รีเซต

งานวิจัยชี้ฝีมือมนุษย์ทั้งนั้น ทำ “เท็กซัส” น้ำท่วมหนัก จนเกินที่จะควบคุม

งานวิจัยชี้ฝีมือมนุษย์ทั้งนั้น ทำ “เท็กซัส” น้ำท่วมหนัก จนเกินที่จะควบคุม
TNN ช่อง16
11 กรกฎาคม 2568 ( 11:30 )
7

ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เท็กซัส ฮิลล์คันทรี ระหว่างซานอันโตนิโอและออสติน ทำให้น้ำท่วมรุนแรงในช่วงวันชาติสหรัฐฯ (4 ก.ค.) โดยน้ำท่วมคร่าชีวิตผู้คนกว่า 100 รายใน 6 มณฑล และยังสูญหายอีกหลายร้อยราย ล่าสุดมีงานวิจัยยืนยันว่า ภาวะน้ำท่วมรุนแรงในครั้งนี้ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์


น้ำท่วมฉับพลันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในวันศุกร์ที่ผ่านมา (4 ก.ค.) หลังจากฝนตกหนักผิดปกติ ทำให้น้ำในแม่น้ำกวาดาลูเป (Guadalupe River) เพิ่มระดับสูงขึ้นถึง 8 เมตรภายในเวลาเพียง 45 นาที ส่งผลให้แม่น้ำล้นตลิ่ง พัดพาทำลายทุกอย่างที่อยู่ในเส้นทาง ฝนตกสะสมมากกว่า 254 มิลลิเมตรในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงในพื้นที่ดังกล่าว

งานวิจัยนี้จัดทำโดย ClimaMeterซึ่งเป็นโครงการวิเคราะห์เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในบริบทของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติของฝรั่งเศส (CNRS) ทีมวิจัยได้เปรียบเทียบสภาพอากาศในช่วงปี 1950-1986 กับช่วงปี 1987-2023 ในพื้นที่เท็กซัสตอนกลาง พบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความรุนแรงของฝนตกหนักและน้ำท่วมนี้ มากกว่าปัจจัยความแปรปรวนตามธรรมชาติอย่างเดียว
 

โดยพบว่า อุณหภูมิในพื้นที่ทางตอนใต้ของบริเวณน้ำท่วมเพิ่มขึ้นสูงถึง 1.5 องศาเซลเซียส ขณะที่ความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 2 มิลลิเมตรต่อวัน หรือราว 7% ในบางพื้นที่ของเท็กซัสตอนกลาง โดยเฉพาะเส้นทางระหว่างซานอันโตนิโอและออสติน ซึ่งส่งผลให้สภาพอากาศเอื้อให้เกิดฝนตกหนักอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น
 

นอกจากนี้ นักวิจัยยังระบุว่า ปัจจัยอื่นที่ไม่ได้ถูกวิเคราะห์ในงานวิจัยครั้งนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การขยายตัวของเมือง และความล้มเหลวของระบบเตือนภัย อาจทำให้น้ำท่วมรุนแรงขึ้นไปอีกด้วย
 

งานวิจัยนี้จัดทำโดย ClimaMeterซึ่งเป็นโครงการวิเคราะห์เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในบริบทของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติของฝรั่งเศส (CNRS) ทีมวิจัยได้เปรียบเทียบสภาพอากาศในช่วงปี 1950-1986 กับช่วงปี 1987-2023 ในพื้นที่เท็กซัสตอนกลาง พบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความรุนแรงของฝนตกหนักและน้ำท่วมนี้ มากกว่าปัจจัยความแปรปรวนตามธรรมชาติอย่างเดียว
 

โดยพบว่า อุณหภูมิในพื้นที่ทางตอนใต้ของบริเวณน้ำท่วมเพิ่มขึ้นสูงถึง 1.5 องศาเซลเซียส ขณะที่ความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 2 มิลลิเมตรต่อวัน หรือราว 7% ในบางพื้นที่ของเท็กซัสตอนกลาง โดยเฉพาะเส้นทางระหว่างซานอันโตนิโอและออสติน ซึ่งส่งผลให้สภาพอากาศเอื้อให้เกิดฝนตกหนักอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น
 

นอกจากนี้ นักวิจัยยังระบุว่า ปัจจัยอื่นที่ไม่ได้ถูกวิเคราะห์ในงานวิจัยครั้งนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การขยายตัวของเมือง และความล้มเหลวของระบบเตือนภัย อาจทำให้น้ำท่วมรุนแรงขึ้นไปอีกด้วย
 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง