รีเซต

ล้ำโลก! สิงคโปร์ เพาะหนอนแมลงวัน-ย่อยอาหารเน่า สกัดวัสดุชีวภาพ มูลค่าสูง

ล้ำโลก! สิงคโปร์ เพาะหนอนแมลงวัน-ย่อยอาหารเน่า สกัดวัสดุชีวภาพ มูลค่าสูง
ข่าวสด
17 มีนาคม 2564 ( 17:32 )
228
ล้ำโลก! สิงคโปร์ เพาะหนอนแมลงวัน-ย่อยอาหารเน่า สกัดวัสดุชีวภาพ มูลค่าสูง

สิงคโปร์ล้ำ! เปลี่ยนของเสียกลายเป็นสิ่งมีค่า จดลิขสิทธิ์เพาะหนอนแมลงวัน เพื่อสกัดวัสดุชีวภาพมูลค่าสูง ขณะที่ทั่วโลกยังใช้หนอนเหล่านี้เฉพาะเป็นอาหารสัตว์

 

Picture taken March 3, 2021. REUTERS/Caroline Chia

 

เมื่อวันที่ 17 มี.ค.64 สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า บริษัทสตาร์ทอัพของสิงคโปร์ ได้ร่วมมือกับหน่วยวิจัยของประเทศ เพาะเลี้ยงและสกัดวัสดุชีวภาพจากหนอนแมลงวัน ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาก เพราะปัจจุบัน ทั่วโลกยังใช้หนอนแมลงวันเพียงเพื่อย่อยอาหารเน่าเสีย และใช้เป็นอาหารสัตว์เท่านั้น

 

Picture taken March 3, 2021. REUTERS/Caroline Chia

 

แม้ว่าสิงคโปร์จะเป็นประเทศเล็ก ๆ และมีพื้นที่จำกัด แต่ในย่านเมือง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวสิงคโปร์นั้น แทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีธุรกิจสตาร์ทอัพเกี่ยวกับเพาะเลี้ยงสัตว์เกิดขึ้น โดยธุรกิจดังกล่าวคือ การเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวัน

 

Picture taken March 3, 2021. REUTERS/Caroline Chia

 

บริษัทสตาร์ทอัพแห่งนี้ มีกระบะที่เรียงรายวางซ้อนกันเป็นชั้น เพื่อใส่ตัวอ่อนแมลงวัน (หนอนแมลงวัน) จำนวนนับไม่ถ้วน หนอนแมลงวันทหารดำ หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ หนอนแมลงวันแม่โจ้ ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่า "แมลงวันลาย" กำลังดิ้นขลุกอยู่ในถาดเลี้ยงเพื่อกินอาหารที่เน่าเสีย

 

Picture taken March 3, 2021. REUTERS/Caroline Chia

 

โดยทั่วไปแล้ว เนื่องจากหนอนเหล่านี้อุดมไปด้วยโปรตีน จึงมักจะถูกขายเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงหรือนำไปทำปุ๋ย แต่ที่บริษัท อินเซกตา (Insectta) ไม่ได้เพาะหนอนแมลววันเพื่อจุดประสงค์เช่นนั้นเพียงอย่างเดียว อินเซกตา ระบุว่า บริษัทของตน เป็นฟาร์มหนอนแมลงวันแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองของสิงคโปร์ โดยมีจุดประสงค์ในการเพาะหนอนแมลงวัน เพื่อสกัดวัสดุชีวภาพ และนำไปใช้ในเภสัชภัณฑ์และใช้ในเชิงอิเล็กทรอนิกส์

 

Picture taken March 3, 2021. REUTERS/Caroline Chia

 

"สิ่งที่หนอนแมลงวันลาย ช่วยเราทำได้คือเปลี่ยนเศษอาหารซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าลบให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเชิงบวก" ชัว ไค หนิง ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าเจ้าหน้าที่การตลาด ของอินเซกตา กล่าว

"หนอนแมลงวันลาย เป็นที่รู้จักในด้านความสามารถในการบริโภคเศษอาหารทุกชนิดอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนของเสียให้เป็นมวลชีวภาพ ในแต่ละวัน ตัวอ่อนหลายร้อยล้านตัวในฟาร์มจะกินเศษอาหารถึงสี่เท่าของน้ำหนักตัว" ชัว กล่าว

 

Picture taken March 3, 2021. REUTERS/Caroline Chia

 

บริษัทอินเซกตา ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการวิจัยของสิงคโปร์ โดยใช้กระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในการสกัดสารที่มีประโยชน์ เช่น ไคโตซาน เมลานิน และโปรไบโอติก จากตัวอ่อนแมลงวัน โดยสารสกัดอื่น ๆ ที่มีมูลค่าต่ำจะถูกขายให้กับ บริษัท อื่น ๆ ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวถูกจดลิขสิทธิ์ไปเป็นที่เรียบร้อย

เมลานินที่ถูกสกัดจากหนอนแมลงวัน มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าและสามารถใช้ทำแบตเตอรี่ได้ ในขณะที่ไคโตซานมีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบในทางการแพทย์ และมีประโยชน์ในการผลิตเครื่องสำอางและยา

 

Picture taken March 3, 2021. REUTERS/Caroline Chia

 

"ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีการสกัดเมลานินออกจากสัตว์ใดเลย นอกจากจากหมึกของปลาหมึก รวมถึงก่อนหน้านี้ การผลิตไคโตซาน มักจะต้องใช้ตัวทำละลายที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง" ฟัว จุน เว่ย ผู้ร่วมก่อตั้งอินเซกตา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี กล่าว

ปัจจุบัน อินเซกตา มีมูลค่าในตลาดโลกอยู่ที่ 7 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าบริษัทจะเติบโตอย่างรวดเร็ว อินเซกตา ระบุว่า ขณะนี้กำลังพยายามขยายธุรกิจของบริษัทเพิ่มขึ้น เช่น การผลิตไคโตซานคุณภาพสูงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ การผลิตเทคโนโลยีรักษาบาดแผลด้วยเส้นใยออร์แกนิก สำหรับการพิมพ์ 3 มิติ และการขยายธุรกิจขนส่งยาและเวชภัณฑ์

 

Picture taken March 3, 2021. REUTERS/Caroline Chia

ข่าวที่เกี่ยวข้อง