รีเซต

เช็คหุ้น 5 กลุ่ม ที่ถูกกดดันจากการระบาดของโควิด-19

เช็คหุ้น 5 กลุ่ม ที่ถูกกดดันจากการระบาดของโควิด-19
TNN Wealth
26 เมษายน 2564 ( 13:11 )
65
เช็คหุ้น 5 กลุ่ม ที่ถูกกดดันจากการระบาดของโควิด-19

 

ข่าววันนี้ ตลาดหุ้นไทยเปิดการซื้อขาย ดัชนีเคลื่อนไหวผันผวนอิงทางลง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในประเทศที่รุนแรงขึ้น โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดถึงกว่า 2,000 คนต่อวัน ทำให้ต้องมีการยกระดับมาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น ด้วยการปิดสถานที่เสี่ยงหลายแห่ง คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มค้าปลีก, ท่องเที่ยว และการบริโภคภายในประเทศ  โดยดัชนีลดลงไปเกือบ 10 จุด ดัชนีเคลื่อนไหวกรอบ 1,544-1,558 จุด 

 


นับตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 23 เม.ย. 63 ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ระบาดเป็นระลอกที่ 3 ภาพรวมกดดัน SET Index ปรับตัวลงมาแล้ว 2.7% ตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากปัจจัยดังกล่าว หลังจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหมเกิน 2,000 คนติดต่อกัน 4 วัน ทำให้ช่วงวันหยุดที่ผ่านมาแต่ละจังหวัด  โดยเฉพาะ กทม.ซึ่งมีสัดส่วน 50% ของ GDP มีคำสั่งเข้มงวดกิจกรรมเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้าอีก หรือ กึ่ง Lockdown  อาทิ   สั่งปิดเพิ่ม 31 สถานที่  บังคับใส่แมสก์ ฝ่าฝืนมีความผิด ระยะเวลามีผล 26 เม.ย.- 9 พ.ค. 64  รวมเป็นเวลา 14 วัน  

 


ฝ่ายวิจัย บล. เอเชีย พลัส (ASPS)  ประเมินผลกระทบการเข้มงวดกิจกรรมเศรษฐกิจในรอบนี้ถือว่ายืดเยื้อมากกว่าก่อนหน้าที่คาด โดยประเมินผลกระทบต่อมีความเป็นไปได้สูงจะเห็นการหดตัวของจีดีพีรวม 2ไตรมาสติดต่อกัน  และ ASPS มีโอกาสปรับลดGDP Growth ปี 2564 ปัจจุบันคาดโต  2.6% ลงในเดือนหน้าหลังประกาศ GDPไตรมาส1/64  หลังสภาพัฒน์รายงาน โดยเชื่อว่าหลังจากนี้จะเห็นกระแสหน่วยงานของรัฐทยอยปรับลด GDP ลงต่ำกว่า 2% ล่าสุด เริ่มเห็นการปรับลงมาอยู่ที่ 1.5-1.8%
ผลกระทบต่อหุ้นที่จดทะเบียนในตลาด ASPS ประเมิน Sentiment เชิงลบกดดันราคาหุ้นใน 5 กลุ่ม  อาทิ  กลุ่มโรงภาพยนต์ MAJOR  กลุ่มสปา อาทิ  SPA ,กลุ่มร้านอาหาร อาทิ  M, AU  กลุ่มร้านค้าปลีก : อาทิ   CPALL,  BJC กลุ่มโรงภาพยนตร์  :   หุ้น  MAJOR  บริษัทประกาศปิดให้บริการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 โดยมีกำหนดระยะเวลา 14 วัน   ทั้งหมด 24 สาขา  เฉพาะในกรุงเทพ จากทั้งหมด 172 สาขา   ASPS ประเมินว่าแม้ว่าสัดส่วนรายได้หนังในกรุงเทพฯและปริมณฑลจะมีสัดส่วนราว 55% ของรายได้ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามคาดว่าผลกระทบจำกัด เนื่องจากในช่วงระยะเวลา 14 วันที่ประกาศปิดให้บริการชั่วคราว ไม่ได้มีหนังที่มีแนวโน้มทำรายได้สูงเข้าฉาย และเป็นการประหยัดต้นทุนกว่าการเปิดโรงหนังต่อไปในสถานการณ์ที่คนงดทำกิจกรรมนอกบ้าน

 


กลุ่มค้าปลีก แบ่งเป็น CRC, BJC, HMPRO, ILM, COM7 และ SPVI  : กลุ่มห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้า แม้รัฐฯยังไม่ประกาศ Lockdown เต็มรูปแบบ แต่เชื่อว่าเริ่มเห็นผลกระทบมากขึ้น จากผู้ติดเชื้อพุ่งสูง โดยประเมินสร้างแรงกดดันต่อ SSSG มากกว่าการระบาดในรอบที่ 2 (ช่วงธ.ค.63) แต่ทั้งนี้ คาดผลกระทบยังอยู่ในระดับน้อยกว่ารอบแรก (ช่วงเม.ย.63) เนื่องจากผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวได้แล้วCPALL (7-11, Lotus), BJC (Mini Big C) และ CRC (Family Mart) : กลุ่มร้านสะดวกซื้อ คาดน่าจะรับผลกระทบมากสุดในกลุ่มฯ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เสียเวลาทำการมากสุด (ราว 1 ใน 4 ของการให้บริการปกติ) แม้ส่วนใหญ่ยังเป็นช่วงกลางคืนที่ไม่ใช่รายได้หลัก แต่ประเมินเห็นผลกระทบมากขึ้น เทียบกับการระบาดรอบที่ 2 (ช่วงธ.ค.63) ทั้งนี้ คาดผลกระทบยังอยู่ในระดับน้อยกว่ารอบแรก (ช่วงเม.ย.63) เนื่องจากผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวได้แล้ว

 


ภาพรวมแม้เห็นผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวต่อกลุ่มฯมากขึ้น คาดกดดันราคาหุ้นค้าปลีกในระยะนี้ แต่ภาพการฟื้นตัวในระยะถัดไปที่คาดหวังได้ในช่วงครึ่งปีหลัง จากความเป็นไปได้การเร่งหาและแจกจ่ายวัคซีน รวมถึง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐฯ ประเมินเป็นโอกาสสะสมหุ้นพื้นฐานแกร่งที่ยังมี Upside อาทิ CPALL (FV@B74), MAKRO (FV@B44), CRC (FV@B38) และ Growth Stock SPVI (FV@B6.92) หากราคาหุ้นปรับฐานสะท้อนประเด็นดังกล่าว

 


นอกจากนี้ ASPS ยังวิเคราะห์ด้วยว่า กลุ่มที่ Underperform ตลาดแนะนำหลีกเลี่ยงช่วงสั้น คือ 4 Sector ที่ปรับตัวลงแรงสุด คือ กลุ่มท่องเที่ยว -9.3%, กลุ่มสื่อสิ่งพิมพ์ -8.5%, กลุ่มขนส่ง -7.5% และกลุ่มรับเหมาฯ -6.1% ซึ่งทั้ง 4 Sector เคยได้รับผลกระทบในช่วงไตรมาส2/63 จนผลประกอบการพลิกมาเป็นขาดทุนทั้งสิ้น เชื่อว่าในระยะสั้นยังอยู่ในภาวะที่ผันผวนอยู่

 


กลุ่มหุ้นที่ Outperform ตลาดได้ดีแฝงอยู่ คือ กลุ่มที่อิงกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่าง กลุ่มเหล็ก +20.6% (ชอบ TMT), กลุ่มชิ้นส่วน +6.3%, กลุ่มวัสดุ +4.0% (ชอบ SCC), กลุ่มเกษตร +0.1% (ชอบ KSL) และกลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากประเด็น COVID-19 อย่าง กลุ่มร.พ. +3.9% (ชอบ BDMS), กลุ่มสื่อสาร +1.4% (ชอบ ADVANC) และหุ้นอื่นๆ ชอบ AS 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง