รีเซต

100 ร้าน 100 เมนู อาหารเหนือรูปแบบใหม่สู่สากลกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

100 ร้าน 100 เมนู อาหารเหนือรูปแบบใหม่สู่สากลกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว
TNN ช่อง16
21 ธันวาคม 2564 ( 08:58 )
110
100 ร้าน 100 เมนู อาหารเหนือรูปแบบใหม่สู่สากลกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่  เป็นประธานเปิด Lanna Gastronomy Chef’s Table ภายใต้โครงการ Gastronomy Tourism : LANNA Gastronomy “คิดถึงเชียงใหม่”  พร้อมด้วย  ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวภาครัฐและเอกชนของจังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พัฒนาเอกลักษณ์อาหารพื้นเมืองของล้านนาเชียงใหม่ ให้มีความโดดเด่น มีความน่าสนใจ  หลังจากเป็นปีที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเป้าหมายแรกของนักท่องเที่ยวจะเดินทางมาเข้ามา หลังจากผ่านวิกฤต การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การเปิดเมืองต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ ณ เรือนอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่  New LANNA Food การสร้างเมนูอาหารล้านนาใหม่ ๆ ผ่านร้านอาหาร ชื่อดัง Street Food ที่มียอดติดตามสูง อีก 100 ร้าน 100 เมนูในจังหวัดเชียงใหม่ 




เพื่อยกระดับการรับประทานอาหารพื้นเมืองแบบล้านนา  สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารล้านนารูปแบบใหม่ มีอัตลักษณ์ของท้องถิ่นสู่สากล อย่างลาบปลาเพี้ย อีกหนึ่งเมนูขึ้นชื่อของร้านลาบต้นยาง สาขา 2 ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 หรือวงแหวนรอบศาลากลาง  ไดนำองค์ความรู้ใหม่ของการพัฒนาอาหาร ให้น่ารับประทานคงแต่คุณค่าดัง รสชาติแบบเดิม ในรูปแบบใหม่เพียง 1 คำจะได้รับความอร่อย แปลกใหม่ หน้าตา รูปแบบของอาหารเปลี่ยนไปสู่สากลมากขึ้น  การแปรรูปอาหารพื้นเมืองล้านนา ที่มีความแตกต่าโดดเด่นในแต่ละเมนู ผ่านกระบวนการนำเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และนวัตกรรมมา ประยุกต์ใช้ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมการปรุงอาหารล้านนา เพื่อสร้างความแปลกใหม่และเป็นที่น่าจดจำ 



 Lanna Gastronomy Tourism  โครงการนี้มุ่งพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารล้านนารูปแบบใหม่ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้คุณภาพและมาตรฐานตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ต้นน้ำ การพัฒนาศักยภาพ เกษตรกร อันส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิต กลางน้ำ การพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและบริการด้วยการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และปลายน้ำ การสร้างเสริมการรับรู้สินค้าและบริการให้กว้างขวาง และมีความยั่งยืน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น เชื่อใจ มีความปลอดภัยในการใช้บริการของนักท่องเที่ยว   ส่งเสริมการเพาะปลูกพืช การพัฒนาให้องค์ความรู้เกษตรกร และจัดการวัตถุดิบอาหารใน ท้องถิ่น สร้างวัตถุดิบที่มีมาตรฐาน อย่างผักเชียงดา ผักหวาน เป็นต้น จุดเด่นของพืชแต่ละชนิด มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์อย่างเด่นชัด จุดเด่นด้านปศุสัตว์และการประมง เช่น การเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ ไข่ไก่อารมณ์ดี และสุกร นำมาสู่กระะบวนการพัฒนาให้มีความโดดเด่น มีคุณค่าทางโภชนาการ  และสารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้เกิด Molecular Agriculture ในจังหวัดเชียงใหม่           



   

      




การรับประทาน อาหารพื้นเมืองแบบล้านนาไทยรูปแบบใหม่ให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวในพื้นที่รวมถึง นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีความสนใจเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและสร้าง รายได้สูง ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการกระจายรายได้ให้ทุกภาคส่วนมาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน ติดตามได้ทางแฟนเพจ Lanna Gastronomy ที่จะมีเมนูอะไร ร้านไหน ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้เข้าร่วม



ข่าวที่เกี่ยวข้อง