รีเซต

รู้จัก โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2.75 โควิดสายพันธุ์ใหม่ แพร่เชื้อ ระบาดแรง

รู้จัก โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2.75 โควิดสายพันธุ์ใหม่ แพร่เชื้อ ระบาดแรง
Ingonn
25 พฤศจิกายน 2565 ( 12:08 )
426
1

โควิดสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2.75 ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน ที่แม้ไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์ แต่อาจจะทำให้มีการแพร่และติดเชื้อง่ายขึ้น โดยล่าสุดเกิดเหตุงชายเสียชีวิตคาคอนโดฯ หลังพบป่วยโควิดอีกด้วย

 

โควิดสายพันธุ์ใหม่

ข่าวโควิดวันนี้ พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2.75 ระบาดแรง โดยไทยในหลายพื้นที่เริ่มมีอากาศหนาว ส่งผลต่อการแพร่เชื้อโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโควิด-19 สายพันธุ์  BA.2.75 เริ่มมีแนวโน้มพบผู้ป่วยสูงขึ้น (พบครั้งแรกที่อินเดีย) พบการกลายพันธุ์ ใช้จับกับตัวรับในเซลล์ของมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับการหลบภูมิคุ้มกัน การพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บ่งชี้ว่ามีความสามารถในการแพร่ระบาด แต่ยังไม่มีรายงานความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นจากเชื้อเดิม 

 

รู้จัก โอมิครอน BA.2.75 โควิดสายพันธุ์ใหม่

  • โควิดสายพันธุ์ BA.2.75 ตรวจพบครั้งแรกในอินเดียเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2565 และได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไทยพบสายพันธุ์ BA.2.75 ครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมิ.ย. 2565

  • สัดส่วนของผู้ติดเชื้อ BA.2.75 เพิ่มขึ้นมากจากเดือนที่แล้ว (เพิ่มขึ้นเป็น 42.9% จากสัปดาห์ก่อนที่มีสัดส่วน 23.6%) เมื่อแยกตามกลุ่ม พบว่าส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศจาก 23.2% เป็น 43.9% โดยเฉพาะพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2, 6, 11  และ 12 ที่พบสัดส่วนมากกว่าครึ่งเป็นสายพันธุ์ BA.2.75 

  • จากการถอดรหัสพันธุกรรมแบบทั้งตัว (Whole genome sequencing) ของตัวอย่างในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน พบสายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลานของ BA.2.75 เช่น BA.2.75.2, BA.2.75.5.1 (BN.1), BA.2.75.1.2 (BL.2)  จำนวนมากกว่า 138 ราย 

  • สายพันธุ์ BA.2.75 มีการกลายพันธุ์อย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ G446S บนโปรตีนหนาม ซึ่งจับกับตัวรับในเซลล์ของมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับการหลบภูมิคุ้มกัน การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  บ่งชี้ว่าอาจมีข้อได้เปรียบในการแพร่ระบาด

  • สามารถใช้ยาต้านไวรัสที่มีอยู่รักษาได้ และวัคซีนที่มีอยู่ รวมถึงแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (LAAB) ยังสามารถยับยั้งเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 ได้

 

กรณีมีรายงานข่าวการเสียชีวิตของชายอายุ 38 ปี ติดโควิดนอนเสียชีวิตในคอนโดมิเนียม (23 พ.ย.) นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า  จากข้อมูลการสอบสวนโรคเบื้องต้น โดยสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และสำนักอนามัย กทม. พบชายดังกล่าวได้รับวัคซีน 3 เข็ม (เข็มสุดท้าย ม.ค. 65) ขณะนี้รอผลการชันสูตรพลิกศพ เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต จากสถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ จึงขอความร่วมมือ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 (ผู้สูงอายุ – กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง) ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มีการป่วยตายจากโควิดมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่รายงานแต่ละวัน และกลุ่มนี้หากรับวัคซีนครบแล้ว เข็มล่าสุดนานเกิน 4 เดือนขึ้นไป ให้เข้ารับเข็มกระตุ้น จะสามารถป้องกันการป่วยหนัก และลดโอกาสเสียชีวิตไ

 

ข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง