รีเซต

วิธีใช้ถังออกซิเจนให้ปลอดภัยในยุคโควิด ที่ทุกบ้านต้องมี!

วิธีใช้ถังออกซิเจนให้ปลอดภัยในยุคโควิด ที่ทุกบ้านต้องมี!
TeaC
1 กันยายน 2564 ( 19:00 )
335

ก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์ เป็นอุปกรณ์สำคัญไม่แพ้เครื่องวัดออซิเจนปลายนิ้ว หรือชุดตรวจ ATK ที่ต้องมีติดบ้านในสถานการณ์ที่โควิดระบาดส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง บวกกับความกังวลการติดเชื้อ อุปกรณ์สำคัญเริ่มขาดแคลน เริ่มขาดตลาด ไปจนถึงการเข้าถึงการรักษาสวนทางกับจำนวนผู้ป่วย ซึ่งจะเห็นได้จากข่าวที่ผ่านมา ทั้งเตียงขาดแคลน บางคนที่ติดเชื้อต้องรักษาตัวที่บ้านมากขึ้น ดังนั้น อุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะ "ถังก๊าซออกซิเจน" ขาดแคลนและก่อนหน้านี้หลายคนซื้อกักตุนไว้ใช้ยามฉุกเฉิน

 

สาเหตุมาจากจำนวนผู้ติดเชื้อทะลุหมื่นหลายวันเข้าขั้นวิกฤตทำให้เตียงไม่พอที่จะรองรับ คนไข้ต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่บ้านก่อนในเบื้องต้น บางคนรอไม่ไหวสิ้นใจคาบ้านก็มี ถังออกซิเจนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายสถานที่ หลายบ้านเริ่มนำเข้ามาใช้ในพื้นที่อาศัยของตนเองมากขึ้น แต่หลายคนยังอาจไม่รู้รายละเอียด ข้อที่ต้องรู้ก่อนใช้ ข้อระวังในการใช้ต่าง ๆ ไปจนถึงการดูแลหลังการใช้ ถ้าผู้ใช้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ จะใช้ก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 

 

วันนี้ TrueID หยิบฮาวทูเรื่องการใช้ถังออกซิเจนมาให้ทุกคนได้ศึกษา เพื่อใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยกัน 

 

1. รู้ ก่อนใช้

 

- ก๊าซออกซิเจนโดยตัวเองไม่ติดไฟ แต่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการลุกไหม้ที่รวดเร็วและรุนแรง

- ก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์ต้องบรรจุในถังสีเขียว ที่มีสัญลักษณ์ มอก. 540-2555

- ห้ามใช้ถังที่เป็นสนิม

- ข้อต่อตรงถังต้องใช้เกลียวนอกมาตรฐาน CGA 540 เท่านั้น

- หัวอุปกรณ์ปรับลดแรงดัน ต้องใช้หัวสำหรับออกซิเจนทางการแพทย์เท่านั้น

- ควรมีถังดับเพลิงติดตั้งไว้บริเวณใกล้เคียง

 


2. ระวัง! ตอนใช้

 

- เวลาใช้งานให้วางถังแนวตั้งและยึดให้แน่น

- ระวังการเคลื่อนย้าย หากล้มกระแทกอาจระเบิดได้

- ห้ามวางถังออกซิเจนในห้องโดยสารรถ เพราะถ้าเกิดการรั่วจะเป็นอันตรายได้

- ตอนใช้งานอยู่ห่างจากห้องครัวอย่างน้อย 5 เมตร และต้องไม่อยู่ใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ เช่น สูบบุหรี่ ไดรืเป่าผม เตารีดดัดผม แผ่นทำความร้อน หรือมีดโกนไฟฟ้า

- ห้ามใช้สเปรย์ฉีด เช่น สเปรย์ปรับอากาศ หรือสเปรย์ฉีดผมใกล้ชุดจ่ายออกซิเจน เพราะละอองฝอยมีความไวไฟสูงมาก

- ไม่ใช้ครีมแลพโลชั่นที่ติดไฟได้ เช่น ไอระเหยของผลิตภัณฑ์ทาถู ปิโตรเลียมเจลลี่ หรือโลชั่นทามือที่มีส่วนผสมของน้ำมัน

- ไม่ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือขณะใช้งาน เว้นแต่จะปล่อยให้มือแห้งสนิทก่อนหยิบจับอุปกรณ์ออกซิเจน

 

3. ดูแล หลังใช้

 

- อย่าวางถังแนวนอน ให้วางตั้งและยึดกับที่ให้แน่น

- อย่าเก็บในที่ปิด เช่น ตู้เสื้อผ้า หีบ และให้ห่างจากแหล่งความร้อน เปลวไฟอย่างน้อย 1.5 เมตร

- ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ และห้ามจุดไฟ

- ปิดวาล์วให้สนิทหลังใช้และหมั่นตรวจสอบการรั่ว

- ก่อนส่งคืน ควรฆ่าเชื้อด้วยการเช็ดผิวนอกของถังด้วยแอลกอฮอล์ 70% โดยต้องแน่ใจว่าวาล์วปิดสนิทและไม่รั่วไหล

 

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว! อย่าลืมศึกษาวิธีใช้ถังออกซิเจนอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ให้เข้าใจ จะได้ใช้อย่างถูกต้อง ใช้อย่างถูกวิธี และที่สำคัญเกิดความปลอดภัยต่อตัวเอง ครอบครัว และทรัพย์สินได้ 

 

 

ข้อมูล : สสส.

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง