รีเซต

แพทย์เผยการ "นอนคว่ำ" ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้ผู้ป่วยโควิด-19

แพทย์เผยการ "นอนคว่ำ" ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้ผู้ป่วยโควิด-19
TNN ช่อง16
11 พฤษภาคม 2563 ( 15:13 )
1.4K
1
แพทย์เผยการ "นอนคว่ำ" ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้ผู้ป่วยโควิด-19

 

วันนี้( 11 พ.ค.63) นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุ ถึงการรักษาที่ผ่านมารพ.กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เตรียมเตียงไว้ทั้งหมด ประมาณ 2,000 เตียง ซึ่งยังไม่รวมเตียงในส่วนผู้ป่วยวิกฤตI CU และเตียงรพ.สนาม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโควิด-19 รักษาอยู่ในรพ.เอกชน 

 

ขณะที่สถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ผ่านมา ที่รักษาในรพ.สังกัดกรมการแพทย์ประมาณ 223 ราย แบ่งเป็นเพศชาย ร้อยละ55 เพศหญิง ร้อยละ45 อายุตั้งแต่ 5เดือน - สูงสุด 80 ปี คนไทย ร้อยละ86 ต่างชาติร้อยละ 14 โดยเสียชีวิต 6 ราย คงเหลือตอนนี้รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 12 ราย 

 

โดยผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่ รักษาอาการในโรงพยาบาลตั้งแต่ 2 - 37 วัน หรือ เฉลี่ยผู้ป่วยที่นอนรักษาในรพ.สังกัดกรมการแพทย์ ประมาณ 12.2 วัน ทั้งนี้ความสำเร็จในการรักษา จะต้องเตรียมความพร้อมมีการจัดการระบบทั้งสถานที่อุปกรณ์และทักษะของแพทย์ 

 

ขณะที่ผศ.นพ.พจน์ อินทลาภาพร อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ หัวหน้างานโรคติดเชื้อกลุ่มงานอายุศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี ระบุว่า โรงพยาบาลราชวิถีเป็นศูนย์การกระจายเตียงและการรักษาตั้งแต่มีการระบาดได้มีการรักษาผู้ป่วยโควิด-19ตั้งแต่ไม่มีอาการ จนถึงอาการรุนแรงเน้นรักษาอาการผู้ป่วยปานกลางถึงอาการหนักก่อน จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งหมด 69 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบทั้งหมดในโรงพยาบาล 33 มีปอดอักเสบรุนแรง 10 ราย รักษาหาย 64 ราย เสียชีวิต 4 ราย โดยร้อยละ 70-80 ผู้ป่วยไม่มีอาการเลย หรือ มีอาการจะน้อยมาก มีอาการเพียงร้อยละ 20 อาการรุนแรงร้อยละ 5-10 อาการแสดงตั้งแต่ มีไข้ ไอ เจ็บ คอ อีกส่วนคือ ไม่มีไข้ แต่ไอ เจ็บคอ และอาการจมูกไม่ได้กลิ่น แต่พบเพียงแค่ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยโควิด-19เท่านั้นไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งอาการจมูกไม่ได้กลิ่น สามารถพบได้ในกลุ่มผู้ป่วยไซนัสอักเสบและผู้ป่วยภูมิแพ้

 

ทั้งนี้ ยังได้อธิบายถึงการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยได้ยกตัวอย่างมา 3 ราย เริ่มจาก เพศหญิง 31 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยรายแรกที่แพทย์ให้ยาฟาวิพิลาเวียร์ โดยคนไข้เริ่มจากอาการไข้หนาวสั่น 11 วัน 5 วันเริ่มไอ เหนื่อย แอทมิทรพ.เอกชน อาการไม่ดีขึ้นส่งต่อมายังรพ.รัฐ โดยหลังจากให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิลาเวียร์และยาชนิดอื่นร่วมด้วยอาการดีขึ้นไม่พบไวรัส ใน 3 วัน จึงเป็นที่มาของแนวทางการรักษาในการให้ยาในผู้ป่วยรายอื่นและนำไปสู่การจัดหายาฟาวิพิลาเวียร์จากต่างประเทศ

 

บทเรียนรายที่ 2 ผู้ป่วยอายุมาก 55 ปี มีไข้ไอ 13 วันก่อนมายังโรงพยาบาลเมื่อมาถึงโรงพยาบาลอาการหนักแล้วเสี่ยงต่ออาการรุนแรง เนื่องจากมารับการรักษาช้าไม่มีโรคประจำตัวให้ยาต้านไวรัส จากนั้น4วันเสียชีวิตจึงย้ำประชาชน ถ้ามีอาการไม่ควรปกปิดรีบมาพบแพทย์ทันที เนื่องจากมารักษาช้าโอกาสเสียชีวิตสูง อีกรายหญิงไทย 57 ปีเป็นผู้ป่วยที่มาจากการสอบสวนโรค นอนโรงพยาบาล 4 วันจากนั้นปอดเริ่มอักเสบมีการให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิลาเวียร์ หลังจากมีการติดเชื้อ หรือ เริ่มมีอาการ วันที่5-7 วัน ผู้ป่วยโควิด จะเริ่มมีอาการปอดอักเสบ รายนี้รักษาหายถึงแม้อายุมาก เนื่องจากเข้ารับการรักษาเร็วให้ยาเร็ว 

 

ขณะที่พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ หัวหน้ากลุ่มงานอายุรศาสตร์ปอด สถาบันโรคทรวงอก ระบุว่า ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้แยกผู้ป่วยทางเดินหายใจออกจากผู้ป่วยทั่วไป ภายในโรงพยาบาล โดยแยกมารักษาคัดกรองยังภายนอกอาคารที่อากาศถ่ายเทสะดวก มีการทำแผนผังภายในโรงพยาบาล มีการจัดทำหอผู้ป่วยเฉพาะกิจในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีการปรับอากาศภายใน ส่วนการรักษาให้ผู้ป่วยอาการปอดอักเสบจะให้นอนคว่ำตั้งแต่เริ่มเข้ามาในโรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้ออกซิเจนในเลือดดีขึ้น 

 

การนอนคว่ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการปอดอักเสบ 2 ข้าง เพราะด้านหลังมีถุงลมมากกว่าด้านหน้าทำให้มีการหมุนเวียนออกซิเจนมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนอกจากให้ยาฟาวิพิลาเวียร์แล้วยังมีการให้ยากดปฏิกิริยาการอักเสบ เพื่อยื้ออาการปอดอักเสบของผู้ป่วยไม่ให้มีความรุนแรงขึ้น 

 

ด้านนายแพทย์ อนุพงศ์ สุจริยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ระบุว่า ถึงแม้ผู้ป่วยโควิด19 จะลดลงแต่ยังคงมาตราการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกยังคงต้องดำเนินการต่อไป หากสถานการณ์ดีอย่างนี้ต่อไปเรื่อย14วัน การกลับมาใช้ชีวิตปกติใหม่ หรือ Nem normal คงไม่ใช่เรื่องยากและอาจจะมีการปลดล็อคมาตรการเพิ่มขึ้นในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ โดยหากการ์ดตก การระบาดรอบ 2 อาจเกิดขึ้นได้ อาจเจอภาวะผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเหมือนในหลายประเทศ หากประมาทไม่ป้องกันอย่างต่อเนื่อง

 

 

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง