเริ่มลงทะเบียนประมาณกลางปี 2565 โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มสวัสดิการใหม่ให้แก่ผู้ผ่านสิทธิช่วงปลายปี 2565 หรือประมาณ 1 ตุลาคม 2565 ซึ่งจะเป็นการใช้บัตรประชาชนแทนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาผู้มีรายได้น้อยที่ไม่ได้บัตรสวัสดิการฯ และปัญหาผู้มีบัตรฯ ที่ไม่ควรได้รับสิทธิ จะมีการเปิดรับลงทะเบียน ตามโครงการฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ จะมีการดำเนินการตรวจสอบ คุณสมบัติและตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทะเบียน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อีกด้วย

 

ทั้งนี้ รายละเอียดการดำเนินโครงการฯ ต่าง ๆ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมเป็นผู้กำหนด ซึ่งจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไป

 

 

 

ข้อมูลจาก สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station , ศูนย์ข้อมูล COVID-19 , ธนาคารกรุงไทย , สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง