รีเซต

ฝีดาษลืงเข้าไทย! เปิดไทม์ไลน์ ผู้ป่วย "โรคฝีดาษลิง" รายที่ 3 มีอาการฝีดาษลิง อย่างไรบ้าง

ฝีดาษลืงเข้าไทย! เปิดไทม์ไลน์ ผู้ป่วย "โรคฝีดาษลิง" รายที่ 3 มีอาการฝีดาษลิง อย่างไรบ้าง
Ingonn
4 สิงหาคม 2565 ( 09:20 )
308
ฝีดาษลืงเข้าไทย! เปิดไทม์ไลน์ ผู้ป่วย "โรคฝีดาษลิง" รายที่ 3 มีอาการฝีดาษลิง อย่างไรบ้าง

ฝีดาษลิงในไทย รายที่ 3 !! กรมควบคุมโรค เปิดเผย ฝีดาษลืงเข้าไทย รายที่ 3 ของประเทศ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต เมื่อ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา และมีอาการฝีดาษลิง คือ มีไข้ มีตุ่มผื่น เช็ก! ไทม์ไลน์ ผู้ป่วย "โรคฝีดาษลิง" รายที่ 3 มีอาการฝีดาษลิง อย่างไรบ้าง

 

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค รายงานว่า พบผู้ป่วยยืนยัน "โรคฝีดาษลิง" รายที่ 3 ของประเทศไทย เป็นชายชาวเยอรมัน อายุ 25 ปี เดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 เข้ามายัง จ.ภูเก็ต เพื่อท่องเที่ยว หลังจากนั้นไม่นานมีอาการเข้าได้กับ"โรคฝีดาษลิง" คือ มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต มีตุ่มผื่นขึ้นที่อวัยวะเพศ ลำตัวและแขนขา จึงมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เบื้องต้นคาดว่าเป็นผู้ติดเชื้อนำเข้า คือ ติดเชื้อตั้งแต่ก่อนเข้าประเทศแต่เพิ่งมาแสดงอาการ ทีมสอบสวนโรคในพื้นที่อยู่ระหว่างตรวจสอบไทม์ไลน์เพื่อติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดและกลุ่มเสี่ยงต่อไป

 

นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า"โรคฝีดาษลิง" ไม่ใช่โรคที่มีอาการรุนแรงหรือติดต่อได้ง่าย จากการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดของผู้ป่วย 2 รายแรก เช่น ผู้สัมผัสร่วมบ้านที่อยู่ด้วยกันเป็นสัปดาห์ ยังไม่มีใครติดเชื้อ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีระบบคัดกรองที่ท่าอากาศยาน แต่โรคนี้มีระยะฟักตัวได้นาน ถึง 3 สัปดาห์ทำให้ช่วงเข้ามาในประเทศไทยยังไม่มีอาการ ดังนั้น หากเข้ามาแล้วมีอาการเข้าได้กับโรคขอให้รีบมาพบแพทย์ ส่วนวัคซีนป้องกันฝีดาษ องค์การเภสัชกรรมได้ประสานติดต่อเพื่อนำเข้ามาภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ประชุมหารือกำหนดกลุ่มเสี่ยงที่จะรับวัคซีนเบื้องต้น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่ม Pre Exposure หรือก่อนการสัมผัสเชื้อ จะเป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด หรือเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และ 2.กลุ่ม Post Exposure หรือผู้สัมผัสผู้ป่วยไม่เกิน 14 วันหลังสัมผัสเชื้อครั้งสุดท้าย เชื่อว่าจะป้องกันได้ โดยคณะทำงานจะพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป

 

โรคฝีดาษลิงสามารถหายเองได้ เช่น ผู้ป่วย 2 รายก่อนหน้านี้ก็อาการดีขึ้นโดยไม่ต้องกินยาต้านไวรัสจึงไม่จำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสทุกราย ยกเว้นผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี อาจจำเป็นสำหรับการรักษา ปัจจุบันทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยประมาณ 2 หมื่นกว่าราย ในจำนวนนี้ต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 9% เพื่อการควบคุมโรค และมีผู้เสียชีวิต 6 ราย ซึ่งพบว่ามีโรคร่วมทำให้อาการรุนแรง เช่น มีภาวะสมองอักเสบ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง” นพ.โอภาสกล่าว

 

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้สัมภาษณ์ว่า กรมการแพทย์จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติวินิจฉัย การดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อ กรณีโรคฝีดาษลิง ฉบับวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 โดยเสนอต่อที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (อีโอซี) กรณีโรคฝีดาษลิง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 และได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะและประกาศแนวทางอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเบื้องต้นถ้ามีผู้ป่วยสงสัยให้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อการตรวจวินิจฉัยและควบคุมโรค ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันว่าสามารถตรวจและรายงานผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง และย้ำว่าโรคนี้หายเองได้ ไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัสทุกราย

 

โรคฝีดาษลิง MONKEYPOX ติดต่อ จากสัตว์สู่คน รวมทั้งติดจากคนสู่คนโดยสัมผัสสารคัดหลั่ง สัมผัสหรือใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อโดยตรงและสามารถแพร่เชื้อจากหญิงตั้งครรภ์สู่ทารกในครรภ์ได้ แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 

  1. ระยะฟักตัว จะไม่แสดงอาการช่วง 5-21 วัน หลังจากได้รับเชื้อ
  2. ระยะไข้ 1-4 วัน มีอาการปวดหัว เจ็บคอ หนาวสั่น อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต
  3. ระยะผื่น 1-2 สัปดาห์ จะเริ่มจากผื่นแบบ ผื่นนูน ผื่นมีน้ำใสใต้ผื่น ผื่นมีน้ำขุ่นใต้ผื่น จนกระทั่งแผลแห้งเป็นขุย
  4. ระยะฟื้นตัว ใช้เวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์

 

ป้องกันฝีดาษลิง ตนเอง

  1. หลีกเลี่ยงสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่งและตุ่มหนองของสัตว์/ผู้ติดเชื้อ
  2. กินเนื้อสัตว์ปรุงสุก
  3. หมั่นล้างมือบ่อยๆ
  4. ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ป่าและไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยง

 

 

รวบรวมข้อมูลจาก กรมประชาสัมพันธ์ , สสส.

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง