รีเซต

ผอ.บริหารสาธารณสุข ยัน ยาฟาวิฯ เพียงพอทั่วไทย เปิดงบซื้อยาทะลุ 6พันลบ.

ผอ.บริหารสาธารณสุข ยัน ยาฟาวิฯ เพียงพอทั่วไทย เปิดงบซื้อยาทะลุ 6พันลบ.
มติชน
26 มีนาคม 2565 ( 15:32 )
73
ผอ.บริหารสาธารณสุข ยัน ยาฟาวิฯ เพียงพอทั่วไทย เปิดงบซื้อยาทะลุ 6พันลบ.

ผอ.บริหารสาธารณสุข ยัน ยาฟาวิฯ เพียงพอทั่วไทย เปิดงบซื้อยาทะลุ 6พันลบ. เผย อภ.เตรียมซื้อยาโมลนูพิเราเวียร์ 600บ/คอร์ส ถูกลงกว่าเดิม 16 เท่า แนะ โควิดโอมิครอนไร้อาการ ไม่จำเป็นต้องใช้ยา

 

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม นพ.กรกฤช ลิ้มสมมุติ ผู้อำนวยการกองบริหารการสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นการบริหารจัดการยารักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังเป็นประเด็นว่า ยาฟาวิพิราเวียร์มีจำนวนไม่เพียงพอ ว่า ตามหลักการให้ยากับผู้ป่วยโควิด-19 ทาง นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดสธ. และท่านรองปลัดสธ. เน้นย้ำว่าให้มุ่งเน้นการจ่ายยาตามแนวทางการรักษา เพื่อให้การบริหารจัดการสถานการณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ ข้อมูลคลังยาโดยประมาณ วันที่ 25 มี.ค. ยาฟาวิพิราเวียร์กระจายในภูมิภาครวม 10 ล้านเม็ด และอยู่ในกรุงเทพมหานคร(กทม.) 2-3 ล้านเม็ด

 

นพ.กรกฤช กล่าวว่า สำหรับยาที่ใช้ปัจจุบันจะมี 3 สูตร คือ 1.กลุ่มผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย สามารถให้ยาตามอาการได้ เช่น แก้ไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก ลดไข้ 2.กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางและไม่มีความเสี่ยงร่วม จะให้ยาฟ้าทะลายโจร และ 3.กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการและมีความเสี่ยงร่วม เช่น สูงอายุ โรคประจำตัว จะให้ยาต้านไวรัส

 

เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์ ยาแพ็กซ์โลวิด เป็นต้น ข้อมูลที่มีการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว จำเป็นต้องได้รับยาฟาวิพิราเวียร์เพียง 30% หรือ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งต่างจากการระบาดช่วงสายพันธุ์เดลต้าที่ทำให้มีอาการรุนแรง เราจำเป็นต้องใช้ยามาก แต่ขณะนี้เป็นสายพันธุ์โอมิครอน อาการไม่รุนแรงมาก ดังนั้นความจำเป็นใช้ยาก็จะลดลง อย่างไรก็ตาม เราต้องปรับการใช้ยาคู่กับศึกษาการใช้ยาต้านไวรัสโมลนูพิราเวียร์ เพื่อบริหารสถานการณ์และจัดซื้อยาตามหลักฐาน เพื่อให้งบประมาณถูกใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

“ทั้งนี้การใช้ยาขึ้นอยู่กับแนวทางรักษา ยกตัวอย่างในเขตสุขภาพที่ 4 5 และ 6 มีข้อมูลศึกษาว่า คนไข้เกือบ 50% ไม่ได้รับยาต้านไวรัสและยาฟ้าทะลายโจร ส่วนอีกครึ่งที่เหลือจะแบ่งเป็น รักษาตามอาการ เช่น ยาพาราเซตามอล แก้ไข้ ยาแก้ไอ อีกครึ่งหลังจะเป็นยาฟาทะลายโจร และยาฟาวิพิราเวียร์ หรือยาโมลนูพิราเวียร์” นพ.กรกฤช กล่าว

 

นพ.กรกฤช กล่าวต่อว่า ทางรัฐบาลพร้อมสนับสนุนเรื่องยาเต็มที่ เราก็สนับสนุนยาลงไปในสถานพยาบาลตามจำนวนคนไข้ แต่เราก็เข้าใจมุมของคนไข้ที่อยากรับยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อให้อาการดีขึ้นโดยเร็ว แต่เราก็จะต้องคู่กับการบริหารจัดการต่างๆ ด้านงบประมาณยาเราใช้ไปรวมๆ 6 พันล้านบาท และก็ยังเตรียมไว้อีก เพื่อสนับสนุนยา ไม่ให้ขาดแคลน

 

นพ.กรกฤช กล่าวด้วยว่า ยาโมลนูพิราเวียร์ ที่กรมการแพทย์จัดซื้อมา 50,000 คอร์ส ราคาคอร์สละ 10,000 บาท ขณะเดียวกัน เราได้มอบให้องค์การเภสัชกรรม(อภ.) หายาจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดทางเลือก ที่สำคัญคือต้องเป็นบริษัทที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสมในการนำเข้า คาดว่าอยู่ระหว่างหารือกับบริษัทผู้ผลิตที่อินเดีย หากมีการนำเข้ามาก็คาดว่าจะตกราคาคอร์สละ 600 บาท เท่ากับยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งจะนำมาใช้ในผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไปได้ แต่อายุต่ำกว่า 18 ปีก็ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง