รีเซต

KTB คาดเศรษฐกิจไทยเสี่ยงโตต่ำกว่าร้อยละ 1

KTB คาดเศรษฐกิจไทยเสี่ยงโตต่ำกว่าร้อยละ 1
TNN ช่อง16
2 พฤษภาคม 2568 ( 12:59 )
17

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงไทย หรือ  Krungthai COMPASS   ประเมินผลกระทบจากสงครามการค้าต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ออกเป็น 2 สถานการณ์ 

สถานการณ์แรก  ไทยถูกเก็บภาษีขั้นต่ำร้อยละ 10  (universal tariff) ตั้งแต่       ไตรมาสที่ 2 ปี 2568 และในช่วงครึ่งปีหลังการเจรจากับสหรัฐฯ ประสบผลสำเร็จทำให้ภาษีลดเหลือเพียงภาษีขั้นต่ำที่ร้อยละ 10 จากร้อยละ 36  ที่มีการรวมภาษีตอบโต้ (reciprocal tariff)  ขณะที่ภาษีรายกลุ่มสินค้า ( Sectoral tariff)  จะถูกเก็บในสินค้ากลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน และกลุ่มเหล็ก ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ได้รับการยกเว้น ในสถานการณ์นี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 ลดลงจากการประมาณการเดิมที่ร้อยละ 2.7 

สถานการณ์ที่ 2  ไทยถูกเก็บภาษีขั้นต่ำร้อยละ 10  ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2568 และในช่วงครึ่งปีหลังได้รับผลกระทบเต็มรูปแบบจากการขึ้นภาษี reciprocal tariff ที่ร้อยละ 36  นอกจากนี้ Sectoral tariff จะถูกเก็บในสินค้ากลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน และกลุ่มเหล็ก ตั้งแต่ไตรมาส   ที่ 2 โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์จะได้ถูกจัดเก็บตั้งแต่ ไตรมาสที่ 3 ในสถานการณ์นี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7  ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ






Krungthai COMPASS ระบุว่าการประเมินสถานการณ์ข้างต้น สอดคล้องกับมุมมองของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ( กนง.) ที่คาดว่าเศรษฐกิจระยะข้างหน้ามีความเสี่ยงสูงขึ้น จึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับร้อยละ 1.75 และคาดกรณีผลกระทบปานกลาง เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 ขณะที่กรณีผลกระทบรุนแรง เศรษฐกิจอาจขยายได้ร้อยละ 1.3


โดยมีผลกระทบที่ต้องเร่งรับมือคือผลระยะยาวในรูปแบบของ "แผลเป็นทางเศรษฐกิจ" ที่ทำให้ไทยสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจในระยะ 5 ปีข้างหน้า มูลค่ากว่า 1.6 ล้านล้านบาท ( 1 ล้าน 6 แสน ล้านบาท) 

และผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs ไทย  กว่า 4,990 ราย ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการภาษีเพิ่มเติมของสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มที่ส่งออกสินค้า   ยานยนต์ยานยนต์และชิ้นส่วน  เหล็ก อลูมิเนียม  และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง