รีเซต

“กรุงศรี” จัดงาน Krungsri Tech Day 2023: Together Now and Next ขนทัพนวัตกรรมโลกการเงินแห่งอนาคต

“กรุงศรี” จัดงาน Krungsri Tech Day 2023: Together Now and Next ขนทัพนวัตกรรมโลกการเงินแห่งอนาคต
TNN ช่อง16
11 ตุลาคม 2566 ( 17:04 )
342

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) เสนอภาพความเป็นผู้นำในด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง (Digital banking) ของไทย เปิดบ้านแสดงนวัตกรรมและโซลูชันที่ตอบโจทย์ผู้ใช้เป็นสำคัญ (Human-Centric Innovations) ในงาน Krungsri Tech Day 2023 : Together Now and Next  พร้อมด้วยพันธมิตรบริษัทด้านเทคโนโลยี สตาร์ตอัป และผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา

ภาพรวมการจัดกิจกรรม Krungsri Tech Day 2023 

โดยกิจกรรมภายในงาน Krungsri Tech Day 2023 ครั้งนี้ เป็นการแนะนำให้รู้จักกับเทคโนโลยีและโซลูชันทางการเงินแห่งอนาคต อาทิ การให้บริการทางการเงินแบบเปิด (Open Banking) การชำระสินค้าด้วยการสแกนใบหน้า การโอนถ่ายข้อมูลผ่านเสียง และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่างแชตบอต (Chatbot) และ ปัญญาประดิษฐ์แบบตอบโต้ได้ (Generative AI) 


ในงานยังจัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการของกรุงศรีที่เสนอให้ทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจ โครงการพิเศษที่ทาง กรุงศรี นิมเบิล (Krungsri Nimble) ซึ่งเป็นฮับ (Hub) ในการสร้างและดูแลโซลูชันด้านดิจิทัลเทคโนโลยี ร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ในการใช้เทคโนโลยี Innovation Project: VR มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ทางด้านการแพทย์ เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคกลัว (Phobia) 

อีกหนึ่งนวัตกรรมจากกรุงศรี คือ กรุงศรี ฟินโนเวต (Krungsri Finnovate) การสนับสนุนและลงทุนในเทคโนโลยีนวัตกรรมและสตาร์ตอัปทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค ร่วมแนะนำการลงทุนในกองทุนและกลุ่มสตาร์ตอัป รวมถึงโซลูชันจากพันธมิตรบริษัทด้านเทคโนโลยีระดับโลก


กรุงศรียังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ มาร่วมจัดเทคทอล์ก (Tech talk) หรือการจัดเสวนาหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีภายในงาน อาทิ ราชสุดา รังสิยากูล ผู้บริหาร PTTOR และผู้อำนวยการโครงการ Orion , คมสันต์ ลี จาก Flash Group, ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ จาก Efrastructure Group และผู้บริหารจากบริษัทสายเทคชั้นนำระดับโลกอย่าง Microsoft, Kyndryl, Beryl8


โดยตัวอย่างการเสวนาในหัวข้อ “Transformation through Partnership - พันธมิตรสร้างกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง” ได้พูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือของกรุงศรีกับพันธมิตร ซึ่งธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ AI ที่เปลี่ยนโลกว่า “ถ้าคิดว่า AI จะมาทำงานแทนเราหรือไม่มันก็จบที่ตรงนั้น” เพื่อสื่อว่าการเปลี่ยนแปลง (Transformation) คือการหากลยุทธ์ที่ทำให้ AI เข้ามาทำงานร่วมกับแรงงานและบุคลากร เพื่อให้มนุษย์มีเวลาทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น และลดการใช้ทรัพยากรลงด้วย

เทคโนโลยีการเงินคือหัวใจการให้บริการของกรุงศรี

กรุงศรีมองว่าอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารในวันนี้เปลี่ยนจากการทำธุรกรรม (Transaction Business) กลายเป็นธุรกิจที่เน้นสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า (Experience Business) หรือเรียกว่า Banking as a Service โดยยกตัวอย่างบริการ Buy Now Pay Later เป็นหนึ่งในตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเพื่อการส่งมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้าธนาคาร


นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลของกรุงศรี กล่าวว่า “ในปีนี้ กรุงศรีได้เริ่มดำเนินการพัฒนาด้านดิจิทัลเทคโนโลยีด้วยแผนการลงทุนมูลค่ากว่า 11,000 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก (Human-Centric Innovations) ”


กรุงศรีแสดงเจตจำนงขึ้นแท่นผู้นำเทคโนโลยีการเงินในไทย

นอกเหนือจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในด้านต่าง ๆ แล้ว กรุงศรียังยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีด้วยการย้ายศูนย์คอมพิวเตอร์หลักไปที่ศูนย์แห่งใหม่ ซึ่งแล้วเสร็จในช่วงไตรมาสแรกของปี 2023 ด้วยงบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท ตั้งเป้ารองรับการพัฒนาและการขยายตัวของธุรกิจใน 20 ปี ข้างหน้า 


กรุงศรี ตอบคำถามสื่อมวลชนเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล (Digital transformation) ว่าทางธนาคารกำลังดำเนินการยกระดับระบบงานหลักของธนาคาร หรือ Core Banking เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในยุคดิจิทัลแบงก์กิ้งทั้งระบบ ไม่ใช่แค่เรื่องของการทำธุรกรรมเท่านั้น ทั้งในแง่การนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์และการดำเนินงานขององค์กร รวมถึงให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) ด้วย


ในขณะเดียวกัน ทางธนาคารได้เตรียมรองรับระบบพร้อมบิซ (PromptBiz) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบที่มีพื้นฐานคล้ายคลึงกับพร้อมเพย์ (PromptPay) แต่เป็นระดับธุรกรรมสำหรับองค์กรด้วย โดยนายสยาม ประสิทธิศิริกุล มองว่าผู้ประกอบการรายย่อย (SME) จะได้รับประโยชน์จาก PromptBiz จากต้นทุนแฝงของงานเอกสาร การทำระบบชำระและวางบิล (Invoice & Payment) และช่วยเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ในอนาคต


กรุงศรี ยังมีการทดสอบโครงการ Pilot Retail CBDC ที่พัฒนาแอปพลิเคชัน CBDC Krungsri สำหรับทดสอบการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลสำหรับภาคประชาชน ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI/MI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าด้วยเช่นกัน

ที่มาข้อมูล กรุงศรี


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง