รีเซต

นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสติกเกอร์เซนเซอร์ที่จะช่วยผู้ป่วย ALS สื่อสารได้ง่ายขึ้น

นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสติกเกอร์เซนเซอร์ที่จะช่วยผู้ป่วย ALS สื่อสารได้ง่ายขึ้น
TNN ช่อง16
24 ตุลาคม 2563 ( 23:50 )
177
นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสติกเกอร์เซนเซอร์ที่จะช่วยผู้ป่วย ALS สื่อสารได้ง่ายขึ้น

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Amyotrophic lateral sclerosis (ALS) เป็นความผิดปกติทางเซลล์ประสาทที่ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยจะสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อและบ่อยครั้งก็จะส่งผลไม่สามารถสื่อสารได้

ซึ่งอาจจะแก้ปัญหาด้วยการใช้วิธีติดตั้งเครื่องช่วยสื่อสาร ที่ทำงานโดยการวัดค่ากระแสไฟฟ้าของเส้นประสาทและการขยับของกล้ามเนื้อใบหน้า ด้วยวิธีการนี้เมื่อมีการขยับของกล้ามเนื้อใบหน้าเล็ก ๆ เช่น การกระตุกของแก้ม ก็จะสามารถแปลงค่าไปเป็นข้อความที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้าได้ 


ที่มาของภาพ https://images.unsplash.com/photo-1584515933487-779824d29309?ixlib=rb-1.2.1&ixid=eyJhcHBfaWQiOjEyMDd9&auto=format&fit=crop&w=1050&q=80

แต่ระบบนี้ก็ไม่ได้ใช้งานได้ดีเสมอไป เพราะจากการค้นคว้าของ MIT สถาบันเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก พบว่า ระบบนี้อาจจะไม่ได้แปลผลการเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจนและตรงความหมายเสียทีเดียว ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาจึงได้มีการค้นคว้าและสร้างอุปกรณ์ชนิดใหม่ที่มีความยืดหยุ่นสูง และราคาไม่แพง ซึ่งนอกจากจะติดลงบนใบหน้าได้แล้วยังดูเนียนไปกับผิวหน้าอีกด้วย หรืออาจจะใช้การแต่งหน้าเพื่อปกปิดให้ดูเรียบเนียนไปกับผิวยิ่งขึ้น


ที่มาของภาพ https://newatlas.com/health-wellbeing/face-sticker-sensor-als-communication/

โดยอุปกรณ์นี้เรียกว่า cFaCES ย่อมาจากconformable Facial Code Extrapolation Sensor มีส่วนประกอบของวัสดุเพียโซอิเล็กทริคจำนวนสี่ชิ้น (piezoelectric : วัสดุเซรามิกประเภทหนึ่งที่เมื่อได้รับแรงกล จะสามารถให้แรงดันไฟฟ้าได้) มีตัวเซนเซอร์ที่สร้างจากอลูมิเนียมไนไตรด์ซึ่งฝังอยู่ในแผ่นฟิล์มซิลิโคน เมื่อผู้ใช้งานยิ้ม กระตุกแก้ม หรือเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใบหน้าแบบต่าง ๆ จะส่งไปยังตัวเซนเซอร์เหล่านี้ และแปลผลออกมาเป็นข้อความต่าง ๆ กันตามที่ผู้ใช้งานตั้งไว้ 

อุปกรณ์ชิ้นนี้ได้มีการทดสอบการใช้งานจริงกับผู้ป่วย ALS สองคน ได้ผลตอบรับใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากถึง 75% ของการแสดงออกทางสีหน้าสามรูปแบบ ได้แก่ ยิ้ม เม้มปาก และอ้าปาก ซึ่งจะมีการนำเอาผลการทดลองไปพัฒนาอุปกรณ์ให้สามารถแปลข้อความได้ตรงและชัดเจนยิ่งขึ้น และเมื่อพัฒนาเสร็จสิ้นคาดว่าน่าจะมีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 10 ดอลลาร์ต่อชิ้น หรือประมาณ 300 บาทเท่านั้น

ขอบคุณข้อมูลจาก

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวที่เกี่ยวข้อง