รีเซต

ผอ.อนามัยโลกถอด 3 บทเรียน 'โควิด-19' โลกต้องเรียนรู้

ผอ.อนามัยโลกถอด 3 บทเรียน 'โควิด-19' โลกต้องเรียนรู้
Xinhua
19 มกราคม 2564 ( 14:48 )
116

เจนีวา, 19 ม.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันจันทร์ (18 ม.ค.) ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) มอบ 3 บทเรียนแก่ประเทศสมาชิกองค์การฯ และสหประชาชาติ (UN)

 

ทีโดรสกล่าวระหว่างการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การฯ ครั้งที่ 148 ว่าสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือ "เราทุกคนต้องอ่อนน้อมถ่อมตน พร้อมเรียนรู้ เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และเติบโต"บทเรียนแรกที่ได้จากการระบาดใหญ่คือการเตรียมพร้อมและวิธีรับมือโรคระบาดใหญ่ "โรคโควิด-19 สร้างความตื่นตระหนกแก่กลุ่มประเทศร่ำรวยที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดของโลก บุกโจมตีในขณะที่พวกเขายังไม่พร้อมรับมือ และเผยให้เห็นความล้มเหลวด้านการลงทุนเพื่อเตรียมพร้อมรับเหตุฉุกเฉิน""วิธีการที่ใช้ในอดีต เช่น การประเมินร่วมกันระหว่างผู้ประเมินจากภายนอกและผู้เชี่ยวชาญภายในประเทศ (JEE) ซึ่งอ้างอิงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความพร้อมของแต่ละประเทศนั้น มีข้อดีก็จริง แต่การระบาดใหญ่ครั้งนี้สะท้อนว่าวิธีนี้ไม่มีประสิทธิภาพ" โดยทีโดรสเสนอ "กลไกใหม่เพื่อเสริมสร้างความพร้อมบนพื้นฐานของความไว้วางใจและการรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งคือการทบทวนทางสาธารณสุขและความพร้อมระดับสากล (Universal Health and Preparedness Review)"บทเรียนที่สองคือความจริงที่ว่าสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และโลกเกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้ง โดยกว่าร้อยละ 70 ของโรคใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อระหว่างคนและสัตว์ พร้อมกล่าวย้ำถึงความสำคัญของการ "ปกป้องและส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์ด้วยการยกระดับรากฐานการเฝ้าติดตามและจัดการความเสี่ยงบนจุดร่วมระหว่างมนุษย์ สัตว์ และระบบนิเวศ"มนุษย์จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาที่ "ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และโลก อาทิ การตัดไม้ทำลายป่า การเกษตร ปัญหามลพิษ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ"บทเรียนที่สามคือ "โลกต้องการองค์การอนามัยโลกที่แข็งแกร่ง" โดยกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การฯ ระบุว่า "หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ขัดขวางการเติบโตขององค์การฯ คือการไม่ได้รับเงินสนับสนุนอย่างยั่งยืนและแน่นอน"ดังนั้นทีโดรสจึงเรียกร้องมูลนิธิขององค์การฯ ระดมเงิน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 หมื่นล้านบาท) ภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยเงินส่วนนี้จะถูกนำไปใช้ในภารกิจขององค์การฯ ร้อยละ 70-80 ส่วนที่เหลือจะเป็นเงินสนับสนุนองค์กรสาธารณสุขแห่งอื่นๆ ที่ให้ความสำคัญกับประชาสังคม"หลังจากเผชิญวิกฤตยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงชีวิตของเรามาหนึ่งปี เราต่างรู้ดีว่ายังคงมีภัยร้ายแรงในปัจจุบัน" ทีโดรสกล่าว "เรายังมีโอกาสพัฒนาภาคสาธารณสุขและรากฐานของโลกที่ปลอดภัยและยุติธรรมยิ่งขึ้น"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง