เปิดขั้นตอนขึ้นทะเบียน รายงานตัวว่างงานประกันสังคม
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ว่างงานจากกรณีต่าง ๆ ประกันสังคม มอบสิทธิขั้นพื้นฐานโดยมอบเงินทดแทนให้แก่ผู้ประกันตนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ โดยผู้ประกันตนจะต้องดำเนินการและได้รับสิทธิดังนี้
ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินกรณีว่างงาน มีเงื่อนไขอย่างไร
- - เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
- - ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่าางาน
ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม
สิทธิที่ผู้ประกันตนว่างงานจะได้รับ มีอะไรบ้าง
กรณีถูกเลิกจ้าง
- - ได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วันต่อปี (กรณีเลิกจ้างจากโควิดจะได้รับเงินทดแทนว่างงานร้อยละ 70 ของค่าจ้างเฉลี่ย)
กรณีลาออกเองหรือหมดสัญญาจ้างงาน
- ได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วันต่อปี (กรณีสถานการณ์โควิดจะได้รับเงินทดแทนว่างงานร้อยละ 45 ของค่าจ้างเฉลี่ย)
กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย “เหตุสุดวิสัย” หมายถึง อัคคีภัย วาตภัย หรือธรณีพิบัติ ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณและทําให้ผู้ประกันตนไม่สามารถทํางานได้ หรือนายจ้างไม่สามารถ ประกอบกิจการได้ตามปกติ
- ได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วันต่อปี
**หมายเหตุ : อัตราเงินช่วยเหลือที่เพิ่มขึ้นมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2565**
ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม
ขั้นตอนลงทะเบียนว่างงาน ทำอย่างไร
1. เข้า website https://e-service.doe.go.th
ที่มาภาพ : กรมการจัดหางาน
2. กดปุ่มเข้าสู่ระบบ (เมนูด้านขวามือ)
3. เลือกบุคคลธรรมดา
4. กดปุ่มเข้าใช้งานระบบ/ลงทะเบียน
- - สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนครั้งแรก ลงทะเบียนเพื่อให้ได้ ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน/รหัสผ่าน เพื่อนำไปใช้ในการเข้าระบบครั้งถัดไป
- สำหรับผู้ที่มีชื่อบัญชีผู้ใช้งาน/รหัสผ่าน และที่ได้ลงทะเบียนตามข้อ 1 แล้ว กดปุ่มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
5. เลือกเมนูขึ้นทะเบียน (สำหรับผู้ประกันตนที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนก่อนหน้า) และ เลือกเมนูรายงานตัว (สำหรับผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนแล้ว)
ที่มาภาพ : กรมการจัดหางาน
6. เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วให้ทำการยื่นแบบคำขอรับผลประโยชน์กรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) โดยจะต้องทำการแนบเอกสารประกอบดังนี้
- - แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
- - บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา
- - รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (รูปถ่ายต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน)
- - หนังสือรองรับการออกจากงาน สำเนาการแจ้งการลาออก (สปส. 6-09) (กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส. 6-09 ก็ยังคงสามารถขึ้นทะเบียนว่างงานได้)
- - หนังสือหรือเอกสารแจ้งให้ออกจากนายจ้าง (ถ้ามี)
- - สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารโดยชื่อที่ระบุในหน้าสมุดบัญชีต้องเป็นชื่อของผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนว่างงาน
7. เมื่อขึ้นทะเบียนว่างงานเรียบร้อยแล้วสำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้ามายังบัญชีที่ผู้ประกันตนส่งเอกสารเข้าไปที่สำนักงานภายในระยะเวลา 7 วัน ซึ่งไม่นับรวมวันเสาร์-อาทิตย์
โดยหลังจากที่ผู้ประกันตนได้ขึ้นทะเบียนว่างงานเรียบร้อยแล้ว ในแต่ละเดือนหลังจากที่ขึ้นทะเบียนหากผู้ประกันตนยังไม่ได้ทำงานจะต้องรายงานตัวกรณีว่างงานทุกเดือน โดยสามารถทำได้ดังนี้
1. เข้า website https://e-service.doe.go.th
2. กดปุ่มเข้าสู่ระบบ (เมนูด้านขวามือ)
3. เลือกเมนูรายงานตัว ซึ่งผู้ประกันสามารถรายงานตัวได้ก่อนวันที่กำหนด
ที่มาภาพ : กรมการจัดหางาน
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่ว่างงานยังสามารถใช้สิทธิสวัสดิการจากประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยไม่ต้องจ่ายเงินประกันสังคมภายในระยะเวลานั้น และภายใน 6 เดือน ผู้ประกันตนที่ต้องการอยู่ในระบบจะต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เพื่อให้ได้รับสิทธิของสำนักงานประกันสังคมต่อไป ซึ่งสามารถเช็กสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ที่นี่ >> เช็กประกันสังคมมาตรา 39 ได้สิทธิอะไรบ้าง
ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม
ที่มาภาพ : AFP