รีเซต

จิตแพทย์ไขข้อสงสัย? อยู่คนเดียวแล้วรู้สึกปลอดภัย แบบนี้เรียกว่าผิดปกติหรือไม่?

จิตแพทย์ไขข้อสงสัย? อยู่คนเดียวแล้วรู้สึกปลอดภัย แบบนี้เรียกว่าผิดปกติหรือไม่?
TNN ช่อง16
21 เมษายน 2568 ( 01:24 )
8

“อยู่คนเดียวแล้วรู้สึกปลอดภัยมากกว่าเวลาอยู่กับคนอื่น” เชื่อว่าหลายครั้งเราก็อาจตั้งคำถามว่า ตัวเองว่าเรากำลังมีปัญหาทางจิตหรือเปล่า ทำไมถึงไม่อยากสุงสิง ไม่อยากเข้าสังคม แล้วเราจะอยู่กับโลกนี้ยังไงถ้าใจมันไม่พร้อม?


การอยู่คนเดียวอย่างมีสติ ไม่ใช่การหนีจากโลก แต่คือการเลือกพักในพื้นที่ของตัวเองอย่างอ่อนโยน ถ้าความเงียบทำให้ใจเราปลอดภัยขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ก็ไม่มีอะไรผิดปกติเลย แต่ถ้าความเงียบกลายเป็นเครื่องพันธนาการหรือกำแพงที่ปิดทุกๆความสัมพันธ์ดี อาจถึงเวลาที่จะต้องกลับมาพิจารณาให้ดี


ในเชิงจิตวิทยา การอยู่ลำพังแล้วรู้สึกสบาย คือสิ่งที่เรียกว่า “Healthy Solitude” ซึ่งแตกต่างจากความเหงาหรือการแยกตัวเพราะความเจ็บปวดทางใจ คนที่รู้สึกดีเวลาอยู่คนเดียวมักมีระดับความไว้วางใจในตนเองสูง และมีแนวโน้มใช้เวลาในการฟื้นพลังอย่างมีคุณภาพ งานวิจัยพบว่า 1 ใน 4 ของคนในวัยผู้ใหญ่ชอบอยู่คนเดียว การเลือกปลีกวิเวกไม่ได้หมายถึงการมีปัญหาเสมอไป แต่ต้องดูว่าเราหลีกเลี่ยงอะไร หรือละเลยความสัมพันธ์ ที่สำคัญไปหรือไม่มากกว่า

ตรงกันข้าม ถ้าความสบายใจนั้นมาจากการพยายามหลบเลี่ยงความสัมพันธ์ อาจเป็นสัญญาณบางอย่าง ถ้าความรู้สึกปลอดภัยนั้นเกิดจากการ ไม่ต้องเจอการปะทะ / การถูกวิจารณ์ / ความอึดอัดจากคนอื่น จนเราเลือกอยู่คนเดียวทุกครั้ง อาจเกี่ยวข้องกับภาวะความวิตกกังวล/กลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety) หรือการมีแนวโน้มบุคลิกภาพผิดปกติชนิดชอบหลบเลี่ยง (Avoidant Personality Traits) ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร แต่ก็ควรต้องได้รับการดูแลอย่างเข้าใจมากว่า


คนที่เคยมีประสบการณ์ถูกกระทำ/ละเมิดหรือถูกควบคุมในอดีต มักรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่คนเดียว

เพราะสมองพวกเขาจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยจำลองขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงอารมณ์ด้านลบซ้ำๆ ซึ่งเป็นกลไกปกป้องที่พบได้บ่อยๆ

แล้วอะไรคือสัญญาณเตือนที่ควรระวัง


หากพบอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อย อาจถึงเวลาที่ควรพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตครับ

- เริ่มรู้สึกเหนื่อยหรือกังวลล่วงหน้าทุกครั้งที่ต้องเจอผู้คน

- หลีกเลี่ยงแม้กระทั่งคนที่ไว้ใจได้

- ไม่มีความสุขแม้อยู่คนเดียว แต่ก็ไม่อยากอยู่กับใคร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง