'ดวงตาจักรวาล' ของจีน พบ 'สนามแม่เหล็ก' ระหว่างดวงดาว
ปักกิ่ง, 6 ม.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิทยาศาสตร์จีนใช้ฟาสต์ (FAST) กล้องโทรทรรศน์วิทยุจานรับสัญญาณเดี่ยวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 500 เมตร หรือ "ดวงตาจักรวาลจีน" (China Sky Eye) ตรวจจับความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กในเมฆโมเลกุล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตัวกลางระหว่างดวงดาวที่มีแนวโน้มพร้อมก่อตัวเป็นดาว
นักวิทยาศาสตร์ใช้เทคนิคเอชไอ แนโรว์ เซลฟ์ แอบซอร์ปชัน (HI Narrow Self Absorption) หรือวิธีการตรวจสอบพื้นที่ความกดอากาศสูงที่มีศูนย์กลางเย็น ตรวจพบปรากฏการณ์ซีมาน (Zeeman effect) ซึ่งคือการที่เส้นสเปกตรัมแยกออกเป็นหลายองค์ประกอบความถี่ภายใต้สนามแม่เหล็ก โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือเดียวในการตรวจสอบความเข้มของสนามแม่เหล็กระหว่างดวงดาวโดยตรง
ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าเมฆดังกล่าวอยู่ในสภาวะวิกฤตยิ่งยวด (supercritical state) หรือจุดวิกฤตที่นำไปสู่การยุบตัวเป็นดวงดาว ซึ่งเกิดขึ้นเร็วกว่าที่สันนิษฐานไว้ก่อนหน้านี้หากอิงจากแบบจำลองมาตรฐาน โดยการศึกษาครั้งนี้เผยแพร่ผ่านวารสารวิทยาศาสตร์เนเจอร์ (Nature) ในวันพฤหัสบดี (6 ม.ค.)