รีเซต

นักวิจัยออสซี่พบ 'หัวใจ' ปลาหุ้มเกราะยุคบรรพกาล อายุ 380 ล้านปี

นักวิจัยออสซี่พบ 'หัวใจ' ปลาหุ้มเกราะยุคบรรพกาล อายุ 380 ล้านปี
Xinhua
18 กันยายน 2565 ( 15:54 )
236
นักวิจัยออสซี่พบ 'หัวใจ' ปลาหุ้มเกราะยุคบรรพกาล อายุ 380 ล้านปี

ซิดนีย์, 18 ก.ย. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยของออสเตรเลียได้ค้นพบ "หัวใจ" อายุ 380 ล้านปี ซึ่งถือว่าเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ ในปลามีขากรรไกรจากยุคบรรพกาล รวมถึงส่วนท้อง ลำไส้ และตับที่กลายเป็นฟอสซิล ซึ่งมอบข้อมูลใหม่ด้านวิวัฒนาการทางชีววิทยาเคต ทรินาจสติก นักวิจัยจากสาขาวิชาอณูวิทยาและชีววิทยา มหาวิทยาลัยเคอร์ติน และพิพิธภัณฑ์เวสเทิร์น ออสเตรเลีย เผยว่าการค้นพบนี้พิเศษและหายากมาก เพราะเป็นการค้นพบเนื้อเยื่ออ่อนของสิ่งมีชีวิตยุคโบราณในสภาพดีแบบสามมิติ"ในฐานะนักบรรพชีวินวิทยาที่ศึกษาฟอสซิลมานานกว่า 20 ปี ดิฉันรู้สึกทึ่งจริงๆ ที่ได้ค้นพบหัวใจของบรรพบุรุษยุคโบราณอายุ 380 ล้านปี ในสภาพสวยงามแบบสามมิติ" ทรินาจสติกระบุในคำแถลง โดยการค้นพบนี้เผยแพร่ผ่านนิตยสารไซเอนซ์เมื่อวันศุกร์ (16 ก.ย.)นับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบหัวใจรูปทรงตัวเอส (S) อันสลับซับซ้อนจากอาร์โธรไดร์ (arthrodire) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายปลาที่มีขากรรไกรและเกราะหุ้มตัวจากยุคดีโวเนียน (Devonian) เมื่อ 419.2-358.9 ล้านปีก่อน โดยหัวใจนี้มี 2 ห้อง และห้องบนเล็กกว่าห้องล่างทรินาจสติกเผยว่าการค้นพบนี้ทำให้ได้รู้ว่าส่วนหัวและส่วนคอเริ่มเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับส่วนขากรรไกรอย่างไร ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในวิวัฒนาการของร่างกายมนุษย์ และทำให้เราได้เห็นอวัยวะทั้งหมดรวมกันของปลามีขากรรไกรยุคบรรพกาลที่ไม่ได้แตกต่างจากเราคณะนักวิจัยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างลำนิวตรอนและแสงซินโครตรอนสแกนสิ่งมีชีวิตตัวอย่างที่ยังคงติดอยู่ในก้อนหินปูน และสร้างภาพสามมิติของเนื้อเยื่ออ่อนภายในร่างกายของมัน โดยฟอสซิลทั้งหมดถูกรวบรวมจากภูมิภาคคิมเบอร์ลีย์ของรัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลียอนึ่ง คณะนักวิจัยผู้ทำการศึกษาได้ทำงานร่วมกับคณะนักวิทยาศาสตร์จากองค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ออสเตรเลียในนครซิดนีย์ และสถาบันรังสีซินโครตรอนยุโรปในฝรั่งเศส

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง